1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry

(3-0)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพมหานคร

chumpot@hotmail.com

ข้อมูลและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ควรรู้ในการทำธุรกิจ (1)

การจดทะเบียนพาณิชย์

    การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะดำเนินงานในธุรกิจรูปแบบใด จะต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

    กิจการที่ต้องจดทะเบียน

      1. การซื้อขาย การทอดตลาด การแลกเปลี่ยน
      2.การให้เช่า การให้เช่าซื้อ
      3.การเป็นนายหน้า หรือตัวแทนค้าต่าง
      4. การขนส่ง
      5. การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม
      6. การรับจ้างทำของ
      7. การให้กู้ยืมเงิน การรับจำนำ การรับจำนอง
      8. การคลังสินค้า
      9. การรับแลกเปลี่ยน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายตั๋วเงิน การโพยก๊วน
      10.กิจการอื่นซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

    กิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียน

    ผู้ประกอบการอื่นที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่

      1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
      2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนา หรือ เพื่อการกุศล
      3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
      4.พาณิชยกิจของ กระทรวง ทบวง กรม
      5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
      6.พาณิชยกิจขอซึ่งรัฐได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ การจดทะเบียนก่อตั้งกิจการ ต้องดำเนินการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่ม ประกอบพาณิชยกิจ โดยยื่นคำขอ ณ ถิ่นที่เป็นสำนักงานใหญ่ของที่ตั้งพาณิชยกิจนั้น

ถ้าผู้ประกอบการอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ กองทะเบียนธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า

ถ้าอยู่ต่างจังหวัด ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หรือ ที่ว่า การอำเภอนั้นๆ

หลังจากที่ได้รับมอบใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ผู้ประกอบพาณิชย์ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชย์เป็นภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ ซึ่งต้องตรงกับชื่อจดทะเบียน โดยติดไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาโดยเปิดเผยภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียน
การเริ่มต้นธุรกิจ

ในการประกอบธุรกิจ จะต้องศึกษาถึง ลักษณะของการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีรูปแบบของธุรกิจ ดังต่อไปนี้

    1.กิจการเจ้าของคนเดียว
    2. ห้างหุ้นส่วน
    3. บริษัทจำกัด
    4. บริษัทมหาชนจำกัด
    5. สหกรณ์
    6. รัฐวิสาหกิจ
    7. กิจการร่วมค้า

ความรู้เกี่ยวกับการเงินและการบัญชี
    มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
    ให้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานทางการเงินและบัญชีจาก Wesite ดังต่อไปนี้

    International Accounting Standards Board

    International Federation of Accountants

    The European Federation of Accountants

    The Financial Accounting Standards Board

    ให้เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จาก Website ข้างต้นกับการให้บริการทางการบัญชีในประเทศไทย จาก Website ที่ค้นได้ในประเทศไทย นักศึกษาได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการให้บริการเกี่ยวกับ การบัญชีมากน้อยเพียงใด

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 11 ธันวาคม 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com