1633106 การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ
Information Technology Dissemination
with Information Technology Tools

3 (2-2)

บริการสารนิเทศทันสมัย (Current Awareness Services)
บริการสารนิเทศประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ใช้สารนิเทศ ในปัจจุบัน ได้แก่ การให้บริการสารนิเทศทันสมัย ซึ่งหมายถึง การให้บริการความรู้ หรือพัฒนาการที่ทันสมัยในเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจ โดยเฉพาะของผู้ใช้สารนิเทศคนใด คนหนึ่ง ความสนใจนี้มักจะเกี่ยวข้องกับอาชีพและการทำงานของบุคคลนั้น อาจจะเกิดจากความสนใจที่จะนำเอาความรู้ ไปใช้ปฎิบัติงานให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรืออาจจะเกิดจากความต้องการข้อสารนิเทศ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ การให้บริการ สารนิเทศทันสมัยของศูนย์สารนิเทศ จึงมีจุดประสงค์ที่จะสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ สามารถติดตามสารนิเทศ ในเรื่องที่สนใจได้อย่างทันท่วงที (ทัศนาภรณ์ คทวณิช 2528 : 99-100) เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากสารนิเทศที่มีเพิ่มเติม อยู่ตลอดเวลาในศูนย์สารนิเทศต่างๆ ความต้องการในการรับบริการข้อสนเทศทันสมัยจึงหมายถึง การที่ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ จะอ่านสารนิเทศทุกชนิด และพิจารณาว่าจะคัดเลือกบทความบทใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานบ้าน เมื่อพบแล้วจะแจ้งไปให้ผู้ใช้ทราบแต่ละบุคคล (Whitehall 1986 : 1) ความต้องการในการรับสารนิเทศทันสมัยขึ้นอยู่กับวิธีดำเนินการให้บริการ ที่ตรงกับจุดประสงค์ของการรับบริการจากผู้ใช้สารนิเทศในเรื่องต่อไปนี้ คือ

    1. หัวข้อสารนิเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้
    2. เสนอสารนิเทศให้ทันสมัย ไม่ให้สารนิเทศที่ล่าช้า
    3. คัดเลือกสารนิเทศที่น่าสนใจที่สุด
    4. ให้สาระของสารนิเทศประกอบ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่าน
    5. บริการสารนิเทศเพื่อความสะดวกต่อการใช้ทุกรูปแบบ

การให้บริการสารนิเทศทันสมัย เริ่มเป็นที่นิยมในการให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา ช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ บริษัทเอกชนต่าง ๆ ได้จ้างนักเคมี นักวิศวกร ตลอดจนนักชีววิทยา เพื่อทำงานในและหรือเกี่ยวข้องกับห้องสมุด เพื่อให้ทำการ อ่านสารนิเทศทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในการนำมาทำการวิจัยและพัฒนาของบริษัท (Whitehall 1986 : vill) ความต้องการสารนิเทศให้ทันสมัยนี้เองจึงเป็นสิ่งที่ห้องสมุดเฉพาะและศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ จะหลีกเลี่ยงให้บริการไม่ได้

การเตรียมการให้บริการสารนิเทศทันสมัย
การให้บริการสารนิเทศทันสมัย ต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การให้บริการมักจำกัดอยู่ในเขตสาขาวิชาเฉพาะ ของแต่ละสารนิเทศนึน ๆ จึงเหมาะสำหรับศูนย์สารนิเทศเฉพาะวิชา ส่วนศูนย์สารนิเทศที่บริการสารนิเทศหลายวิชาหรือห้องสมุด โดยทั่วไป อาจพิจารณาขอบเขตหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจในการนำมาจัดทำให้บริการสารนิเทศทันสมัยได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้บรรณารักษ์หรือนักสารนิเทศควรมีวิธีการเตรียมการในการให้บริการดังต่อไปนี้ (ทัศนาภรณ์ คทวนิช 2528 : 100-101) คือ

    1. บรรณารักษ์ต้องอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ให้แก่ผู้ขอมา
    2. เนื้อหาวิชาที่ให้บริการต้องเฉพาะความต้องการ
    3. บรรณารักษ์ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ให้พร้อม สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
    4. ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้นั้น จะต้องนำออกเผยแพร่ส่งให้ผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการป้อนข้อมูลทาวิชาการให้แก่นักวิชาการ และ ผู้ใช้อยู่เสมอ
    5. มีการนำข้อมูลมาเขียนขึ้นใหม่ โดยการวิเคราะห์และสรุปเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน ที่ลงอยู่ในวารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เสนอให้แก่ผู้ใช้ เรียกว่า State of the Art เพื่อประหยัดเวลาของนักวิชาการไม่ให้ต้องอ่านเรื่องซ้ำ

การเผยแพร่สารนิเทศทันสมัย
การให้บริการสารนิเทศทันสมัย จะต้องจัดทำให้บริการตั้งแต่เมื่อห้องสมุดได้รับสารนิเทศนั้น ๆ ให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถึงมือผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว การให้บริการสารนะเฐฬทันสมัย มีการให้บริการได้หลายรูปแบบ วิธีการดังต่อไปนี้ (Blick 1986 : 15-16) จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้ใช้สารนิเทศในการทราบข่าวสารนทันสมัย คือ

    1. การแสดงวารสาร เป็นการจัดแสดงวารสารที่ได้รับใหม่ภายในในห้องสมุด ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้
    2. การหมุนเวียนวารสาร การหมุนเวียนวารสารช่วยให้อ่านสารนิเทศได้อย่างพินิจพิจารณามากยิ่งขึ้น
    3. การหมุนเวียนหน้าปกในของวารสาร ได้แก่ การถ่ายทำสำเนาหน้าปกในของวารสารที่ได้รับใหม่ให้ผู้ใช้สารนิเทศ ได้อ่านข้อมูลสารนิเทศใหม่ ๆ
    4. การให้บริการคัดเลือกสารนิเทศตามความสนใจ
    5.การผลิตเอกสารเผยแพร่ เป็นการแจ้งสารนิเทศใหม่ ๆ โดยการพิมพ์เอกสารเผยแพร่
    6. การซื้อบริการคัดเลือกสารนิเทศจากหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการได้ทราบภายในห้องสมุด ข่าวสารทันสมัยบางประเภท มีผู้จัดทำเพื่อการค้าถ้าห้องสมุดบอกรับและแจ้งให้ห้องสมุดได้ทราบก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
    7. การจัดทำกฤตภาคสารนิเทศ โดยการตัดสารนิเทศในห้อข้อวิชาต่าง ๆ ใส่แฟ้มและหมุนเวียนในการอ่าน
    8. การจัดทำดรรชนีสารนิเทศ

หน้าสารบัญ