1633107 การจัดการฐานข้อมูล
Database Management

2 (1-2)


การสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม CDS/ISIS

1.ขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูล

วิธีการสร้างฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม CDS/ISIS
การสร้างฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม CDS/ISIS จะต้องประกอบด้วยโครงสร้างของฐานข้อมูล ดังต่อไปนี้

    1. การกำหนดเขตข้อมูล ( . FDT )
    2. การกำหนดแผ่นงานบันทึกข้อมูล ( . FMT )
    3. การกำหนดรูแบบการแสดงผลของข้อมูล ( . PFT )
    4. การกำหนดเขตข้อมูลในการสืบค้น ( . FST )

ขั้นตอนในการสร้างฐานข้อมูลมีดังต่อไปนี้

    1. จากหน้าจอเมนูหลัก ให้กด D ซึ่งใช้สำหรับกำหนดและปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูล
    2. จะปรากฎหน้าจอเมนูย่อย ให้กด C เป็นการกำหนดโครงสร้างฐานข้อมูลใหม่
    3. ระบบจะถามชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการสร้าง เช่น BOOK ในการกำหนดชื่อฐานข้อมูลสามารถใส่ชื่อได้ไม่เกิน 5 ตัวอักษร ถ้าเกิน ชื่อฐานจะปรากฎเพียง 5 ตัวแรกเท่านั้น
    4. การกำหนดเขตข้อมูล ( . FDT ) มีขั้นตอนการสร้างฯ 6 ส่วน ดังนี้
      4.1 หมายเลขประจำเขตข้อมูล เป็นรหัสของข้อมูล เช่น 100
      4.2 เขตข้อมูล เช่น ผู้แต่ง
      4.3 ความยาวของเขตข้อมูล เช่น ในชื่อของเขตข้อมูลเราต้องการให้มีความยาวได้ 100 ตัวอักษร ในการกำหนดความยาวของเขตข้อมูลนี้ กำหนดได้ไม่เกิน 1,650 ตัวอักษร
      4.4 ประเภทของข้อมูล ในที่นี้เป็นการให้พิมพ์ตัวอักษร 1 ตัว เช่น X หมายถึงเป็นข้อมูลที่เป็นได้ทั้งตัวเลขหรือตัวอักษร
      4.5 เขตข้อมูลซ้ำ ในที่นี้ให้พิมพ์ R หมายถึง ข้อมูลซ้ำได้
      4.6 เขตข้อมูลย่อย ในที่นี้ให้พิมพ์ abcd คือพิมพ์ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก

5. การกำหนดแผ่นงานบันทึกข้อมูล ( . FMT)
แผ่นงานบันทึกข้อมูลประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ ตามที่เราได้กำหนดไว้แล้วในขั้นตอนที่ 1 คือ โครงสร้างเขตข้อมูล ซึ่งมีขั้นตอนการสร้างทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้

      5.1 รายการเขตข้อมูลที่ต้องการสร้างแผ่นงาน เช่น 100
      5.2 ใส่ช่วงของข้อมูลที่ต้องการอยู่ว่าที่บรรทัด / คอลัมน์ เช่น 5/5 หมายความว่า ต้องการที่จะให้ข้อมูลอยู่ที่บรรทัดที่ 5 คอลัมน์ที่ 5
      5.3 กำหนดตำแหน่งของข้อมูลที่จะเริ่มให้ Key ได้ที่ใด ส่วนมากโปรแกรมจะบอกให้ เช่น 5/20 หมายความว่า ต้องการที่จะกำหนดตำแหน่งข้อมูลที่จะเริ่ม Key ให้อยู่ที่บรรทัดที่ 5 คอลัมน์ที่ 20
      5.4 กำหนดลักษณะของตัวอักษร เช่น 2 คือตัวอักษรปกติ
      5.5 กำหนดความยาวของเขตข้อมูล ในที่นี้ให้พิมพ์ S1
      5.6 กำหนดคำชี้แจงของเขตข้อมูล ในที่นี้ให้กดปุ่ม enter ผ่านไปได้เลย
      5.7 กำหนดค่าล่วงหน้า ในที่นี้ให้กดปุ่ม enter ผ่านไปได้เลยเช่นกัน
      จากนั้นกด S เพื่อบันทึกการกำหนดแผ่นบันทึกข้อมูล

6. การกำหนดรูปแบบการแสดงผลข้อมูล ( . PFT )
ในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับผู้สร้างว่าต้องการกำหนดรูป แบบการแสดงผลข้อมูลแบบใด
เช่น ต้องการให้คอลัมน์ที่ 5 แสดงตำแหน่งของ Tag 100 "ชื่อผู้แต่ง" , คอลัมน์ที่ 5 แสดงตำแหน่งของ Tag 245 "ชื่อบทความ" ซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบได้ดังนี้ .-

      mhl, c5, "ผู้แต่ง :" V100/c5,"ชื่อบทความ :"V145/
      จากนั้นให้กด F8 เพื่อบันทึกการกำหนดรูปแบบการแสดงผลข้อมูล

6. การกำหนดเขตข้อมูลในการสืบค้น มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

      7.1 กำหนด Tag ที่เป็นตัวสืบค้น เช่น 100
      7.2 กำหนดวิธีการดึงค่าข้อมูล ในที่นี้ให้ใช้ 0 หมายความว่า ดึงมาค้นทั้งหมด
      7.3 กำหนดเขตข้อมูล เช่น V100 หมายความว่ากำหนดเขตข้อมูลที่ 100 นำมาสืบค้น

หน้าสารบัญ