การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน : หมวด J
ขอบเขต
รัฐศาสตร์ (POLITICAL SCIENCE)
ความเป็นมา
หมวด J คือหมวดที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้กับหนังสือในสาขาวิชารัฐศาสตร์ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1910 ต่อมาอีก 14 ปี จึงจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยหน่วยงาน Processing Department, Subject Cataloging Division ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน มีการปรับปรุงหมวด J อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1966 แต่ครั้งนี้ไม่ได้จัดพิมพ์รวมเล่มเพียงนำเอาส่วนที่มีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมารวมไว้ด้านหลัง ของฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เท่านั้น มาถึงปัจจุบัน Gale Research Company ได้ทำการรวมเล่มเลขหมู่ที่มีการเพิ่มเติมแก้ไขจนถึงปี ค.ศ.1987 เข้าด้วยกัน นับเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้จัดหมู่เป็นอย่างมาก
เนื้อหาของหมวดนี้ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ทฤษฎีทางการเมือง ประวัติ รัฐธรรมนูญ และการบริหาร การเมืองการปกครอง การปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองอาณานิคม การอพยพย้ายถิ่น และการกฎหมายระหว่างประเทศ
ขอบเขต
หมวด J มีขอบเขตของเนื้อหา ดังนี้
วิธีทีระบบหอสมุดรัฐสถาอเมริกันใช้ในการกำหนดเลขหมู่
หอสมุดรัฐสภาอเมริกันได้มีการกำหนดเลขหมู่สำหรับลักษณะสัญยลักษณ์หรือเนื้อหาของวัสดุห้องสมุด
หมวด J ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่
การกำหนดเลขหมู่โดยตรง
เป็นวิธีทีมีปรากฎอยู่ทั่วไปในหมวด J
ใช้ในการแบ่งย่อยตามเนื้อหาเลขหรือลักษณะของงาน เช่น
ประวัติรัฐธรรมนูญและการบริหาร ซึ่งอยู่ในหมวดย่อย ตัวอย่าง
การใช้ A-Z
เป็นการแบ่งย่อยเลขหมู่โดยใช้อักษรตัวแรกของเนื้อหาหรือชื่อภูมิศาสตร์
ตามค่ายเลขอารบิด เพื่อระบุเนื้อหาเฉพาะ และเพื่อแบ่งย่อยตามภูมิศาสตร์ตัวอักษร
และเลขอารบิด จะกำหนดขึ้นจากตารางกำหนดเลขคัตเตอร์
ตัวอย่างการใช้เลขคัตเตอร์ A-Z แบ่งย่อยตามภูมิศาสตร์
ตารางจำแนกเลขหมวด JF ที่ตัดตอนมานี้
มีการกำหนดให้แบ่งย่อยเนื้อหาเฉพาะอื่นๆ โดยการกำหนดเลขคัตเตอร์ A-Z
ดังนั้น ถ้าต้องการกำหนดเลขหมู่ในหนังสือที่เกี่ยวกับฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้ว จะได้เลขหมู่
JF1525.C66
แต่ถ้าต้องการกำหนดเลขหมู่สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์การแล้ว
จะได้เลขหมู่ JF1525.07 เลขคัตเตอร์ 7
ได้มาจากการเปิดตารางกำหนดเลขคัตเตอร์ที่ตัวอักษร O ( Organizational change)
การแบ่งย่อยตามเนื้อหาเฉพาะ
เมื่อตารางจำแนกเลขระบุว่า เลขหมู่หนังสือที่สมบรูณ์จะต้องกำหนดเลขคัตเตอร์ประกอบ โดยใช้วลี "By subject, A-Z" "Other special, A-Z " และ "Other topics, A-Z" ผู้จัดหมู่จะต้องพิจาณาว่าหนังสือนั้นๆ เป็นเรื่องใด และพิจารณาใช้ตารางกำหนดเลขคัตเตอร์ตามตัวอักษรตัวแรกของเนื้อหานั้นเช่น Citizenship อักษรตัวแรกเป็น C เมื่อใช้ตารางกำหนดเลขคัตเตอร์ จะได้เลข 5 ดังนั้น เลขคัตเตอร์ของหนังสือที่ว่าด้วยความเป็นพลเมืองเล่มนั้นจึงต้องใช้ .C5 ประกอบ บางครั้งตารางจำแนกเลขคัตเตอร์สำหรับเนื้อหาบางเรื่องไว้บ้างแล้ว ซึ่งผู้จัดหมู่สามารถนำมาใช้ประกอบเลขหมู่ได้เลย แต่หากไม่ปรากฎก็จักต้องกำหนดเลขขึ้นเอง
ตัวอย่างการใช้เลขคัตเตอร์ A-Z แบ่งย่อยตามเนื้อหาเฉพาะ
ตารางจำแนกเลขหมวด JF ที่ตัดตอนมานี้ มีการกำหนดให้แบ่งย่อยเนื้อหาเฉพาะอื่นๆ โดยการกำหนดเลขคัตเตอร์ A-Z ดังนั้น ถ้าต้องการกำหนดเลขหมู่ในหนังสือที่เกี่ยวกับฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้ว จะได้เลขหมู่ JF1525.C66 แต่ถ้าต้องการกำหนดเลขหมู่สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์การแล้ว จะได้เลขหมู่ JF1525.07 เลขคัตเตอร์ 7 ได้มาจากการเปิดตารางกำหนดเลขคัตเตอร์ที่ตัวอักษร O ( Organizational change)
การแบ่งย่อยตามภูมิศาสตร์
เมื่อตารางจำแนกเลขระบุว่าเลขหมู่หนังสือที่สมบรูณ์จะต้องกำหนดเลขคัตเตอร์ประกอบ โดยใช้วลี "By region or country, A-Z" "By country, A-Z" "States, A-Z" ผู้จัดหมู่จะต้องพิจารณาว่าหนังสือนั้นๆ เป็นเรื่องของภูมิภาด ประเทศ, รัฐหรือเมืองใด แล้วพิจารณาใช้ตารางกำหนดเลขคัตเตอร์ เช่นเดียวกับการแบ่งย่อยตามเนื้อหาใน การแบ่งย่อยตามเนื้อหา
ตัวอย่างการใช้เลขคัตเตอร์ A-Z แบ่งย่อยตามภูมิศาสตร์
จากตารางจำแนกเลขหมวด JF ที่ตัดตอนมานี้ มีการกำหนดให้แบ่งย่อยตามประเทศ A-Z โดยใช้ตารางกำหนดเลขคัตเตอร์ ดังนั้น หนังสือที่เกี่ยวกับการเป็นผู้แทนของชนกลุ่มน้อยในประเทศสหรัฐอเมริกา จะได้เลขหมู่ JF1063.U6 เป็นต้น
สำหรับการกำหนดเลขคัตเตอร์ตามชื่อประเทศนั้น ผู้จัดหมู่อาจใช้ตารางจำแนกเลขเล่มที่มีตาราง "Table of countrics in one alphabet" เช่น หมวด H (สังคมศาสตร์) ซึ่งจะมีรายชื่อประเทศต่างๆ เรียงตามลำดับอักษรพร้อมเขคัตเตอร์ มาใช้ประกอบ แต่ในหมวด J นี้ไม่มีตารางดังกล่าว
การใช้เลขคัตเตอร์สงวน
การแบ่งย่อยวิธีนี้ คือการกำหนดเลขคัตเตอร์ไว้ให้เป็นเลขแสดงลักษณะของงาน หรือการแบ่งตามภูมิศาสตร์ เมื่อจะต้องมีการกำหนดเลขคัตเตอร์ในกรณีปกติทั่วไป ประกอบเลขหลักตัวเดียวกันแล้ว ผู้จัดหมู่จะนำเลขคัตเตอร์ที่สงวนไว้นี้ไปใช้เป็นเลขคัตเตอร์ในความหมายอื่นไม่ ได้เพราะจะทำให้ความหมายผิดไปตามที่กำหนด ต้อวเลี่ยงไปใช้เลขคัตเตอร์ตัวอื่นแทน ตัวอย่างการใช้เลขคัตเตอร์สงวน
จากตารางจำแนกเลขหมวด JS ที่ตัดตอนมานี้ .A1-3 และ .A4 ถือเป็นเลขคัตเตอร์ที่สงวนไว้ .A1-3 นั้นสงวนไว้สำหรับเรื่องทั่วๆ ไปของสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ ฯลฯ ของเทศบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน . A4 สงวนไว้สำหรับเรื่องของสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ ฯลฯ ของเทศบาลในรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา
ดังนั้น หากผู้จัดหมู่ต้องการใช้ .A1-.A4 สำหรับเรื่องของสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ ฯลฯ ของเทศบาลในเมืองใดเมืองหนึ่งของสหรัฐอเมริกา จะต้องเลี่ยงไปใช้เลขคัตเตอร์อื่นแทน เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ ฯลฯ ของเทศบาลรัฐ Alabama จะได้เลขหมู่ JS205.A4A4
หนังสือที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์ ฯลฯของเทศบาลเมือง Albany รัฐ New York จะได้เลขหมู่ JS205.A5
ปกติเลขคัตเตอร์สำหรับเมือง Albany ตามตารางกำหนดเลขคัตเตอร์เป็น .A4 แต่เนื่องจาก .A4 เป็นเลขคัตเตอร์ที่สงวนไว้สำหรับการแบ่งตามรัฐ และตารางจำแนกเลขกำหนดใช้เลขคัตเตอร์สำหรับแบ่งตามเมืองตั้งแต่ .A5 เป็นต้นไป
การใช้เลขคัตเตอร์ซ้อน
เป็นการนำเอาเลขคัตเตอร์มาใช้ในการกำหนดเลขหมู่ซ้อนกัน 2 ครั้ง กล่าวคือ
ใช้ครั้งแรกเพื่อแสดงเนื้อหาและใช้ครั้งที่ 2
สำหรับเลขผู้แต่งแต่ในบ้างครั้งก็อาจใช้เลขคัตเตอร์ทั้ง 2 ในการจำแนกเนื้อหา
และขอบข่ายลักษณะเนื้อหาที่เฉพาะ
ตัวอย่างการใช้เลขคัตเตอร์ซ้อน
ตารางจำแนกเลขหมวด JN ที่ตัดตอนมานี้ มีการกำหนดให้ใช้เลขคัตเตอร์ซ้อน .A2 และ .A3 เป็นเลขคัตเตอร์ที่ตารางจำแนกเลขกำหนดให้เป็นเลขคัตเตอร์สงวน A-Z ที่อยู่ต่อจาก .A2 และ.A3 คือวลีที่แสดงให้ทราบว่าจะต้องกำหนดเลขคัตเตอร์อีกครั้ง คือ กำหนดเลขคัตเตอร์ชื่อของคู่มือ นามานุกรมของสภาชั้นที่ 1 หลัง .A3 ทำให้เลขหมู่สมบูรณ์ของหนังสือเล่มนั้นๆ มีเลขคัตเตอร์ซ้อนกัน 2 ครั้ง ดังนี้ JN2022.A2B8 (หนังสือคู่มือนามานุกรม ของสภาชั้นที่ 1 ซึ่งขึ้นต้นเอกสารด้วย Bundesrat)
การใช้เลขคัตเตอร์ตาม
เป็นวิธีการแบ่งย่อยเนื้อหาโดยการกระจายเลขคัตเตอร์ต่อท้ายเลขหมู่ที่ยังไม่สมบรูณ์ เลขหมู่ที่กล่าวถึงนี้มีลักษณะที่แบ่งตามชื่อเฉพาะ เรื่องราวเฉพาะ และสถานที่ทางภูมิศาสตร์ด้วยอักษร A-Z มาก่อนแล้ว และเมื่อต้องการจะขยายเลขหมู่จึงเติมเลขต่อจากเลขคัตเตอร์ที่กระจายไว้แล้ว ในตารางจำแนกเลขหมวด J นี้จะมีวิธีระบุให้ใช้เลขคัตเตอร์ตามอยู่ 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 ใช้ตัวเลขในวงเล็บแสดงลำดับการกระจายเลขคัตเตอร์
จากตารางจำแนกเลขหมวด JC ที่ตัดตอนมานี้ JC347 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญลักษณ์และเครื่องหมายรัฐในประเทศต่างๆ ซึ่งต้องแบ่งย่อยตามชื่อประเทศ สมมติว่าเป็นเรื่องสัญลักษณ์และเครื่องหมายรัฐในประเทศไทย ก็จะได้เลขหมู่ที่สมบรูณ์สำหรับเรื่องทั่วไป หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสัญลักษณ์และเครื่องหมายรัฐในประเทศไทย เป็น JC347.T5 (ทั้งนี้เพราะเลขคัตเตอร์ 1 นั้น L.C. จะไม่ใช้เติมต่อจากเลขคัตเตอร์ที่กระจายไว้แล้ว)แต่หากเป็นเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับ สัญลักษณ์และเครื่องหมายรัฐในประเทศไทย ก็จะต้องเติมเลข 2 ต่อท้ายเลขหมู่ JC247.T5 เป็น JC347.T52 เลขหมู่นี้จึงจะสมบูรณ์เช่นเดียวกันถ้าต้องการจัดหมู่หนังสือที่กล่าวถึงเรื่องอื่นๆ (ที่ไม่ใช่เรื่องทั่วไป ทฤษฎี หรือกฎหมาย) ที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ และเครื่องหมายรัฐในประเทศไทยก็จะต้องเติมเลข 3 ต่อท้ายเลขหมู่ JC347.T5 เป็น JC347.T53
รูปแบบที่ 2 ใช้อักษร X และตัวเลขแสดงลำดับการกระจายเลขคัตเตอร์ อักษร X จะใช้แทนเลขหมู่ที่ยังไม่สมบูรณ์ที่ต้องการแบ่งย่อย
จากตารางจำแนกเลขหมวด JC ที่ตัดตอนมานี้ จะเห็นได้ว่า JC599 กำหนดให้เป็นเลขเกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคลในภูมิภาคหรือประเทศต่างๆ ซึ่งต้องแบ่งย่อย A-Z ก่อน แล้วภายใต้แต่ละประเทศจึงจะต่อท้ายด้วยเลขคัตเตอร์ตาม เช่น หนังสือเกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคลในประเทศไทย จะได้เลขหมู่ที่ยังไม่สมบูรณ์ คือ JC599.T5 ซึ่งเลขหมู่นี้คือ X ในส่วนของเลขคัตเตอร์ตาม แต่ในที่นี้ เลขคัตเตอร์ตามลำดับแรกไม่มีการเติมเลขใดๆ ดังนั้น เลขหมู่ JC599.T5 จึงเป็นเลขหมู่ที่สมบรูณ์ในความหมายที่เป็นงานทั่วๆ ไปเกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคลในประเทศไทยแต่ถ้าเป็นหนังสือเกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคลในท้องถิ่นภาคใต้ของไทยแล้ว เลขหมู่ JC599.T5 ยังไม่สมบรูณ์ต้องเติมเลขคัตเตอร์ตาม 2 ต่อท้าย แล้วแบ่งย่อย A-Z ตามท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่งฉะนั้นเลขหมู่ที่สมบรณ์สำหรับหนังสือเล่มนี้จึงเป็น JC599.T52S6
การแบ่งย่อยเลขหมู่แบบเดียวกัน
ในตารางจำแนกเลขหมวด J นี้มีการแบ่งย่อยเลขหมู่แบบเดียวกัน เพื่อจำแนกเรื่องย่อยที่เป็นไปในทำนองเดียวกันกับที่เคยจำแนกมาแล้ว โดยใช้คำ "Divided like" "Arranged like" "Subdivded like" และ "Subarranged like" เป็นการโยงให้ไปดูการแบ่งย่อยที่มีปรากฎอยู่แล้วในตารางจำแนกเลขหมวดเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น การปกครองท้องถิ่นของประเทศแคนาดานั้น จะระบุให้ไปใช้การแบ่งย่อยแบบเดียวกันกับการปกครองท้องถิ่นของประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างการแบ่งย่อยเลขหมู่แบบเดียวกัน
จากตารางจำแนกเลขหมวด JS ที่ตัดตอนมา จะเห็นว่า หากต้องการกำหนดเลขหมู่เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นของประเทศแคนาดาแล้ว ผู้จัดหมู่สามารถแบ่งย่อยเลขหมู่ให้ละเอียดได้เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบ่งเป็น .A1-.A29 สำหรับเรื่องทั่วไป .A-W สำหรับแบ่งตามรัฐ และภายใต้แต่ละรัฐยังสามารถแบ่งย่อยไปถึงเมืองในรัฐนั้นๆ อีกด้วย เช่น เลขหมู่ของรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการเมือง London ในรัฐ Ontario จะเป็น JS4.052L6
JK ประวัติรัฐธรรมนูญ และการบริหาร สหรัฐอเมริกา การเมือง สิทธิของพลเมือง การแปลงสัญชาติ เอกสาร
จากตารางจำแนกเลขหมวด JK ที่ตัดตอนมานี้ JK1801.B1-7 ระบุให้แบ่งเหมือน .A1-.A7 แสดงว่าผู้จัดหมู่จะสามารถแบ่งย่อยกลุ่มเลข .B1-7 ออกไปในความหมายดังต่อไปนี้
การกระจายภายในเลขหมู่
การแบ่งย่อยด้วยวิธีนี้ จะกำหนดช่วงเลขซึ่งแต่ละเลขจะละบุลักษณะของงาน เนื้อหาวิชาหรือสถานที่ทาวภูมิศาสตร์ เพื่อให้ใช้กับเรื่องราวของประเทศต่างๆ ที่มีช่วงเลขตามที่กำหนด ผู้จัดหมู่สามารถกำหนดเลขหมู่ที่ต้องการได้โดยการกระจายเลขตามลำดับที่ระบุไว้ ตัวอย่างการกระจายภายในเลขหมู่
จากตารางจำแนกเลขหมวด JV ที่ตัดตอนมา มีการระบุให้ใช้ตารางภายในประกอบเลขหมู่ ช่วงเลข 6065-6066 ซึ่งกำหนดให้เป็นเลขหมู่สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่นออกในยุคโบราณนั้น เมื่อนำมากระจายก็จะได้เป็น JV6065 เป็นเลขหมู่สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่นออกในยุคโบราณโดยทั่วๆ ไป ส่วน JV6066 เป็นเลขหมู่สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่นออกในยุคโบราณที่เฉพาะ การกระจายเลขหมู่แบบเดียวกันนั้นก็นำมาใช้กับการย้ายถิ่นในยุคกลาง ศตวรรษที่ 17-ศตวรรษที่ 20 ด้วยเช่นกัน
JV การเข้าเมือง และการย้ายถิ่นออก การเข้าเมือง สหรัฐอเมริกา เฉพาะชนชั้น เชื้อชาติ ฯลฯ
จากตารางจำแนกเลขหมวด JV ที่ตัดตอนมานี้ จะเห็นว่า การกระจายภายในเลขหมู่นี้ยุ่งยากกว่าการกระจายภายในเลขหมู่ที่ผ่านมา แต่ละเชื้อชาติจะมีช่วงเลขให้กระจายถึง 9 จำนวน ดังนั้น หากต้องการกำหนดเลขหมู่สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับ สถิติจำนวนชาวสก็อตที่อพยพเข้าสู่สหรัฐอเมริกานั้น ก็ จะได้เลขหมู่ JV6634 และเลขหมู่ของเอกสารที่เกี่ยวกับการอพยพ เข้าสู่รัฐ Massachusetts ของชาวไอริช ปี1960 ก็คือ JV6628 .M4A2 1960
การใช้ตาราง
เป็นวิธีการแบ่งย่อยเนื้อหา หรือเรื่องราวบางอย่างซึ่งอาจเป็นไปในทำนองเดียวกันในหลายหัวข้อ เพื่อมิให้ตารางจำแนกเลขหนาเกินความจำเป็น หรือต้องพิมพ์ซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง ในหมวด J นี้มีการกำหนดเลขหมู่โดยใช้ตารางประกอบอยู่ในหมวดย่อย JK JL-JQ (ใช้ตารางร่วมกัน) JS JV JX
ตัวอย่างการใช้ตาราง
*หมายเลข (1),(2) ฯลฯ ดูตารางที่ต่อท้ายหมวด JQ
จากตารางจำแนกเลขหมวด JQ ที่ตัดตอนมานี้ จะเห็นว่า หากต้องการกำหนดเลขหมู่ของหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติรัฐธรรนูญ และการปฃบริหารของประเทศไทยแล้ว จะได้เลขหมู่อยู่ระหว่าง 1740-1749 เลขที่กำหนดในนี้มิใช่เลขที่สมบูรณ์ แต่จะต้องใช้ตารางหมายเลข 3 ประกอบ เพื่อบ่งบอกลักษณะหรือเนื้อหาเฉพาะ จากตารางที่ 3 ซึ่งเป็นตารางช่วยที่ใช้กับประเทศที่มี 10 จำนวนมาประกอบ ดัวนั้น หนังสือเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจในประเทศไทย จะได้เลขหมู่ JQ1745.A1 ซึ่งวิเคราะห์ได้ดังนี้
JQ ประวัติรัฐธรรมนูญ และการบริหารของประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกา
ออสเตรเลีย ฯลฯ
1745-A1 ตัวเลขที่แสดงว่าเป็นประวัติเกี่ยวกับการบริหารของรัฐบาลในประเทศไทย
(พิจารณาจากตารางที่ 3 ซึ่งจำแนกเนื้อหาเฉพาะและขอบข่ายลักษณะของประเทศที่มี 10
จำนวน ออกเป็น 10 หัวเรื่อง เลขที่อยู่ในช่องนี้
คือเลขที่จะนำมารวมเข้ากับเลขฐานของประเทศที่มี 10 จำนวน ประเทศไทยซึ่งมีเลขฐานเป็น
1740 เมื่อนำมารวมเข้ากับเลข 5.A1 ซึ่งระบุให้เป็นเลขของประวัติเกี่ยวกับการบริหารรัฐ
ดังนั้น หนังสือเกี่ยวกับประวัติการบริหาร รัฐกิจในประเทศไทยจึงได้เลข JQ1745.A1)
หนังสือเกี่ยวกับพรรคการเมืองในประเทศญี่ปุ่น จะได้เลขหมู่ JQ1698.A1
ซึ่งวิเคราะห์ได้ดังนี้
JQ ประวัติรัฐธรรมนูญ และการบริหารของประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกา
ออสเตรเลีย ฯลฯ
ข้อสังเกต
1.หมวด J เป็นหมวดที่มีการแบ่งย่อยตามปี (By date) การกระจายอยู่ ทั่วไปเป็นจำนวนมาก นอกจากการเติมปี ค.ศ. นี้แล้ว เลขหมู่บางช่วงต้องมีการกำหนดให้เติมทั้ง วัน/เดือน/ปี เช่น หมวดย่อย JU ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้ทรัพยากรของห้องสมุดมีเลขการะจายไม่ซ้ำซ้อนกัน
2.การกำหนดจำนวนเลขจะเป็นเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกามากจะเห็นได้ว่าหมวดย่อย ประวัติรัฐธรรมนูญ และการบริหารนั้นสหรัฐอเมริกาจะมีหมวดย่อยของตนเองทั้นหมด (JK1-9999) ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อาทิ ประเทศอังกฤษมีอยู่เพียงเป็นกว่าเลข (JN101-1589)ประเทศไทยมีใช้เพียง 10 จำนวนเท่านั้น (JQ1740-1749) ทำให้การกำหนดเลขหมู่หนังสือที่เกี่ยวกับประเทศไทยเราไม่ละเอียดพอเท่าที่ควร
ตัวอย่างหนังสือในหมวด J
การให้เลขหมู่:
ตัวอย่าง การให้เลขหมู่เล่มที่ 2
การให้เลขหมู่: