1633106 การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ
Information Technology Dissemination with Information Technology Tools
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***

การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ

คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบน WWW

กลยุทธ์ในการวางแผนในการสืบค้นข้อมูลบน WWW (Web Search Strategy)

การสืบค้นข้อมูล WWW หากมีการวางแผน หรือวางกลยุทธ์ในการสืบค้นเสียก่อนจะช่วยให้ผลการสืบค้นถูกต้องตามที่ต้องการและใช้เวลา อันสั้น การสืบค้นแบบ Key Word Searching ควรมีกลยุทธ์ซึ่งอาจแบ่งขั้นตอนในการเตรียมตัวได้ 6 ขั้นตอน คือ

    1. การตั้งหรือกำหนดคำถามและขอบเขตของคำถามนั้น (Formulate the Question) คือ ผู้ที่ค้นต้องมีหัวข้อ ลักษณะ ประเภท วัตถุประสงค์ และระยะเวลาของสารสนเทศที่ต้องการชัดเจน เช่น คำถามเกี่ยวกับฮิตเลอร์เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไร ข้อมูลที่ต้องการได้คือต้องการ ให้เป็นลักษณะบทความหรือหนังสือที่เหมาะสำหรับนักเรียนระดับมัธยม เพื่อประกอบการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์โลก เป็นต้น


    2. การจำแนกแนวคิดในคำถามนั้น ๆ (Identify the Important Concepts) ให้ออกมาเป็นส่วน ๆ โดยอาจใช้ตารางในการกำหนดเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ เช่น ตัวอย่างคำถามต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น เราสามารถแยกประเด็นหลักของคำถามที่ได้ 3 หัวข้อ คือ Japan, export และ electronics อาจนำใส่ตารางเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น
    3. การกำหนดคำค้น หรือการแปลคำถามที่ต้องการสืบค้นออกมาเป็นคำค้นให้ถูกต้อง (Identify Search Terms) เป็นจุดสำคัญมากที่จะช่วย ให้การสืบค้นได้ผลถูกต้องในขั้นแรก นอกจากคำหลักแล้วควรกำหนดคำค้นที่มีรูปแบบผันแปรตามหลักภาษาด้วย เช่น Synosyms คือ คำพ้องความหมายเดียวกัน
      คำว่า buy มีคำพ้อง order, purchase
      คำว่า alien มีคำพ้อง ufo
      English dialects คือ ภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น เช่น
      color หรือ colour
      catalog หรือ catalogue
      Truncation คือ คำที่มีรากศัพท์ชุดเดียวกันแตกต่างกันที่ตัวอักษรที่เชื่อมต่อด้านหลัง เช่น
      Prevent -
        prevention
        prevents
        prevented
        preventing ect

      child -
        children
        chilhood ect

    4. การเชื่อมคำ (Combining Search Terms) หมายถึง เป็นการระบุให้กลุ่มคำที่เราต้องการสืบค้นให้มีความสัมพันธ์กันโดยมีตัวเชื่อมต่าง ๆ เช่น Phrase Searching คือกลุ่มคำ หรือวลี ที่ปกติมักไปด้วยกันเป็นกลุ่มตามลำดับที่ ระบุตัวอย่างเช่น
      World Health Organization
      Real Estate
      Fiber Optics
      Boolean Searching คือตัวเชื่อม AND, OR, NOT เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำที่เราต้องการสืบค้น
        AND เป็นการเชื่อมคำที่ทุก ๆ คำต้องปรากฎขึ้นมาในเอกสารฉบับเดียวกันเป็นการระบุการสืบค้นให้แคบลง
        OR เป็นการเชื่อมคำที่คำใดคำหนึ่งหรือทั้งหมดให้ปรากฏขึ้นมา เป็นการขยายการสืบค้นให้กว้างขึ้น
        NOT เป็นการเชื่อมคำโดยให้ลบคำที่ระบุหลัง not ออกจากเอกสารชุดนั้น

      ตัวอย่าง :-
      children AND television AND violence
      หมายความว่า ต้องการเอกสารที่เกี่ยวกับความรุนแรงในโทรทัศน์ที่มีผลต่อเด็กjournalism AND ethics AND censorship
      หมายความว่า ต้องการเอกสารที่เกี่ยวกับการตรวจสอบจริยธรรมของหนังสือพิมพ์
      (women OR females) AND networking
      หมายความว่า ต้องการเอกสารที่เกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือของผู้หญิง

    5. การเลือกใช้ Search Engines หรือ Web Pages Databases ดังที่ได้แสดงรายละเอียดของ Search Engines แต่ละประเภทแต่ละชื่อให้ทราบแล้ว ควรตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใช้ Search Engines ชื่อใด
    6. ทำการสืบค้น และประเมินผลข้อมูลที่ได้รับปกติผลจะให้แตกต่างกันไป แต่ควรตรวจสอบไม่เกิน 50 อันดับแรกที่ส่งมาให้ อาจทำการแก้ไขโดยการสืบค้นใหม่หากผลที่ได้ไม่ถูกต้อง

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2009