|
หนังสือรายปี (Yearbook) และสมพัตสร (Almanac)
หนังสือรายปี
วิลเลียม เอ แคทส์ ได้ให้ความหมายของหนังสือรายปีไว้ดังนี้
หนังสือรายปีคือหนังสือที่บันทึกข้อมูลสถิติทีร่สำคัญโดยสังเขปของกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา วัตถุประสงค์เบื้องต้น
ของหนังสือรายปีคือการบันทึกย่อเกี่ยวกับกิจกรรมสำคัญของประเทศใดประเทศหนึ่ง หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือเรื่องพิเศษเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(สมุล รัตตากร) ได้ให้ความหมายของหนังสือรายปีไว้ดังนี้ หนังสืออ้างอิงประเภทนี้มักรวบรวมเรื่องราวสั้นๆ ที่เกิดขึ้น
ในปีที่แล้วมาในด้านต่างๆ ทั้งการกีฬา การเมือง การปกครอง และอื่นๆ จะออกเป็นรายปี บางครั้งคล้ายเป็นการสรุปหัวข้อข่าวสำคัญๆ
ในหนังสือพิมพ์ ต่างกันแต่ว่าหนังสือรายปีเป็นการให้ความจริง โดยไม่มีการวิจารณ์แต่อย่างใด จากดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า
หนังสือรายปีคือหนังสือรวบรวมข้อมูลสถิติอย่งย่อๆ ของกิจกรรมสำคัญ เรื่องราวหรือข่าวที่น่ารู้ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา
อาจเขียนเป็นพรรณนาสั้นๆ หรือเก็บสถิติข้อมูลเป็นตัวเลขและตารางต่างๆ เป็นต้น
ประเภทของหนังสือรายปี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- 1.หนังสือสมพัตรสร (Almanac) หนังสือสมพัตรสรคือ หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมข้อมูลสถิติและข้อมูลย้อนหลังจากอดีต
ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะครอบคลุมหัวเรื่องหรือพื้นที่อย่างกว้าง ๆ ทั่วโลก หรือจำกัดเขตเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่งหรือรัฐใดรัฐหนึ่ง
หรืออาจจำกัดเฉพาะเพียงเรื่องเดียว
- 2.หนังสือรายปีของสารานุกรมภาษาต่างประเทศ (Encyclopedia Supplement) หนังสือรายปีของสารานุกรมภาษาต่างประเทศ
เป็นหนังสือรายปีที่สารานุกรมทั่วไปจัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้สารานุกรมนั้นๆ ทันสมัยอยู่เสมอ
จัดพิมพ์เป็นประจำเพื่อสนองความรู้และความก้าวหน้า ทางวิชาการในด้านต่างๆ ในรอบปีที่ล่วงไป บางเล่มมีประวัติบุคคลด้วย
มีภาพประกอบ
จะเห็นได้ว่าหนังสือรายปีที่สำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป เป็นเครื่องมืออ้างอิงที่ให้ข้อเท็จจริงที่ทันสมัย
ใช้ประกอบในการตอบคำถามได้ทันทีก็คือ หนังสือสมพัตรสร ส่วนหนังสือรายปีของ สารานุกรมต่างประเทศนั้น
บริษัทจัดทำสารานุกรมได้จัดทำขึ้นเพื่อเสริมเนื้อหาของสารานุกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะการจัดทำสารานุกรมชุดใหม่
ไม่สามารถจะทำได้ทุกปี เนื่องจาราคาแพง และ เนื้อหาทั้งหมดในแต่ละปีเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
วัตถุประสงค์ของหนังสือรายปี
1.ความทันสมัย (Recency)
หนังสือทั้งสองแบบนี้จะให้ข้อมูลที่ทันสมัยของเรื่องทั่วไปวัตถุประสงค์ของแหล่งข้อมูลประเภทนี้ก็คือการให้ข้อเท็จจริงที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์
2.การให้ข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ (Brief Facts) หนังสือรายปีทั้งสองประเภทนี้ จะบันทึกสรุปย่อเรื่องราวต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้ไม่ต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการ
3.แนวโน้ม (Trends)
เนื่องจากความทันสมัยข้อมูลในหนังสือทั้งสองประเภทนี้จึงเป็นเครื่องช่วยชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าและความเสื่อมของอารยธรรมมนุษย์ตามกาลเวลาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
นอกจากนี้ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นยังเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนแนวโน้มของเหตุการณ์เกี่ยวกับบุคคล
สถานที่ที่สำคัญในช่วยระยะเวลาของปีที่ผ่านมา
4.เป็นดรรชนีเสริม (Informal Index) หนังสือรายปีและสมพัตรสร ที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่จะบอกแหล่งที่มาของข้อมูล
ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้จึงสามารถใช้หนังสืออ้างอิงทั้งสองประเภทนี้เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อีกต่อไป
5.เป็นนามานุกรมและอักขรานุกมชีวประวัติ (Directory and Biographical Information)
หนังสือรายปีและสมพัตรสรจำนวนมากให้ข้อเท็จจริงในลักษณะเดียวกับนามานุกรม รวมทั้งมีประวัติของบุคคบ
ตลอดจนที่อยู่ของทั้งบุคคลและหน่วยงานอีกด้วย
6.การอ่านผ่านตา (Browsing) หนังสือรายปีและสมพัตรสรจัดเป็นหนังสืออ้างอิงสารพัดประโยชน์ บรรจุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
หลากหลายประการ รวมทั้งข้อมูลเบ็ดเตล็ดที่เป็นที่สนใจของผู้ที่อยากรู้อยากเห็นในเรื่องราวต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของสังคมมนุษย์
เป็นหนังสืออ้างอิงที่จัดเป็นคู่มือตอบคำถามที่บรรณารักษ์บริการตอบคำถามจำเป็นต้องใช้อยู่เสมอ
หนังสืออ้างอิง
สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.
พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
|
|