1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry

(3-0)
ภาคปลาย ปีการศึกษา 2544

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพมหานคร

chumpot@hotmail.com

การค้นข้อมูลธุรกิจใน WWW

สารสนเทศบน WORLD WIDE WEB

การบริการสารสนเทศ บนอินเตอร์เน็ต ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้ คือ การเรียกอ่านข้อมูลจากเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ(WORLD WIDE WEB ) เครือข่าย WWW ได้สร้างมิติใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านธุรกิจและการศึกษา ในด้านการศึกษามีการประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือเป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ มีจุดเด่นคือใช้งานง่าย รูปแบบการแสดงผลมีสีสันสวยงาม แสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่ประกอบด้วย เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ นอกจากจะเป็นแหล่งสารสนเทศแล้ว ยังอำนวยความสะดวกในการสืบค้นสารสนเทศได้อีกด้วย โดยใช้เครื่องมือช่วยค้นต่าง ๆ (SEARCH ENGINES) ซึ่งมีมากมาย เช่น YAHOO ,EXCITE , HOTHBOT ฯลฯ

เครื่องมือช่วยค้นข้อมูลบน WWW

เครื่องมือช่วยค้นมีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติ ความสามารถแตกต่างกันไป สามารถแบ่งเครื่องมือช่วยค้นได้ เป็น 4 ประเภท คือ

    1.Key word Search Engines เป็นเครื่องมือช่วยค้นประเภทจัดทำดัชนีหัวเรื่องเพื่อช่วยในค้น เช่น Infoseek, Alta vista, Excite ,HOTBOT เป็นต้น
    2.Subject Directory and Guides เป็นการจัดเรียงเนื้อหาของข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ลดหลั่นตามลำดับชั้น ส่วนใหญ่เครื่องมือช่วยค้นประเภทนี้รวบรวมขึ้นมาเป็นฐานข้อมูลโดยมนุษย์ซึ่งมีการตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะจัดจำแนกนี้ได้แก่ Yahoo ,Infoseek, Look Smart, Mageltan เป็นต้น
    3.Meta Search Engines(Parallet Search Engines, Mega Search Engines,Multithreaded Search Engines) เป็นการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีกลไกลช่วยค้น search engines หลายชื่อพร้อมกันในเวลาเดียวกัน เช่น DOGPLE ,META – VRAWLER
    4.SUBJECT SPECIFIC SEARCH ENGINES เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลในเนื้อหาเฉพาะหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง เช่น BIOMEDNE( HTTP:// WWW.BIOMEDNET.COM/ ) เทคนิคที่ควรใช้ในการสืบค้นข้อมูล WWW

การสืบค้นข้อมูลบนเว็บจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะของผู้ค้นเป็นหลัก ดังเทคนิคต่อไปนี้

    1. ให้เข้าตรงถึงแหล่งสารสนเทศจากผู้ผลิตสารสนเทศที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ข้อมูลโรคมะเร็ง ควรเข้าตรงที CANCER NET ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
    2. การทายหรือเดา URL (GUESSING URLS)
    3.การค้นจากบัญชีหัวเรื่อง (SUBJECT DIRECTORIES)
      - ค้นหาหัวเรื่องกว้าง ๆ จากบัญขีหัวเรื่องที่จัดจำแนกไว้ตามลำดับชั้นช่วยให้ผู้ค้นที่ไม่ได้ระบุความเฉพาะเจาะจงเห็นโครงสร้างของข้อมูลชัดเจนหากสนใจเรื่องใดก็เลือกอ่านได้
      - ค้นหาข่าวหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
      - ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

1. การค้นจากเครื่องมือช่วยค้น (SEARCH ENGINE STRATEGIES)

    - คำถามที่มีความหมายเฉพาะเป็นหนึ่งเดียว(UNIQUE KEYWORDS) เช่น ชื่อยา ชื่อคน ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อประเทศ
    - การใช้กลุ่มคำหรือวลี (PHRASE SEARCHING)
    - การค้นโดยใช้เขตข้อมูล ( FIELD SEARCHING)
    - การจำกัด ( LIMITS) เช่น ระบุเวลาของเอกสารที่ต้องการ

วิวัฒนาการของ WEB SEARCH ENGINES

    - เครื่องมือช่วยค้น รุ่นแรก มี 2 ประเภท คือ

    KEY WORD SEARCH ENGINES
    WEB DIRECTORY
    - ประมาณ ปี คศ. 1997 เกิดการรวมตัวผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รายสำคัญ คือ ISP ,BROWSER และ SEARCH SITE กลายเป็น PORTAL SITE (เว็บท่า) ให้บริการนอกเหนือจาก การสืบค้น เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ NEWS , SPORTS , BUSINESS & STOCK , E-MAIL , HOROSCOPE, WEATHER FOREAST เป็นต้น
    - เว็บไซต์ท่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถดึงดูดผู้ใช้ให้เข้าไปใช้บริการของตนเอง วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้น/ จุดศูนย์กลางแก่ผู้ใช้และเพื่อพัฒนาให้เป็นการบริการ E- COMMERE ต่อไป
    - ขณะเดียวกัน เครื่องมือช่วยค้น รุ่นแรกนั้น ได้ร่วมกันตกลงให้ใช้สิทธ์อนุญาตให้ใช้บริการ ของกันและกันได้ จึงทำให้เกิดเป็น HYBRIC SEARCH ENGINES ทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพไม่ชัดถึงความแตกต่างของสองบริการนั้น
    - ต่อมา ได้มีการพัฒนาเครื่องมือช่วยค้นรุ่นที่สอง(SWCOND GENERATION OF SEARCH ENGINES) เนื่องด้วยความล้มเหลวของเครื่องมือช่วยค้นรุ่นที่หนึ่ง โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาสูงกว่ารุ่นแรก เช่น รวบรวมผลลัพธ์ของการสืบค้นด้วยหลักการของ CONCEPTBASE , POPULARLITY & LINKING, PARALLEL SEARCH เป็นต้น

ตัวอย่าง SEARCH ENGINES รุ่นที่สอง

    1. META SEARCH
    DOGPILE : WWW.DOGPILE.COM
    MAMMA : WWW.MAMMA.COM

    2. POPULARITY BASED ANALYSIS
    DIRECT HIT : WWW.DIRECTHIT.COM

    3. NATURAL LANGUAGE PROCESSING
    ASKJEEVES : WWW.ASKJEEVES.COM
    ELECTRIC KNOWLESGE : WWW.ELECTRICKNOWLEDGE.COM

    4. LINK – BASED ANALYSIS
    GOOGLE : WWW.GOOGLE.COM

    5.NEWS GROUP SEARCHING
    เป็นกลุ่มข้อมูลแบบเป็นที่รวบรวมแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เริ่มมีความสำคัญ มากขึ้น ในฐานที่สามารถพบผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง และอาจแก้ไขปัญหาได้
    DEJA NEWS : WWW.DEJANEWS.COM
    REFERENCE.COM : WWW.REFERENCE.COM

    6.SUBJECT SPECIFIC INDEXES
    มุ่งหวังให้ผู้สืบค้นเข้าถึงข้อมูลที่ลึกซึ้งในหัวข้อเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง
    COMPANY INFORMATION : WWW.1JUMP.COM
    ข้อมูล MALTIMEDIA/ IMAGE : WWW.DITTO.COM
    ALTAVISTA PHOTOFINGER : WWW.ALTAVISTA.COM

    เมื่อต้นปี 1999 มีวิวัฒนาการเครื่องมือช่วยค้นที่เรียกว่า SEARCH UTILITY และ INTELLIGENT AGENTS
    FREE WEB – BASED (SEARCHABLE DATABASED)

    สาขาการศึกษา ERIC (EDUCATIONAL RESOURCES INFORMATION CENTER)
    URL: HTTP : //ERICIR.SYR.EDU/

    สาขาแพทยศาสตร์ MEDLING
    URL : HTTP : //WWW.NCBI.NLM.NIH.GOC/PUBMED

    สาขาเกษตรศาสตร์ AGRIS
    URL : HTTP : //WWW.FAO.ORG/AGRIS/
    AGRICOLA
    URL : HTTP: // WWW.NAL.USDA.GOV/AG98

    สิทธิบัตร, PATENTS
    URL: HTTP : //PATENTS.WOMPLEX.IBM.COM/
    SCIENCE DIRECT (WWW.SCIENCEDIRECT.COM)
    THE WORLD’ S LARGEST FULL TEXT SCIENTIFIC DATABASE
    เป็นรูปแบบฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุด พัฒนาขึ้นโดยจากสำนักพิมพ์ปฐมภูมิ คือ บริษัท ELSEVIER รวบรวมบทความวารสารด้านวิทยาศาสตร์ของสำนักพิมพ์ตนเองซึ่งรวมแล้ว ประมาณ 1,100 ชื่อวารสารขึ้นมาเป็นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ เพื่อให้ผู้ค้นสามารถเข้าถึง FULL TEXT ในรูปของ E – JOURNAL ได้ทันทีที่ต้องการ
    WEB OF SCIENCE (WWW.ISINET.COM)
    WEB OF SCIENCE เปลี่ยนแปลงรูปแบบของฐานข้อมูลรุ่นเดิม คือ SEIENCE CITATION INDEX, SOCIAL SCIENCE CITATION INDEX และ ARTS & ็๊็HUMANITIES CITATION INDEX มาเป็นรูปแบบ WEB BASED ซึ่งผลิตโดยบริษัท INSTITUTE FOR SCIENTIFIC INFORMATION (ISI) จัดเป็นพวก SECONDARY PUBLISHER ถือเป็นบริษัทชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากแห่งหนึ่ง

    ฐานข้อมูลของไทย

    - ฐานวิทยานิพนธ์ไทย THAI THESES DATABASE

    - ระบบ OPAC (ONLINE PUBLIC ACCESS CATALOGUE) ของห้องสมุดขนาดใหญ่ต่าง ๆ ภายในประเทศ

    - ฐานข้อมูลภายในของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ยังไม่มีการจัดการให้มีจุดศูนย์กลางเพื่ออำนวยความสะดวกแกผู้ที่ต้องการใช้สารสนเทศ เช่น
    ฐานข้อมูลงานวิจัยของไทย (สนง. คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)
    ฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) เป็นต้น

    ตัวอย่าง การสืบค้น ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย

    WWW.TIAC.OR.TH
    JOUNAL LINK ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย
    WWW.JOURNALLING.OR.TH

    ตัวอย่าง การสืบค้นหา สิทธิบัตรไทย จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

    WWW.IPIC.MOC.GO.TH

ผู้จัดทำ

    1.นางสมศรี อ้นประดิษฐ์ รหัส 430094007
    2.นางสาวน้ำค้าง เกิดลิบ รหัส 430094011
    3.นางวิราม สุภัทรเกียรติ รหัส 430094020
    4.นางสาวอุบลรัตน์ สาลีผลิน รหัส 430094023

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com