1633106 การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ
Information Technology Dissemination
with Information Technology Tools

3 (2-2)

บริการการทำบรรณนิทัศน์ (Book Annotation Services)

บรรณนิทัศน์ หมายถึง ข้อเขียนซึ่งผู้เขียนแนะนำผู้อ่าน เกี่ยวกับหนังสือชื่อใดชื่อหนึ่ง ในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง เช่น เกี่ยวกับผู้แต่ง เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง วิธีดำเนินเรื่องหรือ แนวการเขียน เป็นต้น หรืออาจเขียนถึงในทุกแง่ทุกมุมของหนังสือเล่มนั้นก็ได้ ลักษณะของ การเขียนอาจแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนไว้ด้วย นอกเหนือจากเรื่องราวที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนั้นก็ได้

บรรณนิทัศน์มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้สารนิเทศทั่วไป นักสารนิเทศ จะเป็นผู้แนะนำหนังสือใหม่ทุกเล่ม ที่ห้องสมุดจัดหามา ให้ออกไปสู่สายตาผู้อ่านโดยนำเสนอในรูปของบรรณนิทัศน์สังเขป ผู้อ่านที่ไม่มีเวลามากมายนัก สามารถทราบเรื่องราวของหนังสือ เหล่านั้นได้ จากบรรณนิทัศน์ในขณะเดียวกันบรรณนิทัศน์เป็นสื่อในการนำไปสู่การค้นสารนิเทศที่กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป

การเขียนบรรณนิทัศน์มักเขียนขึ้นอย่างสังเขป เป็นการสรุปเนื้อหาอย่างย่อๆ การเขียนบรรณนิทัศน์แยกได้เป็น 2 อย่างคือ
1. บรรณนิทัศน์สำหรับผู้อ่าน (Reader's note) เป็นการเขียนบรรณนิทัศน์ สำหรับผู้อ่าน นิยมเขียนแบบสั้น ๆ เพื่อสรุปใจความของหนังสือ เป็นการแนะนำผู้อ่านให้ไปอ่านรายละเอียดของหนังสือต่อไป
2. บรรณนิทัศน์สำหรับบรรณารักษ์ (Librarian note) บรรณนิทัศน์ประเภทนี้ เป็นการจัดทำเพื่อแนะนำผู้อ่านอย่างละเอียดหรือเขียนขึ้น เพื่อประกอบการพิจารณาจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด การจัดทำบรรณานิทัศน์ประเภทนี้จึงมักค่อนข้างยาวและละเอียดกว่าบรรณนิทัศน์ สำหรับผู้อ่านทั่วไป
ตัวอย่าง
บรรณนิทัศน์สำหรับผู้อ่าน

    มณี พยอมพงค์. วัฒนธรรมล้านนา. 2529. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนา
      พานิช. 260 หน้า. 120 บาท.

    หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมและประเพณี วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประเพณีการเทศน์ การสวดปริศนาคำทาย และสุภาษิต ลักษณะวรรณกรรมล้านนาไทย ความเชื่อและนิทานพื้นบ้านของล้านนาไทยไว้อย่างละเอียดเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ที่กำลังจะลืมอดีตได้เข้าใจวิถีชีวิตของบรรษบุรุษของตนว่ามีความประพฤติและ แนวคิดทางจริยธรรมอย่างไร เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับความเป็นอยู่ในปัจจุบันของตน และ จะช่วยลดช่องว่างทางความคิดของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ได้อีกด้วย

    ธงชัย สันติวงษ์. การตลาดสำหรับนักบริหาร. 2525. กรุงเทพฯ : เอเวียเพรส.
      406 หน้า.

    การตลาดสำหรับนักบริหารเล่มนี้ มี 7 ตอน 20 บท ตอนที่ 1 และ 2 เป็น ความหมายและพื้นฐานของการตลาด แนวคิด ระบบและขบวนการของตลาด รวมทั้งเทคนิคการแบ่งส่วนตลาด ตอนที่ 3 ถึงตอนที่ 6 เกี่ยวกับหลักวิธีขั้นตอนต่าง ๆ และเทคนิคที่ เกี่ยวกับการผสมตลาดทั้ง 4 คือ 1. ผลิตภัณฑ์ หาร การวางแผน บวก พัฒนาระบบการจำแนกประเภท อุปสงค์ บวก อุปทาน และลักษณะของผลิตภัณฑ์ 2. โครงสร้างของการจัดจำหน่าย หาร บทบาทและระบบช่องทางการค้าส่ง บวก ปลีก และกลยุทธการแยกตัวสินค้า 3.ราคา 4.การส่งเสริมการจำหน่าย หาร กลยุทธ การโฆษณา หาร บริหารโฆษณา การขายโดยพนักงานขาย บวก การบริหารการขาย การส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ ตอนสุดท้าย การบริหารการตลาด

    กัลยาณิวัฒนา, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. แม่เล่าให้ฟัง. 2525. กรุงเทพฯ:
      กระทรวงศึกษาธิการ. 265 หน้า. ภาพประกอบ. 20.00 บาท

    เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติ ระหว่างปีพุทธศักราช 2443-2481 ของสมเด็จพระ ศรีนครินทรา บรมราชชนนี หรือ "สมเด็จย่า" ของชาวไทย ตั้งแต่แรกประสูติ จะได้รับพระราชทานยศเป็นสมเด็จพระราชชนนี ซึ่งเป็นตอนที่ยังไม่เคยทราบกันทั่วไป เป็นพระราชประวัติ ที่ชัดเจนและถูกต้องที่สุด เพราะได้เรียบเรียงจากพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงเล่าประทานแก่องค์ผู้ประพันธ์ ด้วยพระองค์เอง และผู้ประพันธ์เป็นผู้ใกล้ชิด เบื้องพระยุคลบาทมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีประวัติดั้งเดิม ของพระราชตระกูลเดิม เป็นแผนผังให้ผู้อ่านเข้าใจได้ โดยละเอียดแจ่มแจ้ง ผู้อ่านจะได้รับความรู้แปลกใหม่ เมื่อครั้งพระองค์ยังมิได้เข้ามาอยู่ในวัง จนกระทั่งได้รับทุนไปเรียนพยาบาล ณ ประเทศยุโรป และได้พบกับกรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบรมชนก หนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดรูปแบบการใช้ชีวิตแบบง่าย ๆ ประ หยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ เป็นที่น่าเทิดทูนพระองค์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้จะได้รับความรู้ด้านเนื้อหาอย่างเต็มที่แล้ว ยังประกอบด้วยภาพพระ บรมฉายาลักษณ์ สีและขาวดำ 250 ภาพ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดพิมพ์ ในโครงการสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เหมาะสมหรับเป็นหนังสือประกอบ การศึกษาค้นคว้าวิชาสังคมศึกษาและสำหรับผู้สนใจทั่วไป

    ตัวอย่าง
    บรรณนิทัศน์สำหรับบรรณารักษ์
    บรรณนิทัศน์ประเภทนี้ ผู้จัดทำส่วนใหญ่คือ สำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือจำหน่าย มักจัดทำบรรณานิทัศน์เพื่อแนะนำหนังสือ โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อหนังสือ

    Sanders, Donald H. Computers Today. 1985. 2d ed. New York :

      McGraw Hill Book. 640 pp. illus.

    This second edition of a best-selling introductory text on commputers and computing is designed for popular business data processing courses and computer literacy courses. New to this edition is material on personal computers and BASIC, plus other programming languages. Contents - Part I : Background. Introduction. Hardware. Systems and Sofware. Social Impact. Part II : Hardware. CPU. Input. Secondary Storage and Output. Micros. Minis, Mainframes and 'Monsters'. Part III : Systems and software. Data Communication. WP/EMMS. System Analysis, Design and Implementation. System software Packages. MIS. Part IV : Social Impact. System Change. Yesterday and Today. Computer Tomorrow. Part V : Programming Analysis. Languages. Programming. BASIC. More about Basic

หน้าสารบัญ