การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
รศ.จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
***เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน***


คำอธิบายรายวิชา/แนวการสอน
(Course Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบการสอน
(Texts and Materials)

แหล่งทรัพยากรสารนิเทศอื่นๆ
(Other Useful Resources)

แหล่งทรัพยากรเกี่ยวกับ Internet
(Resources about the Internet and Its Tools)

ตำราและวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(On-Line Journals and Magazines)

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด

บรรณานุกรม

โน้ตจากผู้สอน


Home

การวิเคราะห์องค์การโดย วิธี SWOT

ในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การนั้น มีความจำเป็นจะต้องประเมินสภาพแวดล้อมปัจจุบันภายในองค์กรในด้าน จุดแข้งและจุดอ่อนขององค์การหรือหน่วยงาน และประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กรในด้านอุปสรรค์และโอกาสด้วย เทคนิคการประเมินที่ได้รับความนิยมใช้ในวงการธุรกิจและองค์การที่มิใช่ธุรกิจปัจจุบัน คือ การวิเคราะห์ SWOT คำว่า SWOT เป็นคำย่อมาจากคำเต็มว่า Strength, Weakness, Opportunity และ Threat การวิเคราะห์นี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นการประเมินว่าองค์กรอยู่ในสภาวะอย่างไร เพื่อนำข้อมูลจากการวิเคราะห์องค์กรนี้ไปดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ต่อไป
การพิจารณาประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก มีสถานการณ์ 4 รูปแบบที่ควรพิจารณา(ทศพร ศิริสัมพันธ์, 2539; พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, 2543) คือ
สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง – โอกาส)
สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึงปราถนามากที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างที่จะมีจุดแข็งภายในค่อนข้างมาก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมค่อนข้างที่จะให้โอกาสแก่องค์กรในหลายอย่าง ดังนั้นผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive Strategy)ข้อเสนอแนะสิ่งที่ควรพิจารณาการประเมินจุดแข็ง (Strengths) ได้แก่ปัจจัยดังต่อไปนี้
1.ความสามารถพิเศษ
2.ทรัพยากรการเงินเพียงพอ
3.ความสามารถทางการแข่งขัน
4.การแข่งขันที่รุนแรง
5.เทคโนโลยีเฉพาะ
6.ความได้เปรียบทางการแข่งขัน
7.ความได้เปรียบทางต้นทุน
8.การบริหารที่มีประสิทธิภาพ
9.การประหยัดจากขนาด
10.ความสามารถด้านการค้นคว้าผลิตภัณฑ์
11.จุดแข็งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน – อุปสรรค)
สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับภัยอุปสรรคจากภายนอก และมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริหาร
องค์กร คือ กลยุทธ์การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive Strategy) เพื่อพยายามลด หรือ หลบหลีกอุปสรรคต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคภายในต่างๆ
ข้อเสนอแนะสิ่งที่ควรจะพิจารณาการประเมินจุดอ่อน (Weaknesses)
1.ทิศทางไม่ชัดเจน
2.ฐานะการแข่งขันถอยลง
3.เครื่องมือ อุปกรณ์ล้าสมัย
4.การทำกำไรต่ำกว่ามาตรฐาน
5.การขาดความสามารถทางการบริหาร
6.การวิจัยและพัฒนาล้าหลัง
7.สายผลิตภัณฑ์แคบเกินไป
8.ภาพพจน์ทางการตลาดไม่ดี
9.ความเสียเปรียบทางต้นทุน
10.การเสียเปรียบทางการแข่งขัน
11.ความสามารถทางการตลาดขององค์กรต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
12.ความไม่มั่นคงจากการแข่งขัน
13.ปัญหาการดำเนินงานภายใน
14.จุดอ่อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน – โอกาส)
สถานการณ์นี้องค์กรจะมีโอกาสที่เป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคภายในที่เป็นจุดอ่อนอยู่หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออกสำหรับผู้บริหารองค์กร คือ กลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-Oriented Strategy) เพื่อขจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆให้พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้
ข้อเสนอแนะสิ่งที่ควรจะพิจารณาการวิเคราะห์โอกาส (Opportunity)
1.ตอบสนองกลุ่มลูกค้าเพิ่มขึ้น
2.การเข้าสู่ตลาดใหม่
3.การขยายสายผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนอง
4.ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น
5.การขยายเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่
6.การเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกัน
7.การรวมธุรกิจตามแนวดิ่ง
8.การเจริญเติบโตของตลาดเร็วขึ้น
9.การพึงพอใจระหว่างคู่แข่งขัน
สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง – อุปสรรค)
สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรเองมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งอยู่หลายประการ ดังนั้น แทนที่ผู้บริหารขององค์กรจะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริหารองค์กรสามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือ กระจายกิจการ (Diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ในการสร้างโอกาสในระยะยาวสำหรับองค์กรต่อไป
ข้อเสนอแนะสิ่งที่ควรพิจารณาการวิเคราะห์อุปสรรค (Threat)
1.การเข้ามาของคู่แข่งขันใหม่
2.ยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนกันได้เพิ่มขึ้น
3.การเจริญเติบโตของตลาดช้าลง
4.ความไม่มั่นคงต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจ
5.รสนิยมและความต้องการของลูกค้ากำลังเปลี่ยนแปลง
6.การเปลี่ยนแปลงของประชากรในทางตรงกันข้าม
7.นโยบายของรัฐบาลในทางตรงกันข้าม
8.อำนาจการต่อรองของลูกค้าหรือผู้จำหน่ายกำลังเพิ่มขึ้น
โดยสรุป การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรจะมุ่งอยู่ที่ระดับล่างขององค์การ คือ พนักงานแต่การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างแท้จริงจะใช้การวางแผนกลยุทธ์ที่ให้ทิศทางแค่เป้าหมายระดับล่างมากกว่า ดังนั้น การวิเคราะห์ SWOT จึงเป็นแนวทางในการที่จะใช้เป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร และสามารถใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ ณ เวลาหนึ่ง ๆ ได้เพื่อที่จะลดจุดอ่อนและอุปสรรคให้มีน้อยที่สุด และใช้จุดแข็งขององค์กรแสวงหาประโยชน์จากโอกาสให้มากที่สุด
หน่วยราชการต่างๆ โดยเฉพาะสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ กำหนดระยะเวลาเพื่อติดตามดูผล ปรับปรุงการดำเนินงานตามแผน และมีการทบทวนแผนกลยุทธ์ที่ได้กำหนดไว้ว่าจะมีการกำหนดแผนกลยุทธ์อีกหรือไม่ เป็นการพัฒนาองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นเข้าสู่ระบบการประกันคุณภาพที่ต้องได้รับการประเมินองค์กรต่อไป

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2004
Revised:Junr 2004