1. แผนที่และหนังสือแผนที่
จะแสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทวีป ประเทศ เมือง แม่น้ำ ภูเขา เส้นรุ้ง และเส้นแวง ฯลฯ แผนที่ หมายถึง สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกและสิ่งที่ปรากฎบนพื้นผิวโลก ทั้งที่ปรากฎอยู่ตามธรรมชาติ
และมนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้ :
หนังสือแผนที่ : - เป็นดรรชนีบอกให้รู้ถึงที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ เป็นคู่มืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญ และเป็นที่รู้จักกัน
อย่างแพร่หลายมาก แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ : -
1. หนังสือแผนที่อ้างอิงทั่วไป (General Reference Atlases) ประกอบด้วยแผนที่โลกแสดงภูมิประเทศและภูมิอากาศ
2. หนังสือแผนที่ของประเทศ (National Atlases) ประกอบด้วยแผนที่แสดงภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศใดประเทศหนึ่ง
3. หนังสือแผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม (Road Atlases) แสดงถึงถนนสายต่าง ๆ จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4. หนังสือแผนที่ประวัติศาสตร์ (Historical Atlases) แสดงให้เห็นถึงเส้นทาง การตั้งถิ่นฐาน หรือแสดงให้เห็นถึงเส้นทาง
สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่นักสำรวจในอดีตเดินทางผ่าน
2. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (Gazetteers): - จะให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นชื่อของสถานที่
ช่วยให้ทราบถึงที่ตั้งของเมือง ภูเขา แม่น้ำ หรือลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ
3.หนังสือนำเที่ยว (Guide Books) : - เป็นคู่มือสำหรับนำเที่ยว ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ในเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์
หลักการประเมินคุณค่าหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
เฉพาะแผนที่และหนังสือแผนที่ : - ต้องมีหลักฐานในการจัดทำ , ต้องรู้ว่าจัดทำเพื่อผู้ใช้ระดับใด แสดงลักษณะภูมิศาสตร์ประเภทใด,
ต้องมีความทันสมัย, รูปแบบ สะดวกง่ายแก่การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ, ต้องมีดรรชนี เรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ
วิธีใช้หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ : -
1. พิจารณาเรื่องที่ต้องการค้นด้านใด
1.1 ด้านภูมิศาสตร์ทั่วไป
1.2 ด้านแผนที่
1.3 ด้านนำเที่ยว
2. เลือกใช้หนังสืออ้างอิงให้ถูกต้องกับเรื่องที่ต้องการ
3. ก่อนใช้หนังสืออ้างอิงแต่ละชุด ควรอ่านคำนำและวิธีใช้แต่ละชุดก่อน
สรุป
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ได้แก่ ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ มหาสมุทร ทวีป แม่น้ำ
ฯลฯ หรือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ และเส้นทางคมนาคม เป็นต้น
หนังสืออ้างอิง
สุนิตย์ เย็นสบาย. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.
พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.