1635206 การจัดการข้อมูลและศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
Information Management and Local Information Centers
3(2-2)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2544
chumpot@hotmail.com
ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น (Local Information Center)
ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น หมายถึง สถานที่ ๆ เป็นที่เก็บรวบรวม สรรพวัสดุ หลักฐาน เรื่องราว ภูมิปัญญาต่าง ๆ ของท้องถิ่นนั้น ๆ แหล่งประเภทนี้บางท้องถิ่นอาจไม่มี บางท้องถิ่นอาจมี และ มีทั้งที่เป็นทางการ (Official) และไม่เป็นทางการ (non official)
สารสนเทศท้องถิ่น (Local Information)
องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถูกใช้ร่วมกัน ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบมีสัดส่วน และโอกาส เป็นประโยชน์ต่อคนที่อาศัยในอาณาบริเวณนั้นรวมเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Culture) ซึ่งทราบได้จากการแสดงออกของคนในท้องถิ่นเองในด้านความคิด ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและพิธีกรรม ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์แตกต่างจากท้องถิ่นอื่นและแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียก ขานของตนเองเป็นการเฉพาะ
ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นได้จากแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
3. วัตถุสิ่งของ (Objects) หมายถึง สรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาณาบริเวณท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
1) สิ่งของที่มนุษย์สร้างหรือทำขึ้น เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งบันทึกต่าง ๆ ของมนุษย์
2) สิ่งที่มีหรือเกิดโดยธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น
4. สัตว์และพืชในท้องถิ่น ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) สัตว์เลี้ยงและพืชที่มนุษย์นำมาเพาะแพร่พันธุ์ในท้องถิ่น
2) สัตว์ที่ไม่ใช้สัตว์เลี้ยงและพืชพรรณที่เกิดขึ้นมีในท้องถิ่นอยู่แล้ว
แหล่งของศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
1. พิพิธภัณฑ์ (Museums) ทั้งของราชการและเอกชน หรือพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว เพราะบางคนเป็นนักสะสมของเก่าหรือของเฉพาะเรื่องในท้องถิ่น
2. ห้องสมุด (Library) เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์คือมีทั้งของราชการและส่วนตัว แต่สิ่งที่เก็บรักษาไว้จะเป็นประเภทวัสดุบันทึก (Records) มากกว่าชิ้นวัตถุ (Objects)
3. ศาสนสถานต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ ภายในบริเวณศษสนสถานอาจมีบางส่วนเป้ฯที่เก็บรวบรวมสิ่งที่เป็นสารสนเทศของท้องถิ่นที่ศาสนสถานนั้นตั้งอยู่
4.สวนสัตว์ต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
5. สวนพฤกษศาสตร์และสวนสมุนไพรในท้องถิ่น
การดำเนินการของศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น (Management of Local Information)
เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้หรือภูมิปัญญาและการเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสารสนเทศท้องถิ่น จึงควรมีการดำเนินการศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ดังนี้
1. สารสนเทศท้องถิ่น ควรมีการสำรวจ รวบรวม สังเคราะห์และคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจและคาดว่าจะเป็นประโยชน์ไว้ เพื่อศึกษาสำรวจรวบรวมให้ละเอียดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยอาศัยการจัดหมวดหมู่ตามความเหมาะสม เช่น หมวดบุคคลในท้องถิ่น
2. แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ควรมีการศึกษาสำรวจแล้วคัดเลือกเฉพาะที่ประเมินแล้วว่ามีความสำคัญ มีความสมบูรณ์ และให้ประโยชน์สูง จัดอันดับและจำแนกประเภทหรือกลุ่มไว้ แล้วทำบัญชีแหล่งสารสนเทศไว้ พร้อมทั้งแนวทางการติดต่อและการใช้บริการ
รายชื่อผู้ร่วมกลุ่ม
ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 9 มิถุนายน 2544
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com