1633106 การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ
Information Technology Dissemination with Information Technology Tools
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

บริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ
(Selective Dissemination of Information-SDI)

บริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ เป็นบริการสารนิเทศชนิดหนึ่งที่สืบเนื่องมาจากการให้บริการสารนิเทศทันสมัย บริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศเกิดขึ้นครั้งแรกในศูนย์สารนิเทศเฉพาะโดยจัดเป็นบริการภายในหน่วยงานที่ใช้เครื่องจักรกล ในการคัดเลือกสารนิเทศใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลทุก ประเภท

นวนิตย์ อินทรามะ (2518 : 76) ให้ความหมายของการบริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศว่า เป็นการให้บริการที่ผู้ใช้บริการ แจ้งให้หน่วยบริการสารนิเทศทราบว่าผู้ใช้นั้น สนใจในวิชาใด เอกสารประเภทใด แล้วมอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะ เสาะแสวงหาสารนิเทศนั้น เอกสารหรือสารนิเทศต่าง ๆ ที่หน่วยบริการสารนิเทศได้รับจะคัดเลือกตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน แล้วแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ อาจโดยวิธีการทำสาระสังเขป ดรรชนี หรือบรรณานุกรม แต่เป็นการทำเฉพาะเอกสารที่อยู่ในความสนใจ ของผู้ใช้แต่ละคน

ความสำคัญของบริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ

ปัจจุบันศูนย์สารนิเทศและห้องสมุดต่างๆ ได้ให้บริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ ให้แก่ผู้ใช้สารนิเทศเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล จนบริการชนิดนี้ได้จัดทำเป็นการค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น การให้บริการ Automatic Subject Citation Alert (ASCA) ซึ่งมีรายละเอียดของสารนิเทศคล้ายกับ Science Citation Index(สุธันนี กี่ศิริ 2528 : 82-83) และบริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ กำลังทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พอสรุปได้ดังนี้ คือ
    1. เป็นบริการสารนิเทศที่ศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วเปรียบเทียบความต้องการหรือความสนใจของผู้ใช้ กับสารนิเทศใหม่ที่ได้รับ
    2. เป็นบริการสารนิเทศที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้ได้พัฒนาตนเองทันกับความก้าวหน้าทางวิชาการ ได้ใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย การตัดสินใจ และด้านอื่น
    3. เป็นบริการที่ช่วยประหยัดเวลาของนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยในการค้นหาข้อมูล เพราะได้ตัดทอนเอกสารที่ไม่ต้องการออกไป
    4. เป็นบริการที่มีลักษณะต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่สิ้นสุดทันที
    5. เป็นบริการที่ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดให้แน่ชัดว่าต้องการสารนิเทศรายการใด กล่าวคือ เมื่อได้รับข้อมูล ผู้ใช้อาจพอใจกับผลงาน เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะตรงกับงานที่กำลังดำเนินอยู่ หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยเรื่องใหม่ก็ได้
    6.เป็นบริการที่ประเมินผลโดยผู้ใช้ และปรับปรุงรายการความต้องการของผู้ใช้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

องค์ประกอบของบริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ

การให้บริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 4 ประการ (สุธันนี กี่ศิริ 2528 : 87) ดังต่อไปนี้ คือ
    1. การจัดทำรายชื่อสมาชิกผู้ใช้บริการ (Users Profile) การสร้างรายชื่อสมาชิกผู้ใช้บริการที่สะท้อนถึงความต้องการ จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดและมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของบริการ รายการบันทึกความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนเรียกว่า "Profile" เมื่อนำมารวมกันก็กลายเป็น "Users File" การจัดสร้าง Users Profileหมายถึง การจัดทำหัวข้อวิชาที่ผู้ใช้สนใจกำลังศึกษา หรือ ทำการวิจัยอยู่ทั้งนี้ความต้องการดังกล่าวจะต้องระบุชัดเจน แต่การวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้เป็นเรื่องค่อนข้างยากและซับซ้อน กว่าการวิเคราะห์เอกสาร ระบบการจัดหมู่หนังสือและเอกสารเหมาะกับการจัดหนังสือและเอกสารบนชั้น มากกว่าการวิเคราะห์ ความต้องการของผู้ใช้ บรรณารักษ์หรือนักสารนิเทศจะต้องศึกษาความต้องการของผุ้ใช้เพื่อคัดเลือกสารนิเทศ ได้ตรงกับความสนใจ โดยให้ผู้ใช้สารนิเทศกรอกรายการต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ทำงาน สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ ภาษาที่ใช้ หัวข้อวิชาที่สนใจ และรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อวิชาที่สนใจนั้น ๆ รายละเอียดเหล่านี้จะบันทึกไว้ในรายการบันทึกของผู้ใช้บริการแต่ละคน
    2. การสร้างแหล่งสะสมข้อมูล (Document Profile) เป็นการทำสารนิเทศ ต่างๆในศูนย์สารนิเทศมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อเตรียมการบริการแก่ผู้ใช้ เรียกว่าเป็นการสร้างฐานข้อมูล ตามวิธีการการจัดเก็บสารนิเทศและเรียกใช้สารนิเทศ การให้หัวเรื่องของ สารนิเทศควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้เพื่อประโยชน์ในการใช้หัวเรื่องร่วมกัน
    3. การเปรียบเทียบเพื่อคัดเลือกสารนิเทศ (Comparion or Matching) เมื่อได้ระยะเวลาที่กำหนดในการให้บริการเช่น เดือนละครั้ง หรือเดือนละสองครั้ง ศูนย์ สารนิเทศที่ให้บริการจะนำรายชื่อผู้ใช้บริการที่ระบุความต้องการสารนิเทศไว้แล้วมาเปรียบ เทียบกับฐานข้อมูลที่เป็นสารนิเทศที่ได้รวบรวมไว้ในระยะเวลาหลังสุดเพื่อค้นหาสารนิเทศที่ผู้ใช้ต้องการ ในการคัดเลือกสารนิเทศ จะต้องพยายามเลือกให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ไม่ให้กว้างหรือแคบจนเกินไป
    4. การติดต่อกับสมาชิกผู้ใช้บริการ (Notification) เมื่อทางศูนย์สารนิเทศได้ดำเนินการคัดเลือกสารนิเทศตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้สารนิเทศแล้ว ศูนย์สารนิเทศ หรือผู้ให้บริการจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการได้ทราบโดยรวดเร็ว โดยทั่ว ๆไปแล้ว ผู้ให้บริการ มักจัดส่งเฉพาะรายละเอียดทางบรรณานุกรมหรืออาจระบุหัวเรื่องเฉพาะ และสาระสังเขปด้วย เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้พิจารณาคัดเลือก สารนิเทศที่ต้องการแล้วจัดส่งในรูปเล่มหนังสือ เอกสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ภายหลัง

ตัวอย่าง
ห้องสมุดที่ให้บริการในประเทศไทย
กองสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ

เริ่มให้บริการ SDI เมื่อปี 2526 โดยใช้ฐานข้อมูลเพียงแห่งเดียว คือ Chemical Abstracts ซึ่งเป็นสาระสังเขปทางเคมีและวิศวกรรมเคมี ให้บริการแก่ผู้ใช้ ห้องสมุดที่ไม่มีเวลาเข้าใช้ห้องสมุดได้เป็นประจำ ผู้ใช้จะแจ้งความต้องการเป็นการส่วนตัวไว้ล่วงหน้า เมื่อห้องสมุดได้รับ Chemical Abstracts ฉบับใหม่ บรรณารักษ์จะถ่ายเอกสารในห้วข้อที่ผู้ใช้ต้องการไปให้

ศูนย์บริการเอกสารวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

บริการ SDI จัดรวมอยู่ในบริการข้อสนเทศที่ทันสมัย โดยห้องสมุดจะทำการศึกษาแนวโน้มความสนใจของผู้ใช้ในปัจจุบันว่า สนใจหัวข้อวิชาใด แล้วรวบรวมรายการสารนิเทศของแต่ละหัวข้อวิชาไว้ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน นอกจากนี้ผู้ ใช้ภายใน อาจแจ้งความต้องการไว้ล่วงหน้า เมื่อห้องสมุดได้รับเอกสารใหม่ที่ตรงกับความต้องการ ก็จัดส่งไปให้ฐานข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ Technical Files ซึ่งเป็นข้อสนเทศใหม่ที่ห้องสมุดได้รับ

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2009