1633102 การจัดหมู่ 2
Classification 2

2 (1-2)

การทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ
การลงรายการภาพ(Pictures)

ภาพเป็นสื่อของทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญในการให้ข้อมูล แก่ผู้ใช้ในแหล่งให้บริการสารนิเทศต่างๆ ภาพมีความหมายในตัวของมันเอง เป็นเครื่องมือสื่อสารสากลที่ชนทุกชาติทุกภาษา เข้าใจและสัมผัสความจริง ได้ด้วยสายตาของตนเอง เหมือนกับสุภาษิตจีนที่กล่าวว่า "ภาพเพียงภาพเดียวมีค่ามากกว่าคำพูดพันคำ"

ภาพที่มีการจัดเก็บและให้บริการในแหล่งสารนิเทศต่างๆ ประกอบไปด้วย ภาพถ่าย ภาพศิลปตัวจริง ภาพพิมพ์ ภาพการ์ตูน แผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพโปสการ์ด ใบปลิว ภาพโฆษณา ตลอดจน แผ่นฟิล์ม เป็นต้น

ตัวอย่าง การลงรายการภาพในบัตรรายการ

Bain, George Grantham, Collector.

[News photos of U.S. naval cooking school,
59th Street, New York City. Classroom scenes;
negro student; Mrs.J. L. Putnum. 1918]
7 glass negatives, 5 x 7 in., in series
LC-B2; contact prints and captions of unprinted
negatives in Lots 11279.
Purchase, D.J. Culver, 1948.

การลงรายการภาพสไลด์ (Slide)

สไลด์ คือ ภาพนิ่งซึ่งถ่ายลงบนฟิล์มโปร่งแสง หรือกระจก และผนึกในกรอบซึ่งอาจเป็นกรอบกระดาษแข็งหรือพลาสติก มีทั้งสไลด์ขาวดำและสี ขนาดของสไลด์ที่นิยมใช้กันมาก คือ ขนาด2x2นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ใช้กับกล้อง 35มม. และมีขนาดภาพ 3ขนาดคือ

1. ขนาดหนึ่งกรอบภาพ (Single-Frame Slide) มีขนาดของภาพเท่ากับ18x24มม.
2. ขนาดสองกรอบภาพ (Double-Frame Slide) มีขนาดของภาพเท่ากับ24x36มม. หรือเท่ากับฟิล์มสตริปสองกรอบภาพ
3. ขนาดพิเศษ (Super Silde ) มีขนาดของภาพเท่ากับ 31x31 มม. นอกจานี้ยังมีสไลด์ขนาด 3 1/4x4 นิ้ว และสไลด์ขนาดเล็กซึ่งผลิตจากฟิล์ม 11 มม. มีขนาดของภาพ15x15 มม.

แหล่งข้อมูลที่ใช้ลงรายการ(Sources of Information) ข้อมูลที่ใช้ลงรายการให้ดูจากแหล่งข้อมูลตามลำดับดังนี้

1. ภาพชื่อเรื่อง(title frame)มักเป็นภาพที่นำหน้าภาพที่เป็นเนื้อหา
2. กล่องที่บรรจุ
3. วัสดุที่มากับสไลด์
4. จากที่อื่นๆ

ประเภทของวัสดุ (Generel material designation)
ใช้คำว่า slide(สไลด์)

ลักษณะของวัสดุ (Physical description)
จำนวน ลงจำนวนของสไลด์ เช่น 40, 50 ภาพ
ในกรณีที่เป็นสไลด์ถ่ายทำ 2 ทาง ขนาด 35 มม. หรือสไลด์3มิติ ให้ระบุลักษณะเฉพาะ คือ สเตอริโอกราฟ (Stereograph)แทนจำนวนของสไลด์ เช่น
3 stereograph reels (Viewmaster)
1 stereograph reel (12 double f.)
สี ระบุสีหรือขาวดำ และนำหน้าด้วยเครื่องหมาย : เช่น
10 slides : col
1 slide : b&w
ขนาด ระบุความกว้าง X ยาว เป็นเซนติเมตร และนำหน้าด้วย เครื่องหมาย ;
สำหรับสไลด์ขนาดมาตรฐาน (2 นิ้วx2นิ้ว หรือ 5.5 ซม) อาจไม่ต้องบอก ขนาดได้
เสียงประกอบ บอกระยะเวลาเป็นนาทีในเครื่องหมายวงเล็บกลม และนำหน้าด้วย เ ครื่องหมาย + เช่น
40 slides : col. + l sound disc
( 30 min. : 33 1/3 rpm., mono. ; 12 tn.)
คู่มือ คู่มือที่มากับสไลด์ ลงรายการโดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย + เช่น
12 slides : col. + l teacher's guide.

ตัวอย่างบัตรรายการภาพสไลด์

Leonardo, da Vinci.

The Virgin Mary, Child Jesus and
St. Anne [slide].-Blsckhawk, [19-]
l slide.-(Art treasures of the Louvre)
1.Painting, Renaissance. 2. Christian art
and symbolism. I. Title. II. Series.

การลงรายการเทปบันทึกภาพ (VIDEORECORRDINGS)

video เป็นภาษาลาตินมีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "to see" ปัจจุบันคำว่า Video ถูกแปลว่า ภาพ แต่เมื่อเป็นคำว่า Videotape แล้ว ในภาษาอังกฤษหมายถึง แมกเนติคเทป ซึ่งใช้บันทึกสัญญาณโทรทัศน์ ในการทำบัตรรายการ คำว่า เทปบันทึกภาพ (Vidfeorecordings) หมายรวมถึงเทปที่มีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. เทปบันทึกภาพชนิดม้วน (reel-to-reel tapes)
2. เทปบันทึกภาพชนิดคาร์ทริดจ์ (cartridge)
3. เทปบันทึกภาพชนิดตลับ (cassettes)
4. เทปบันทึกภาพชนิดแผ่น (discs)

ขนาดของเทปบันทึกภาพ วัดกันที่หน้ากว้างของเส้นเทป ปัจจุบันเทปบันทึกภาพมีอยู่ 4 ขนาด คือ
1. ขนาด 2 นิ้ว เป็นเทปชนิดม้วน
2. ขนาด 1 นิ้ว เป็นเทปชนิดม้วน
3. ขนาด พ นิ้ว เป็นเทปชนิดตลับ เทปชนิดนี้มีแต่ชนิดตลับอย่างเดียวเท่านั้นมีรหัสเรียกว่าแบบยูมาติค
4. ขนาด ฝ นิ้ว เป็นเทปชนิดตลับ คาร์ทริดจ์ และชนิดม้วน เทปบันทึกภาพซึ่งจะต้องลบทิ้ง หรือจะลบทิ้งหลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่ควรทำบัตรรายการสมบูรณ์ ควรทำออกมาในรูปรายชื่อเทปบันทึกภาพที่มีคุณค่าแน่นอนเท่านั้นที่ควรทำบัตรรายการให้ครบสมบูรณ์เพื่อความสะดวกในการใช้

แหล่งข้อมูลที่ใช้ลงรายการ (Sources of Information) ให้ดูข้อมูลทั้งที่บนฉลากที่ติดมากับม้วนและกล่องบรรจุเพราะอาจมีผู้รับเปลี่ยนม้วนและฉลากได้ ถ้าข้อมูลไม่ได้ปรากฏบนกล่องเมื่อนำมาลงรายการให้ใส่วงเล็บไว้ด้วย เทปบันทึกภาพบางรายการอาจมีแต่เพียงชื่อชุดเท่านั้นส่วนชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ จะบอกด้วยคำพูดอยู่ในเทป ดังนั้นให้ใช้ข้อมูลดังกล่าวมาเป็นชื่อเรื่องได้

ประเภทของวัสดุ (General Material Designation) ใช้คำว่า Videorecording เทปบันทึกภาพ

ลักษณะของวัสดุ (Physical Description)

จำนวน ให้ระบุจำนวนเทปบันทึกภาพประเภทต่าง ๆ ลงไป เช่น
2 Videodiscs
1 videoreel
2 Videocassettes
1 videocartridge
แต่ถ้าเทปบันทึกภาพเรื่องเดียวกันมีหลายแบบ เช่น มีทั้งชนิดตลับและชนิดม้วนให้ใช้คำว่า Videorecording และอาจให้รายละเอียดไว้ที่โน๊ต เช่น
4 videorecordings
Note : available as cassette or reel หรือใช้ Multilevel description หรือลงรายการแยกแต่ละชนิดก็ได้ โดยมีข้อยกเว้นคือ ภ้าใน GMD ใส่คำว่า video แล้ว เวลาระบุจำนวนอาจตัดคำ video ที่นำหน้าออกได้ ให้ใส่ประเภทเทปบันทึกภาพได้เลย เช่น 1 reel, 1 cassette
ชื่อทางการค้า (Trade name) และ Technical Specification อื่น ๆ จำเป็นต้องระบุไว้ในกรณีที่วัสดุมีเฉพาะใน Farm นั้น เช่น
1 videoreel (ampex 7003)
1 videocassette
Note : available for purchase es philips VCR or sony u-matic
1 videorgcording
Note : available in the library as cassette (Philips VCR or sony U-Matic) or reel (Sony CV ฝ in. or Sony AV ฝ in. or IVR 1 in. or Quadruplx 2 in.)
เวลา ให้ระยะเวลาทั้งหมดเป็นนาที โดยใช้ย่อ min. หากจำนวนเทปมีมากกว่าหนึ่ง ให้ระบุเวลาแต่ละรายการด้วย และอยู่ภายในวงเล็บกลุ่ม เช่น
2 Videodisc (Ampex 7003) (50 นาที)
เสียงประกอบ
ให้ระบุเสียงประกอบ และให้นำหน้าด้วยเครื่องหมาย : ถ้าเป็น videodiscs ให้ระบุอัตราการหมุนต่อนาที เช่น
1videodisc (4 min.) : sd., cQl., 1500 rpm.
สี ระบุสีหรือขาวดำ โดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย ,
ขนาด ให้ระบุความกว้างเป็นนิ้ว และนำหน้าด้วยเครื่องหมาย ; เช่น
1 videoreel (30 min.) :sd., b&w ; ฝ in
ถ้าเป็น videodisc ให้ระบุเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้ว เช่น
1videodisc (5 min.) : sd., b&w, 1500 rpm. 8 in
คู่มือ คู่มือที่มากับเทปบันทึกภาพ ลงรายการโดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย +
หมายเหตุ (Note area)
ให้ระบุระบบของเทปบันทึกภาพลงในส่วนหมายเหตุ เช่น
U Standard หรือBeta.

ตัวอย่างบัตรรายการเทปบันทึกภาพ

Wilder,Thornton.

Infancy; Childhood[videorecording]. -
National Educational Television,1970.
I. videoreel (Shibaden SV-727) (90 min.) : sd.,
b&w; 1 in.--(Playhouse. A Generation of leaves)
Cast: Fred Gwynne, Eileen Brennan.
Summary: Two one-act serio-comic plays about the failure of
generations to communicate.
I .Title. II. Title: Childhood. III. Series.

การลงรายการฟิล์มภาพยนต์ (M0tion Picture)

ฟิล์มภาพยนต์ยุคแรกมีความกว้างหลายขนาด ตั้งแต่ครึ่งนิ้ว ถึง 70 มม. แต่ฟิล์มขนาด 35 มม.นับเป็นฟิล์มมาตรฐานที่ใช้ในโรงภาพยนต์ ผู้ทำบัตรรายการจะได้พบตัวอย่าง การทำบัตรรายการฟิล์มขนาด 35 มม. 16 มม. และ 8 มม. ซึ่งมักพบว่ามีอยู่ในห้องสมุด แหล่งข้อมูลที่ใช้ลงรายการ
1.ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องของภาพยนต์จะปรากฎช้ำ ๆ บน Title frame ของฟิล์ม ซึ่งปรากฎบนจอชั่วระยะหนึ่ง และอาจหาจากฉลากบน Cartridge ซึ่งทั้งสองชื่อนี้ถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญและปรากฎบนกล่องบรรจุ การลงรายการให้พิจารณา Title frame ก่อน เพราะผู้แต่งชอบชื่อนี้มากกว่า เนื่องจากเป็นชื่อที่ผู้ชมได้เห็นบนจอฉาย ใช้ชื่อเรื่อจากฉลากบนกล่องบรรจุได้อีกชื่อหนึ่ง เพราะชื่อนี้แตกต่างพอที่จะทำให้บัตรรายการเรียงอยู่ในส่วนอื่นได้ การทำฉลากปิดบนกล่องบรรจุโดยใช้ชื่อเรื่องเหมือนที่ปรากฎบนฟิล์มจะทำให้สะดวกขึ้น การลงชื่อเรื่องใช้อักษรตัวใหญ่เฉพาะคำแรก
2.ถ้าบุคคลคนเดียวเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญในฐานะผู้ประพันธ์ภาพยนต์ ลงชื่อเขาเป็นรายการหลัก ถ้า ผู้ประพันธ์มี 3 คน หรือน้อยกว่า ลงรายการเพิ่มชื่อบุคคลอื่น อีกอย่างมาก 2 คน ถ้าคณะบุคคลมากกว่า 3 คน ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการหลัก แล้วลงรายการเพิ่มชื่อให้แก่บุคคลแรก ภาพยนต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ ต้องทำบัตรรายโดยใช้หลักการเดียวกับปริญญานิพนธ์

ข้อความเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบ(Statements of responsiblity)

1. บริษัทที่เป็นทั้งผู้ผลิตและจำหน่าย นำมาลงรายการในฐานะผู้รับผิดชอบ
2. การให้เครดิตแก่ที่ปรึกษาด้านเทคนิคนั้นใช้ในบัตรรายการระดับ 3 เท่านั้น ถ้าบุคคลเหล่านั้นไม่มีชื่อเสียง และไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ผู้ใช้ภาพยนต์มักไม่ค่อยสนใจ ถ้าพิจารณาว่าเป็นบุคคลสำคัญ จึงควรลงรายการในส่วนรับผิดชอบ
3. กรณีพิจารณาว่าผู้กำกับภาพยนต์เป็นคนสำคัญ ลงรายการชื่อของเขาในส่วนรับผิดชอบในการทำบัตรรายการระดับ 2 และ 3
4. ข้อมูลการพิมพ์ที่นำลงรายการเป็นข้อมูลของภาพยนต์มี ข้อมูลการพิมพ์ฟิล์มต้นฉบับให้ลงไว้ในส่วนโน้ต edition และประวัติ
5.กรณีภาพยนต์ที่จัดทำขึ้นใหม่ปรากฎบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้จำหน่าย หรือบริษัทผู้ทำขึ้นใหม่เป็นองค์กรต่างกัน ให้องค์กรแรกเป็นผู้รับผิดชอบ ลงรายการองค์กรหลังไว้ในหมายเหตุรับผิดชอบ
6. ไม่ลงชื่อผู้ประพันธ์นิยาย ซึ่งนำมาสร้างเป็นภาพยนต์เป็นรายการหลัก เพราะเขาไม่ได้เป็นผู้เขียนบทภาพยนต์

เวลา

ให้ระบุเวลาเป็นนาทีและใช้คำย่อว่า min. และอยู่ในวงเล็บกลมหากเป็นภาพยนต์ชุด ลงรายการความยาวของภาพยนต์แต่ละตอนดีกว่าลงเวลาฉายรวมของทุกตอน

เสียงประกอบ

ให้ระบุเสียงโดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย :

สี

ให้ระบุสีหรือขาวดำ และนำหน้าด้วยเครื่องหมาย ,

ขนาด

ขนาดของฟิล์มนำหน้าด้วยเครื่องหมาย ;

คู่มือ

คู่มือภาพยนต์ ลงรายการโดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย +

ชื่อชุด

ชื่อชุดของภาพยนต์ และชื่อชุดรอง (subseries) นำมาลงรายการเพิ่มได้ทั้งสองชื่อ ห้องสมุดขนาดเล็กที่มี Collection ภาพยนต์ขนาดจำกัด และไม่มีภาพยนต์ครบชุดจะไม่ลงรายการเพิ่มชื่อชุดก็ได้

รายการเพิ่ม

ชื่อผู้ผลิตภาพยนต์ ห้องสมุดขนาดเล็กและขนาดกลางอาจไม่ลงรายการนี้ กรณี collection ภาพยนต์มีขนาดใหญ่ การลงรายการเพิ่มชื่อบริษัทผู้ผลิตที่เป็นผู้พิมพ์ด้วย อาจทำให้มีบัตรรายการซ้ำซ้อนได้

ลงรายการเพิ่มชื่อผู้สร้างภาพยนต์ ไม่ลงรายการเพิ่มผู้พิมพ์

ลงรายการเพิ่มชื่อนวนิยายที่นำมาสร้างเป็นภาพยนต์ เพื่อผู้ใช้ที่อาจสนใจนวนิยายเรื่องนี้
ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงละครเพลง และผู้ประพันธ์ละครต้นฉบับ ซึ่งนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนต์
ลงรายการเพิ่มชื่อ ให้บุคคลแรกของคณะผู้ประพันธ์บทภาพยนต์ ถ้าบุคคลเดียวเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญ ก็ลงชื่อเขาเป็นรายการหลัก โดยลงรายการเพิ่มชื่อบุคคลอื่นอีกอย่างละ 2 คน
ลงรายการเพิ่มชื่อบุคคลสมควรทำเมื่อบุคคลเหล่านี้มีชื่อเสียงมากเท่านั้น

ตัวอย่างการลงรายการภาพยนตร์

The cataloger [ motion picture] / Zip Films.- -

South Bend, Ind. : Zip Films, c1972.
1. filmreel (12 min.) : sd., b&w ; 16 mm. +
teacher's guide.
1. Cataloging. I. Zip Films

หน้าสารบัญ