1633106 การเผยแพร่สารนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารนิเทศ
Information Technology Dissemination
with Information Technology Tools

3 (2-2)

ความหมายของคำว่า information
Main Entry: information
Function: noun
Date: 14th century

1 : the communication or reception of knowledge or intelligence
2 a (1) : knowledge obtained from investigation, study, or instruction (2) : INTELLIGENCE, NEWS (3) : FACTS, DATA b : the attribute inherent in and communicated by one of two or more alternative sequences or arrangements of something (as nucleotides in DNA or binary digits in a computer program) that produce specific effects c (1) : a signal or character (as in a communication system or computer) representing data (2) : something (as a message, experimental data, or a picture) which justifies change in a construct (as a plan or theory) that represents physical or mental experience or another construct d : a quantitative measure of the content of information; specifically : a numerical quantity that measures the uncertainty in the outcome of an experiment to be performed
3 : the act of informing against a person
4 : a formal accusation of a crime made by a prosecuting officer as distinguished from an indictment presented by a grand jury

ความหมายของงานบริการสารนิเทศ

งานบริการสารนิเทศ เป็นงานที่มีพัฒนาการมาจากงานบริการ ของห้องสมุด เพราะแต่เดิมการให้บริการสารนิเทศทุกชนิด เป็นหน้าที่ของห้องสมุด ขอบเขตการให้ บริการจึงกว้างขวาง สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ (2521 : 56) ให้ความหมายงานบริการ คือ งานห้องสมุดที่จะอำนวยความสะดวก แก่ผู้ใช้บริการ เริ่มจากการสร้างบรรยากาศ ให้เชิญชวนผู้คนให้สนใจเข้าใจห้องสมุด การจัดสถานที่ให้สวยงามมีระเบียบ การ ตกแต่งห้องสมุดด้วยดอกไม้ ไม้ประดับ หรือเคาน์เตอร์ให้ดูสดชื่น ชั้นหนังสือเป็น ระเบียบ หนังสือไม่ฉีกขาด และมีการจัดบริการด้านต่าง ๆ อาทิ งานบริการจ่าย-รับ บริการหนังสือเอง บริการตอบคำถาม และช่วยการศึกษาค้นคว้า บริการแนะนำการอ่าน บริการปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด บริการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด และบริการ จัดทำรายชื่อหนังสือประกอบรายวิชาต่าง ๆ ความหมายของงานบริการสารนิเทศ (Information service) จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของงานบริการห้องสมุด เป็นงานที่เน้น โดยตรงในการจัดให้ผู้ใช้ได้รับ สารนิเทศที่ถูกต้องสมบูรณ์ และตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้มากที่สุด (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ 2526 : 16)

สมาคมห้องสมุดอเมริกัน ได้ระบุขอบเขต และความหมาย ของบริการ สารนิเทศไว้ดังนี้ (American Library Association 1976 : 973-974) คือ บริการประกอบด้วยการช่วยเหลือ เป็นส่วนบุคคล ซึ่งจัดให้แก่ผู้ใช้ในการติดตาม หาสารนิเทศลักษณะ และขอบเขตของบริการ จะแตกต่างไปตามประเภท ของห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ผู้ใช้ สารนิเทศได้รับการฝึกอบรมทางวิชาชีพ จัดหาทรัพยากรสารนิเทศทั้งที่มีอยู่ ภายใน และภายนอกของสถาบันสารนิเทศ บริการสารนิเทศอาจมีตั้งแต่ตอบคำถาม ง่าย ๆ จนถึงขั้นการให้สารนิเทศที่ได้ จากการค้นบรรณานุกรม ลักษณะของการบริการ สารนิเทศจากผู้จัดการ ในเรื่องสารนิเทศโดยตรง

หนังสืออ้างอิง

    นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. (2526, มกราคม-มีนาคม).
      บริการสารสนเทศ: ความหมายและประเภท. วารสารห้องสมุด. 27, 17-23.
    สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. (2521). บรรณารักษศาสตร์ภูมิหลัง.
      กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
    American Library Association. (1976, April 15). Commitment to
      information services. Library Journal. 101, 973-974.

หน้าสารบัญ