การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน : หมวด H
โครงสร้างการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หมวด H
หมวด H สังคมศาสตร์
หมวด H เป็นหมวดที่ใช้จัดหมู่สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ตารางจำแนกเลขเดิมจัดทำ โดยDr.Ronald P.Elkne และได้รับ
การแนะนำจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ต่อมา Cherles Martel และผู้ร่วมงานอีกหลายคนได้ร่วมกันเพิ่มเติมและขยายหมู่ของหมวด H ได้มีการจัดหมวด H
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ค.ศ. 1910 ครั้งที่ 2 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 3 ก็เช่นกัน แต่เมื่อมาพิมพ์ครั้งที่ 4 ค.ศ.1981 แผนกจัดหมู่และทำบัตรรายการหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
ได้แบ่งตารางจำแนกเลขเป็น 2 เล่ม เล่มแรกคือ Social Sciences: Economics ครอบคลุมหมวดย่อย H-HJ และ เล่มที่2 Social Sociology ครอบคลุมหมวดย่อย H-HX
ซึ่งได้รวมการเพิ่มเติมและการเปลี่ยนแปลงจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1980 และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังนี้
ขอบเขตของสาขาวิชาสังคมศาสตร์หมวด H
คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หมวด H ใช้เพื่อจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ แบ่งคุ่มือออกเป็น 2 เล่ม
คือ H-HJ และ HM-HX มี 16 หมวดย่อย โดยมีขอบเขต และโครงร่าง ดังต่อไปนี้
เล่มที่1 H-HJ สังคมศาสตร์-เศรษฐศาสตร์(Social Sciences:Economic)
H สังคมศาสตร์ (ทั่วไป) Social Sciences General
HA สถิติ Statistics
-ทฤษฏีและวิธีการของสถิติทางสังคมศาสตร์ องค์กร หน่วยงาน ข้อมูลสถิติทั่วไปของประเทศต่างๆ ฯลฯ
HB ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ Economic Theory
-เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น ประวัติวิธีวิทยา คณิตศาสตร์ วิธีเชิงปริมาณ เศรษฐมิติ ค่าราคา การแข่งขัน การผลิต การประกอบการ ผลกำไร วงจรธุรกิจ
HCประวัติและภาวะเศรษฐกิจ Economic History and Conditions
-ประวัติและภาวะเศรษฐกิจเฉพาะเรื่อง (เช่นมลพิษ การใช้เครื่อง
จักรกล อุปสงค์ของผู้บริโภค ฯลฯ) ภูมิเศรษฐกิจแบ่งตามภูมิภาคและประเทศ
HD ประวัติและภาวะเศรษฐกิจ (Economic History and Conditions)
- ผลผลิต การจัดการ การจัดการอุตสาหกรรม ทุน การแข่งขันและการร่วมมือ การใช้เครื่องจักรกล การควบคุมราคา วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ การแบ่งอำนาจ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมและความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ
HE การขนส่งและการคมนาคม (Transportation and Communication)
-การบรรทุก ผู้โดยสาร ภูมิศาสตร์ วิศวกรรมจราจร ถนนสำสะพาน อุโมงค์ การขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ การขนส่งด้วยเครื่องจักร เรือ บริการขนส่งทางด่วน โทรคมนาคม โทรเลข วิทยุ โทรศัพท์ฯลฯ
HF การค้า(Commerce)
-คณะกรรมการการค้า ดุลย์การค้า สินค้า นโยบายการค้า นโยบายภาษี ธุรกิจ การตลาด การขายส่ง-ขายปลีก พ่อค้าคนกลาง ห้างสรรพสินค้า การซื้อ-ขาย พนักงานเดินตลาด พนักงานขาย การจัดการและเครื่องใช้สำนักงาน จิตวิทยาอุตสาหกรรม การบริหารงานบุคคล บุคลากร การติดต่อ การติดต่อธุรกิจ พนักงานออกของท่าเรือ พ่อค้า การโฆษณา ฯลฯ
HG การคลัง (Finance)
-การเงิน การธนาคาร สินเชื่อ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การลงทุน สลากกินแบ่ง การออมทรัพย์ ประกันภัย ฯลฯ
HJ การคลังสาธารณะ (Public Finance)
-เอกสารแบ่งตามประเทศ ประวัติและภาวะการคลังสาธารณะ
รายได้-รายจ่าย งบประมาณ ภาษีอากร การบรหารและกระบวนการภา
ษีอากร ภาษีทางตรง-ทางอ้อม ศุลกากร สินเชื่อสาธารณะ หนี้ เงินกู้
การให้ยืม การเรียกคืน การทดแทน การคลังท้องถิ่น การบัญชีสาธารณะ
ฯลฯ
การแก้ไขหมวด H-HJ ครั้งที่4 มีความแตกต่างจากการพิมพ์ครั้งที่3 หลายรูปแบบ
เล่มที่2 HM-HX สังคมศาสตร์-สังคมวิทยา
HM สังคมวิทยา (Sociology)
-สังคมวิทยาทั่วไป อารยธรรม วัฒนธรรม ความก้าวหน้า เอกภาพ สมาคมทางสังคมวิทยา กลุ่มสังคม ลัทธิปัจเจกชนการดิ้นรน ปัจจัยทางสังคม การบังคับ กฎหมาย จิตวิทยาสังคม ฯลฯ
HN ประวัติและภาวะสังคม ปัญหาสังคม การปฎิรูปสังคม
-วัด โบสถ์และปัญหาสังคม ศูนย์ชุมชน ศูนย์สังคม ฯลฯ
HQ ครอบครัว การสมรส สตรี
-เพศ เพศศึกษา ทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศ รักร่วมเพศ โสเภณี ครอบครัว การสมรส บ้าน บุพการี ขนาดของครอบครัว การคุมกำเนิด การวางแผนครอบครัว พัฒนาการของเด็ก เยาวชน สตรีโสด การหย่าร้าง รัฐและสมรส สมาคมสตรี ฯลฯ
HS สมาคม สมาคมลับ สมาคมบำเพ็ญประโยชน์ ฯลฯ
-สมาคมลับ อัศวิน สมาคมบำเพ็ญประโยชน์ทางศาสนา ทางเชื้อชาติ ทางการเมือง และสโมสร ฯลฯ
HT ชุมชน ชนชั้น เชื้อชาติ
-ชุมชน กลุ่มคนในเมือง สังคมวิทยาในเมือง กลุ่มคนในชนบท สังคมวิทยาในชนบท ชนชั้นและเชื้อชาติ ฯลฯ
HV พยาธิวิทยาทางสังคม สวัสดิการสังคม และ สังคมสงเคราะห์ ทัณฑวิทยา
-องค์การกุศล กฎระเบียบรัฐเกี่ยวกับการกุศล ปัญหาผู้อพยพ การป้องกันอุบัติเหตุ การช่วยเหลือ การบรรเทาทุกข์คนพิการ คนเสื่อมโทรม คนเป็นโรคสุราเรื้อรัง ทัณฑวิทยา การติดยาเสพติด ทัณฑศาสตร์ การป้องกันอาชญากรรม ตำรวจเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทัณฑสถาน ทัณฑกรรม ฯลฯ
HX ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิอนาธิปไตย
-ลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเฉพาะต่างๆ ยูโทเปีย ลัทธิอนาธิปไตย ฯลฯ
ตัวอย่างการแบ่งหมวดย่อย
Economic History and conditions
Labor
Labor market. Labor supply and demand - Continue
5721-5851 By region or country. Table V,modified 1_/
4 nos. |
1 no. |
---|---|
(1) | .A1-5 Periodicals. Societies. Serials |
(3) | .A6AA-Z General works |
(4) | .A7-Z Local, A-Z |
วิธีการที่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันใช้ในการกำหนดเลขหมู่
หมวดH เป็นสาขาวิชาที่ครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวาง และมีการใช้วิธีกำหนดการใช้เลขหมุ่ของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันทุกวิธี ได้แก่ การกำหนดเลขหมู่โดยตรง การใช้เลขคัตเตอร์A-Z การใช้เลขคัตเตอร์สงวน การใช้เลขคัตเตอร์สงวน การใช้เลขคัตเตอร์ซ้อน การใช้เลขคัตเตอร์ตาม การแบ่งย่อยเลขหมู่แบบเดียวกันและการใช้ตาราง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การกำหนดเลขหมู่โดยตรง เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและปรากฎอยู่ทั่วไปในหมวด H ซึ่งผู้จัดหมู่สามารถเลือกเลขหมู่จากตารางจำแนกเลขภายในหมู่ที่ตรงกับลักษณะหรือเนื้อหาของทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดมาใช้ได้ทันที หลังจากที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วทราบว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ได้ตรวจเลือกเลขหมู่จากดัชนีท้ายเล่มของหมวด และได้ตรวจสอบความถูกต้องของเลขหมู่ที่ได้จากดัชนีกับตารางจำแนกเลขอีกครั้งหนึ่ง หากพบเลขหมู่นั้นก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังตัวอย่าง เช่น การขายตรงและวิจัยการตลาดในดัชนีคือ
การใช้เลขคัตเตอร์ A-Z เป็นวิธีแบ่งย่อยโดยใช้เลขคัตเตอร์ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของเนื้อหาเฉพาะ และ / หรือชื่อเฉพาะ หรือชื่อภูมิศาสตร์ เรียงตามลำดับซึ่งเป็นตัวอักษร A-Z เพื่อตามด้วยเลขอารบิค การกำหนดเลขคัตเตอร์นี้ใช้หลักเกณฑ์ตามตารางเลขคัตเตอร์ของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งในหมวด H มีทั้งที่ได้กำหนดไว้ให้แล้ว และให้กำหนดขึ้นเองตามคำสั่งที่ระบุไว้ว่าให้ใช้เลขคัตเตอร์ A-Z เพื่อแบ่งย่อยได้ตามแต่ละประเภท
การแบ่งย่อยตามเนื้อหาเฉพาะ และ / หรือชื่อเฉพาะ การใช้เลขคัตเตอร์ A-Z เพื่อแบ่งย่อยตามเนื้หาเฉพาะ และ / หรือชื่อเฉพาะมีปรากฎอยู่ทั่วไปในหมวด H ซึ่งเป็นการแบ่งย่อยที่มุ่งแบ่งตามลำดับตัวอักษร A-Z และมักจะไม่คำนึงถึงความสำคัญของเนื้อหาเฉพาะหรือชื่อเฉพาะนั้นๆ ตัวอย่างคำสั่งเช่น
ตัวอย่างการให้เลขหมู่หนังสือหมวด H
ชื่อผู้แต่ง ยนต์ ชุ่มจิต
ชื่อหนังสือ จิตวิทยาสังคม
พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์,2528.
บรรณลักษณ์ 147 หน้า
วิธีการให้เลขหมู่
สรุปว่าเลขหมู่ที่เหมาะสมกับหนังสือเล่มนี้คือ