1633102 การจัดหมู่ 2
Classification 2
2 (1-2)
การทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ
การลงรายการฟิล์มภาพยนตร์ (Motion Picture)
ฟิล์มภาพยนตร์ยุคแรกมีความกว้างหลายขนาด ตั้งแต่ครึ่งนิ้ว ถึง 70 มม. แต่ฟิล์มขนาด 35 มม.นับเป็นฟิล์มมาตรฐานที่ใช้ในโรงภาพยนต์ ผู้ทำบัตรรายการจะได้พบตัวอย่าง การทำบัตรรายการฟิล์มขนาด 35 มม. 16 มม. และ 8 มม. ซึ่งมักพบว่ามีอยู่ในห้องสมุด
แหล่งข้อมูลที่ใช้ลงรายการ
1.ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องของภาพยนตร์จะปรากฎช้ำ ๆ บน Title frame ของฟิล์ม ซึ่งปรากฎบนจอชั่วระยะหนึ่ง และอาจหาจากฉลากบน Cartridge ซึ่งทั้งสองชื่อนี้ถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญและปรากฎบนกล่องบรรจุ การลงรายการให้พิจารณา Title frame ก่อน เพราะผู้แต่งชอบชื่อนี้มากกว่า เนื่องจากเป็นชื่อที่ผู้ชมได้เห็นบนจอฉาย ใช้ชื่อเรื่อจากฉลากบนกล่องบรรจุได้อีกชื่อหนึ่ง เพราะชื่อนี้แตกต่างพอที่จะทำให้บัตรรายการเรียงอยู่ในส่วนอื่นได้ การทำฉลากปิดบนกล่องบรรจุโดยใช้ชื่อเรื่องเหมือนที่ปรากฎบนฟิล์มจะทำให้สะดวกขึ้น การลงชื่อเรื่องใช้อักษรตัวใหญ่เฉพาะคำแรก
2.ถ้าบุคคลคนเดียวเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญในฐานะผู้ประพันธ์ภาพยนตร์ ลงชื่อเขาเป็นรายการหลัก ถ้า ผู้ประพันธ์มี 3 คน หรือน้อยกว่า ลงรายการเพิ่มชื่อบุคคลอื่น อีกอย่างมาก 2 คน ถ้าคณะบุคคลมากกว่า 3 คน ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการหลัก แล้วลงรายการเพิ่มชื่อให้แก่บุคคลแรก ภาพยนต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ ต้องทำบัตรรายโดยใช้หลักการเดียวกับปริญญานิพนธ์
ข้อความเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบ(Statements of responsiblity)
1. บริษัทที่เป็นทั้งผู้ผลิตและจำหน่าย นำมาลงรายการในฐานะผู้รับผิดชอบ
2. การให้เครดิตแก่ที่ปรึกษาด้านเทคนิคนั้นใช้ในบัตรรายการระดับ 3 เท่านั้น ถ้าบุคคลเหล่านั้นไม่มีชื่อเสียง และไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ผู้ใช้ภาพยนต์มักไม่ค่อยสนใจ ถ้าพิจารณาว่าเป็นบุคคลสำคัญ จึงควรลงรายการในส่วนรับผิดชอบ
3. กรณีพิจารณาว่าผู้กำกับภาพยนตร์เป็นคนสำคัญ ลงรายการชื่อของเขาในส่วนรับผิดชอบในการทำบัตรรายการระดับ 2 และ 3
4. ข้อมูลการพิมพ์ที่นำลงรายการเป็นข้อมูลของภาพยนตร์มี ข้อมูลการพิมพ์ฟิล์มต้นฉบับให้ลงไว้ในส่วนโน้ต edition
และประวัติ
5.กรณีภาพยนตร์ที่จัดทำขึ้นใหม่ปรากฎบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้จำหน่าย หรือบริษัทผู้ทำขึ้นใหม่เป็นองค์กรต่างกัน ให้องค์กรแรกเป็นผู้รับผิดชอบ ลงรายการองค์กรหลังไว้ในหมายเหตุรับผิดชอบ
6. ไม่ลงชื่อผู้ประพันธ์นิยาย ซึ่งนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เป็นรายการหลัก เพราะเขาไม่ได้เป็นผู้เขียนบทภาพยนต์
เวลา
ให้ระบุเวลาเป็นนาทีและใช้คำย่อว่า min. และอยู่ในวงเล็บกลมหากเป็นภาพยนต์ชุด ลงรายการความยาวของภาพยนต์แต่ละตอนดีกว่าลงเวลาฉายรวมของทุกตอน
เสียงประกอบ ให้ระบุเสียงโดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย :
สี ให้ระบุสีหรือขาวดำ และนำหน้าด้วยเครื่องหมาย ,
ขนาด
ขนาดของฟิล์มนำหน้าด้วยเครื่องหมาย ;
คู่มือ
คู่มือภาพยนตร์ ลงรายการโดยนำหน้าด้วยเครื่องหมาย +
ชื่อชุด
ชื่อชุดของภาพยนตร์ และชื่อชุดรอง (subseries) นำมาลงรายการเพิ่มได้ทั้งสองชื่อ ห้องสมุดขนาดเล็กที่มี
Collection ภาพยนต์ขนาดจำกัด และไม่มีภาพยนต์ครบชุดจะไม่ลงรายการเพิ่มชื่อชุดก็ได้
รายการเพิ่ม
ชื่อผู้ผลิตภาพยนตร์ ห้องสมุดขนาดเล็กและขนาดกลางอาจไม่ลงรายการนี้
กรณี collection ภาพยนต์มีขนาดใหญ่ การลงรายการเพิ่มชื่อบริษัทผู้ผลิตที่เป็นผู้พิมพ์ด้วย อาจทำให้มีบัตรรายการซ้ำซ้อนได้
ลงรายการเพิ่มชื่อผู้สร้างภาพยนตร์ ไม่ลงรายการเพิ่มผู้พิมพ์
ลงรายการเพิ่มชื่อนวนิยายที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เพื่อผู้ใช้ที่อาจสนใจนวนิยายเรื่องนี้
ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงละครเพลง และผู้ประพันธ์ละครต้นฉบับ ซึ่งนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนต์
ลงรายการเพิ่มชื่อ ให้บุคคลแรกของคณะผู้ประพันธ์บทภาพยนต์
ถ้าบุคคลเดียวเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญ ก็ลงชื่อเขาเป็นรายการหลัก โดยลงรายการเพิ่มชื่อบุคคลอื่นอีกอย่างละ 2 คน
ลงรายการเพิ่มชื่อบุคคลสมควรทำเมื่อบุคคลเหล่านี้มีชื่อเสียงมากเท่านั้น
ตัวอย่างการลงรายการภาพยนตร์
The cataloger [ motion picture] / Zip Films.- -
South Bend, Ind. : Zip Films, c1972.
1. filmreel (12 min.) : sd., b&w ; 16 mm. +
teacher's guide.
1. Cataloging. I. Zip Films
หน้าสารบัญ