บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1635303 บริการสารสนเทศเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
Information Service for Business and Industry
(3-0)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2549
chumpot@hotmail.com
สถาบันการเงิน
ความหมายของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน (Financial Institutions) คือ ตัวกลางในการที่จะอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของเงินการซื้อขายหลักทรัพย์ การให้กู้ยืม การรวบรวมเงินออมจากผู้ออมไปยังลงทุน ได้ง่ายขึ้น สถาบันการเงินนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และพัฒนาไปตามสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง
บทบาทและความสำคัญของสถาบันการเงิน
จากความจริงที่ว่า เงินทุนเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับการประกอบการใด ๆ เพราะถ้าการประกอบการนั้นขาดปัจจัยเรื่องเงินทุนแล้ว ก็ไม่สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้นั่นคือ ถ้าเงินทุนมีอยู่อย่างไม่จำกัดแล้ว ก็จะสามารถเอื้ออำนวยให้การประกอบการนั้น ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจำนวนเงินของเงินทุนมีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการในเงินทุนนั้นไม่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้นสถาบันการเงินจึงเข้ามามีบทบาทและความสำคัญ โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางและเป็นแหล่งของเงินทุนที่สำคัญในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการเงินทุนที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดนั้น ๆ ได้ เมื่อความต้องการเงินทุนได้รับการตอบสนองแล้ว ก็จะทำให้การประกอบการหรือการผลิตเกิดขึ้น ผลผลิตของประเทศมากขึ้นเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคและอาจนำออกจำหน่ายต่อต่างประเทศได้อีกด้วย จึงทำให้ประชากรมีงานทำ มีรายได้เพิ่มมากขึ้นและรายได้ประชาชาติก็จะเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดก็จะทำให้เงินทุนจำนวนนั้นไหลกลับเข้ามาในสถาบันการเงินอีกได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาบันการเงินเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ เพราะถ้าไม่มีสถาบันการเงินแล้วความสะดวกและความคล่องตัวในการจัดหาเงินทุนเพื่อการประกอบใด ๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้
หน้าที่ของสถาบันการเงิน
การทำหน้าที่ดังกล่าวของสถาบันการเงินย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจดังต่อไปนี้
ประเภทของสถาบันการเงินเพื่อประโยชน์เฉพาะ
ในที่นี้จะกล่าวถึงประเภทตามลักษณะของการดำเนินงานของแต่ละสถาบันต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2. สถาบันเพื่อการออมทรัพย์ (Savings Institutions) สถาบันการออมทรัพย์เป็นจำนวนมากทำหน้าที่เฉพาะในการเก็บรวบรวมเงินออมโดยการรับฝากเงินหรือขายหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ ธนาคารออมสิน แผนกออมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทลงทุน เป็นต้น
3. สถาบันที่ทำหน้าที่ให้บริการความสะดวกในการติดต่อทางการเงิน (Market Institutions for Finance) "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" (Securities Exchange of Thailand) หรืออาจจะมีสถาบันอื่น ๆ ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนของธุรกิจ ซึ่งรวมถึง Broker และ Dealers ในการซื้อขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ด้วย
4. สถาบันการประกันภัยและบำเหน็จบำนาญ (Insurance and Pension Intermediaries as Financial Institutions) หลักสำคัญในการประกันภัยก็คือ การเปลี่ยนสภาพการเสี่ยงภัยให้มีการกระจายการเสี่ยงภัยออกไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่จะเกิดกับบุคคลใดบุคคลาหนึ่งโดยเฉพาะให้ได้รับชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนโดยเสียเบี้ยประกันไว้ หากไม่มีภัยเกิดขึ้นค่าดอกเบี้ยประกันเหล่านี้ก็จะถูกจัดสรรหาผลประโยชน์เตรียมสำรองไว้ สำหรับเรื่องของบำเหน็จบำนาญก็เช่นกันเป็นการสะสมเงินออมไว้จนครบกำหนดเวลาก้จะได้รับเงินที่ออมไว้นั้นกลับคืนมาพร้อมผลตอบแทน
5. สถาบันที่ทำการให้กู้ยืม (Lending Institutions) คือ สถาบันการเงินที่ให้เครดิตที่ไดเเงินทุนส่วนใหญ่มาจากเงินทุนของเจ้าของ จากการขายหุ้น และการกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเช่น โรงรับจำนำ
6. สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Institutions) เป็นสถาบันการเงินซึ่งทำหน้าที่ที่ให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศในลักษณะต่าง ๆ เช่น ซื้อขายเงินตราต่างประเทศสกุลต่าง ๆ เพื่อให้ตลาดการเงินของโลกมีความสมดุล ให้กู้ยืมเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการค้าระหว่างประเทศหรือเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น ธนาคารโลก (Word Bank) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Deveiopment Bank - ADB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยเราอาจแบ่งประเภทของสถาบันการเงินได้ดังนี้
1. สถาบันการเงินประเภทธนาคาร ได้แก่
2. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ได้แก่
การกำกับและควบคุมสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับควบคุมธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แต่ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของ รมต.ว่าการกระทรวงการคลัง อำนาจหน้าที่ในการกำกับควบคุมการเงินของ รมต.ว่าการกระทรวงการคลังโดยตรงยังมีอีกหลายแห่งได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทสไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์
กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้กำกับควบคุมสหกรณ์ออมทรัพย์
กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้กำกับควบคุมบริษัทประกันภัย
กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้กำกับควบคุมบรรษัทอุตสาหกรรมขนาย่อม
กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำกับควบคุมกิจการโรงรับจำนำ
รายชื่อสถาบันการเงินในประเทศไทย
ผู้จัดทำรายงาน
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 ธันวาคม 2549
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com