1631303 บริการอ้างอิงและสารสนเทศ
Reference and Information Services
3 (2-2)
หนังสืออ้างอิง
ปรีชานึกรักห้องสมุดประชาชนตำบลสูงไผ่อย่างจับใจ ทุกครั้งที่มานั่งอ่าน เขา มีความรู้สึกรักและภูมิใจในถิ่นเกิด เขาโชคดีที่มีห้องสมุดขนาดเล็กอยู่ในหมู่บ้าน หนังสือมี
ไม่มากนักแต่สามารถตอบคำถามผู้ใช้บริการได้อย่างกว้างขวาง คุณสุรศักดิ์ ผู้ซึ่งเป็น บรรณารักษ์ที่นี่กล่าวกับเขาว่า
"คุณปรีชาคงเคยใช้หนังสือต่างๆ มาจากห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมา แล้ว คงเห็นความแตกต่างได้นะครับ ว่าห้องสมุดประชาชนที่นี่เปรียบไม่ได้เลยกับห้องสมุด
วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย แต่เราพยายามหาทางแก้ปัญหา โดยการสะสม หนังสืออ้างอิงที่อ่าน ง่ายและดีสำหรับประชาชน คุณปรีชาก็คงเห็นด้วยใช่ไหมครับ "
เขายอมรับความเป็นแหล่งข้อมูลของห้องสมุดประชาชนแห่งนี้เพราะเขารู้ ถึงประเภทของหนังสืออ้างอิงที่ให้คำตอบ แก่ผู้ใช้ได้อย่างมหาศาล ต้องขอขอบคุณอาจารย์
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์จากสถานศึกษาที่เขาจบออกมา เพราะเขาได้ใช้ข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสืออ้างอิงเป็นแหล่งวัตถุดิบในการเขียนหนังสือของเขา
เขาระลึกได้ว่า อาจารย์บรรณภพ กล่าวถึงหนังสืออ้างอิงว่า "หนังสืออ้างอิง คือ หนังสือประเภทหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาคำ ตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยไม่ต้องอ่านหมดทั้งเล่ม หนังสืออ้างอิง มีลักษณะทั่วไปดังนี้
1. เป็นหนังสือที่มุ่งให้ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงที่สำคัญ
2. เขียนโดยผู้ทรงวุฒิในเฉพาะสาขาวิชา
3. รวบรวมความรู้ไว้หลายสาขาวิชา
4. เรียบเรียงเนื้อหาไว้อย่างมีระบบ สะดวกแก่การใช้
5. ส่วนมากมีรูปเล่มขนาดใหญ่ มีหลายเล่มจบ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอ่าน ตลอดเล่ม อ่านเฉพาะตอนที่ต้องการ
ปรีชาเดินสำรวจหนังสือซึ่งอยู่ภายในห้องสมุดประชาชนตำบลสูงไผ่อย่างพินิจ พิจารณา ภายในอาคารไม้ชั้นเดียวขนาด 2 ห้องเรียน ได้รวบรวมหนังสือไว้ทั้งหมด ประมาณ
3,000 เล่ม มีอยู่ชั้นหนึ่งเขียนไว้ว่าเป็นชั้นหนังสืออ้างอิง เขาลองสำรวจ อย่างหยาบๆ คาดคะเนว่ามีหนังสืออ้างอิงอยู่เกือบ 400 เล่ม ซึ่งนับว่าเพียงพอต่อ
การใช้บริการได้ดีทีเดียว
"เวลาจะค้นข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการเขียนรายงาน เพื่อการค้นคว้า ในสิ่งที่สงสัยหรือยังไม่มีข้อมูล ขอให้นึกถึงหนังสืออ้างอิงซึ่ง แบ่งได้ดังนี้
1. พจนานุกรม (Dictionary)
2. สารานุกรม (Encyclopedia)
3. หนังสือรายปี (Yearbook) และสมพัตสร (Almanac)
4. อักขรานุกรมขีวประวัติ (Biographical Dictionary)
5. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources)
6. นามานุกรม (Directory)
7. บรรณานุกรม (Bibliography)
8. ดรรชนีวารสาร (Periodical Index)
9. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Governmemt Publication)
10. หนังสือคู่มือ (Handbook or Manual)
" ถ้าเธอนึกถึงหนังสืออ้างอิงได้ตลอด ครูคิดว่าเธอสามารถแก้ปัญหาเรื่องหนังสือมี น้อยเกินไปภายในห้องสมุดแห่งนั้นๆ ได้" อาจารย์บรรณภพเคยกล่าวไว้
จริงซินะ ปรีชาคิด เวลาเขาติดขัดเรื่องความหมายของคำ หรือ คำแปลจาก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เขาต้องนึกถึงหนังสือ ประเภทพจนานุกรมทุกครั้ง เขามักค้นความ
หมายของคำต่างๆ จากหนังสือพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และถ้าหากเขาต้องการข้อมูลในทุกสาขาวิชา หรือในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งก็ได้ เขามัก
นึกถึงสารานุกรมขึ้นมาทันที และภายในห้องสมุดประชาชนสูงไผ่แห่งนี้มีหนังสือชุด สารานุกรม โลกของเรา, สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ World Book
Encyclopedia
"อาปรึชาครับ ครูของจ้อยให้จ้อยทำรายงานเรื่องพันธุ์ควาย จ้อยจะไปรู้ ได้อย่างไรว่าควายมันจะมีกี่พันธุ์ฮะ," จ้อยเคยถามเขาเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาหัวเราะพลางตอบว่า
"รู้ได้ซี จ้อยเปิดดูที่หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ที่ห้องสมุดโรงเรียน หรือที่ห้องสมุดประชาชนสูงไผ่ก็ได้ หนังสือสารานุกรมจะช่วยตอบคำถามได้"
ในช่วงเวลาเรียนในรายวิชาต่างๆ ซึ่งต้องการข้อมูลปัจจุบัน ต้องการข้อมูล ทางตัวเลข ต้องการทราบความเป็นไปของบ้านเมือง ปรีชาอดคิดถึงหนังสือรายปี เช่น
สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ไม่ได้ เขาเป็นหนี้บุญคุณเล่มนี้มาก เพราะเป็นหนังสือรายปีที่ออกเป็นรายสัปดาห์ เป็นหนังสือรายปีที่รายงาน ประมวล
แปลสรุป สาระของข่าว รวบรวมข้อมูล สถิติ และเหตุการณ์ทั้งในและนอกประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา
ปรีชาสำรวจหนังสืออ้างอิงต่อไป พบว่ามีหนังสือชื่อ ใครเป็นใครในวงการธุรกิจ เขาหยิบขึ้นมาดู พบรายชื่อและประวัติย่อๆ ของนักธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย
เขารู้ว่าหนังสือประเภทนี้ คือ อักขรานุกรมชีวประวัติ สมัยเขาเรียน อาจารย์บรรณภพ ได้แนะนำไว้หลายเล่ม เช่น ใครเป็นใครในประเทศไทย และทำเนียบนามนักธุรกิจ
เป็นต้น
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่งที่ทำให้เขาอดนึกขำเรื่องการทายปัญหาประเทศ อะไรเอ่ย ระหว่างจ้อยกับจิ๊บไม่ได้ ท่าทางของเด็กทั้ง
สองเวลาแข่งขันกันหาชื่อเมืองต่างๆ ในแผนที่โลก เต็มไปด้วยความกระตือรือล้นและ ความเกเรแบบเด็กๆ ที่ไม่ยอมแพ้ซึ่งกันและกัน
เขาแนะนำจ้อยให้รู้จักหนังสือประเภทนี้ว่า แบ่งได้เป็น 3 หมวด คือ
1.อักบรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือให้รายละเอียดของเมือง ประเทศ หมู่เกาะ ทะเลสาบ และสถานที่อื่นๆ เช่น อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ
Lands and People เป็นต้น
2.หนังสือแผนที่
3.หนังสือนำเที่ยว เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับประเทศ ภูมิภาค หรือสถานที่ต่างๆ เป็นคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น หนังสือรักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย และ เที่ยว
73 จังหวัด เป็นต้น
ปรีชาผ่านสายตาของเขาอย่างรวดเร็ว พบว่าที่ห้องสมุดประชาชนสูงไผ่มี หนังสืออ้างอิงประเภท นามานุกรม บรรณานุกรมน้อย แต่มีสิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นจำนวน
มากซึ่งคุณสุรศักดิ์กล่าวว่า ได้มาจากการเขียนหนังสือไปถึงฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองต่าง ๆ ในกระทรวงต่าง ๆ ทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายไปได้มาก
"ผมไม่อยากซื้อมากครับ เพราะคุณปรีชาก็คงเห็นแล้วว่าเราใช้ประโยชน์ได้ น้อยเพราะหนังสือประเภทนี้มักพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ บรรณานุกรมบางเล่ม ผู้ใช้ก็ไม่
สามารถหาหนังสือตัวจริงได้ นอกจากจะไปค้นต่อที่กรุงเทพ ผมก็เลยให้มาหาผมโดยตรงถ้า หากต้องการค้นข้อมูลเฉพาะเรื่อง," คุณสุรศักดิ์ บรรณารักษ์หนุ่มกล่าวกับเขา
หน้าสารบัญ