1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย

พัฒนาการการศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์ในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นมาจากการเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเปิดสอนที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. 2494 เป็นการสอนวิชาการจัดห้องสมุด ในลักษณะการศึกษาพิเศษในตอนเย็นของคณะอักษรศาสตร์ ผู้สอนเป็นอาจารย์ชาวอเมริกันซึ่งมูลนิธิฟุลไบร์ทเป็นผู้จัดส่งมาช่วยสอน ปีละ 1 คน เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน คือ พ.ศ. 2494-2499 (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2518 : 1-2) จากการได้รับความนิยมจากผู้เรียนและเป็นการ พัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย คณะอักษรศาสตร์ได้เสนอขอจัดตั้งแผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์เมื่อปีการศึกษา2498 และเปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ในชั้นอนุปริญญาเป็นปีแรก (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2530 : 1) การเปิดสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาเป็นลำดับ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรหลายครั้ง จนกระทั่งพัฒนาหลักสูตรวิชาสารนิเทศศาสตร์เป็นวิชาเฉพาะโดยตรง ในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และเป็นรายวิชาเลือกในระ ดับปริญญาตรีและปริญญาโท

ในช่วงปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยหลายแห่งรวมทั้งวิทยาลัยครูที่เปิดสอนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ได้ปรับปรุงหลักสูตร หรือเพิ่มหลักสูตรใหม่โดยเน้นทางสารนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีมีการปรับปรุงเปิดวิชา สารนิเทศศาสตร์เป็นวิชาเอกโดยตรง ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2532 วิทยาลัยครูหลายแห่งได้ใช้หลักสูตรวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ทำการสอนในระดับศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ) ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 เช่นเดียวกัน

มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์เป็นวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ในสถาบันวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระดับปริญญาโท มีการเพิ่มเติมรายวิชาทางสารนิเทศศาสตร์อย่างมาก เพื่อ สนองความต้องการกำลังคนทางด้านสารนิเทศศาสตร์ และมีการเปิดสอนหลัสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาสารนิเทศศาสตร์ โดยเฉพาะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 แต่ระงับการเปิดสอนและจะเปิดใหม่ในปีการศึกษา 2532 เป็นต้นไป

สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทยที่ได้เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ได้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาสารนิเทศศาสตร์ เป็นวิชาเลือกในหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ ในหลายสถาบันได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นวิชาสารนิเทศศาสตร์โดยเฉพาะ ดังเช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้เริ่มสอนหลักสูตรวิชาสารนิเทศศาสตร์ในปีการศึกษา2532 เป็นปีแรก

ระดับการศึกษาและสถาบันที่เปิดสอน

การศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์ยังคงเป็นการศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์ โดยแบ่งระดับการศึกษาได้เป็น 3 ระดับคือ

การศึกษาระดับปริญญาตรี

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาสารนิเทศศาสตร์โดยเปิดสอนเป็นวิชาเลือกและวิชาพื้นฐานในระดับปริญญาตรี (อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์ 2531 : 99 ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2529 : 9) มีดังต่อไปนี้ คือ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2502 ถึงปัจจุบัน ในคณะอักษรศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ อ.บ.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 ถึงปัจจุบัน ในคณะศิลปศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2511 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2518 ถึงปัจจุบัน ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2524 ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2526 ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.บ.
    มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ในคณะอักษรศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ อ.บ.
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.
    วิทยาลัยครู เปิดสอนในหลักสูตร 2 ปี และ 4 ปี ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ค.บ. และ ศศ.บ.
    มหาวิทยาลัยหอการค้า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 ในคณะมนุษยศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.บ.

การศึกษาระดับปริญญาโท

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาสารนิเทศศาสตร์โดยเปิดเป็นวิชาเลือกและวิชาพื้นฐานในระดับปริญญาโท มีดังต่อไปนี้คือ
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะอักษรศาสตร์ เปิดสอนเป็นแห่งแรก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต บรรณารักษ์ที่มีความสามารถมี การศึกษาในด้านวิชาการชั้นสูง ออกไปปฎิบัติงานในห้องสมุดทุกประเภท และเป็นการผลิตอาจารย์ วิชาบรรณารักษศาสตร์ให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนอีกด้วย
    ปริญญาที่ได้รับ คือ อ.ม.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2510
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.ม.
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เปิดสอนในปีการศึกษา 2525
    ปริญญาที่ได้รับ คือ กศ.ม. และ ศศ.ม.
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอนบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์ ในการปีการศึกษา 2529 ในคณะศิลปศาสตร์
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.ม.
    สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2543
    ปริญญาที่ได้รับ คือ ศศ.ม. ฒฝนสฬ

การศึกษาระดับประกาศนียบัตร

สถาบันที่เปิดสอนวิชาสารนิเทศศาสตร์ โดยเปิดเป็นวิชาเอกโดยตรงเป็นแห่งแรกรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโท ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2532 เป็นต้นไป ปริญญาที่ได้รับคือ ประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตรการศึกษาและรายวิชาสารนิเทศศาสตร์ที่เปิดสอนในปัจจุบัน

ระดับปริญญาตรี

การศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย เป็นการศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์ทั่วๆไป หลักสูตรการศึกษามีความแตกต่าง กันออกไปในแต่ละสถาบันและระดับของการศึกษามีเพียงในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ ระดับประกาศนียบัตรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่เปิดสอนสาขาวิชาสารนิเทศศาสตร์โดยตรง

หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ที่เปิดสอนอยู่ในภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต และวิชาเลือก34 หน่วยกิตรวมเป็น 52 หน่วยกิต (Chulalongkorn University 1986 : 73-74) รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์พอสรุปได้ดังต่อ ไปนี้

วิชาบังคับ

    118240 แหล่งสารนิเทศและการบริการ

วิชาเลือก

    118315 การสื่อสารเบื้องต้นในห้องสมุด
    118478 เทคโนโลยีในห้องสมุด

หลักสูตรสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบได้ด้วยการเรียนในวิชาเอก จำนวน 62 หน่วยกิต เป็น วิชาบังคับ 32 หน่วยกิต (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2531 : ศศ. 14-ศศ. 22) มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์

    บ. 429 ความรู้เบื้องต้นทางสนเทศศาสตร์

วิทยาลัยครู กรมการฝึกหัดครู เป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญที่เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์โดยได้เปิดสอนที่วิทยาลัยครู บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นแห่งแรก เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ 1 ปี สำหรับผู้ที่จบ ป.กศ. ต้น มศ. 5 หรือเทียบเท่า ได้เปิดสอนอยู่ 5 ปี และเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปิดสอนในหลักสูตร ป.กศ. ชั้นสูง บรรณารักษศาสตร์ (ฉวีวรรณ คูหาพิทักษ์ 2529 : 182- 183) และวิทยาลัยครูอื่น ๆ ทั่วประเทศได้เปิดสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ตามหลักสูตรที่ได้ รับอนุมัติให้เปิดสอน

หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ที่เปิดสอนในวิทยาลัครูทั่วประเทศ ขณะนี้เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ทั้งสายวิชาชีพครู และสายมนุษยศาสตร์ ในระดับ 2 ปีหลัง และระดับ 4 ปี ครั้งล่าสุดมีการปรับปรุงหลักสูตรสายมนุษยศาสตร์ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศในระดับปริญญาตรี เป็นโปรแกรมวิชาที่เน้นความสำคัญของการเรียนวิชา สารนิเทศศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมข่าวสาร ได้กำหนดจุดประสงค์เฉพาะสำหรับผู้เรียน เพื่อเน้นให้เป็นบรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศ และเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ที่ได้รับนำไปพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการในระดับสูงขึ้นต่อไป (กรมการฝึกหัดครู 2531 : 35)

โครงสร้างของหลักสูตรประกอบไปด้วยการเรียนรวม 140 หน่วยกิต แบ่งเป็นหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป 32 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะด้าน 102 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะด้าน จำนวน 102 หน่วยกิต เป็นการเรียนในวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ กำหนดเป็นวิชาบังคับ 50 หน่วยกิต วิชาเลือก 26 หน่วยกิต และวิชาวิทยาการจัดการ 16 หน่วยกิต

เมื่อพิจารณาดูรายชื่อวิชาที่เรียนแล้ว ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้รายวิชาสารนิทศศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง มากกว่าหลักสูตร ในสถาบันวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์อื่น ๆ ใน ระดับปริญญาตรีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์ มีดังต่อไปนี้ (กรมการฝึกหัดครู 2531 : 36-44) คือ

วิชาบังคับ

    3192602 การใช้คอมพิวเตอร์ด้านห้องสมุด
    2633106 ความรู้เบื้องต้นทางสารนิเทศศาสตร์
    2633107 ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารนิเทศ
    2631202 การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
    2632303 การบริการทางบรรณานุกรม
    2633310 ดรรชนีและสาระสังเขป
    2631311 บริการอ้างอิงและสารนิเทศ 1
    2633312 บริการอ้างอิงและสารนิเทศ 2
    2634517 การอ่านทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

วิชาเลือก

    2633108 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารนิเทศ
    2633410 แหล่งสารนิเทศและอ้างอิง
    2634518 การอ่านทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศสาสตร์ 2
    3191101 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
    3192314 โปรแกรมสำเร็จรูป
    2633110 ไทยสารนิเทศ
    2633111 ระบบเผยแพร่สารนิเทศด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยหลายแห่งได้เปิดทำการสอนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี ได้เห็นความสำคัญต่อการบรรจุรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ สารนิเทศในรายวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ ดังเช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กำหนด วัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ข้อหนึ่งว่า เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพในการบริหารและบริการ สารนิเทศให้แก่ภาครัฐบาลและเอกชน กำหนดให้เรียนวิชาบังคับ 26 หน่วยกิต และวิชาเลือกอีก 19 หน่วยกิต รวมเป็น 45 หน่วยกิต (มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย 2530 : 123-125) รายวิชาในระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์ มีดังต่อไปนี้
    มศ. 4706 ความรู้เบื้องต้นทางสนเทศศาสตร์
    มศ. 2743 แหล่งสนเทศทางธุรกิจ
    มศ. 3746 ระบบสนเทศเพื่อการจัดการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นับเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต แขนงวิชาสารนิเทศศาสตร์โดยตรง เป็นหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี วิชาเอกสารนิเทศทั่วไป และวิชาเอกสารนิเทศสำนักงาน ได้ตั้งวัตถุประสงค์ในการจัดหลักสูตร (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2531 : 2) ดังนี้ คือ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ในการจัดการข้อมูลข่าวสารในหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร ศูนย์ข้อมูล สถิติ และสารนิเทศในสำนักงานทั่วไป เพื่อยกสถานภาพของผู้ปฎิบัติงานสารนิเทศให้เป็นที่ยอมรับทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน และเพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางสารนิเทศศาสตร์และ เทคโนโลยีสารนิเทศ

หลักสูตรประกอบไปด้วยการเรียนรายวิชารวมทั้งหมด13 ชุดวิชา 72 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างของหลักสูตร (ชุติมา สัจจานันท์ 2530 : 58-59) ดังต่อไปนี้ คือ

วิชาเอกสารนิเทศทั่วไป
ชุดวิชาพื้นฐานทั่วไป

    10151 ไทยศึกษา

ชุดวิชาแกน

    22222 การอ่านภาษาอังกฤษ

ชุดวิชาเฉพาะ

    13201 สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น
    13202 การสื่อสาร
    13311 การพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ
    13312 การวิเคราะห์สารนิเทศ
    13313 การบริการและเผยแพร่สารนิเทศ
    13314 การวางแผนและการบริหารระบบสารนิเทศ
    13411 สารนิเทศลักษณะพิเศษ
    13412 แหล่งสารนิเทศทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    13401 ประสบการณ์วิชาชีพสารนิเทศศาสตร์

ชุดวิชาเลือกเสรี

เลือกจากชุดวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของสาขาวิชาศิลปศาสตร์หรือ ของสาขาวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอีก 1 ชุดวิชา

วิชาเอกสารนิเทศสำนักงาน
ชุดวิชาพื้นฐาน

    10151 ไทยศึกษา

ชุดวิชาแกน

    10202 การอ่านภาษาไทย
    22222 การอ่านภาษาอังกฤษ

ชุดวิชาเฉพาะ

    13201 สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น
    80204 เศรษฐกิจกับการเมืองไทย
    13321 การเขียนเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
    13323 การบริหารการเงินและการบริหารการปฏิบัติการ
    13421 งานสำนักงานและการประชาสัมพันธ์
    13401 ประสบการณ์วิชาชีพสารนิเทศศาสตร์

เลือก 1 ชุดวิชา จากชุดวิชาต่อไปนี้

    10203 พฤติกรรมมนุษย์
    13202 การสื่อสาร
    13422 พฤติกรรมองค์การและการจัดการตลาด

และเลือก 1 ชุดวิชา จากชุดวิชาต่อไปนี้

    60120 หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
    13322 การบัญชีและกฎหมายธุรกิจ

ชุดวิชาเลือกเสรี

เลือกจากชุดวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรีของสาขาวิชาศิลปศาสตร์หรือ ของสาขาวิชาอื่นที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรทั้งสองวิชาเอก แขนงวิชาสารนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และเริ่มเปิดสอนวิชาเอกสารนิเทศทั่วไปในปีการศึกษา 2532 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ยังมีหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชางานสารนิเทศ ใช้เวลาเพียง 1 ปี จำนวน 12 ชุดวิชา 30 หน่วยกิต โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าอีกด้วย

ระดับปริญญาโท

การศึกษาในหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผู้นำทางวิชาชีพ และเพื่อ สร้างผู้สอนที่สามารถพัฒนาวิชาบรรณารักษศาสตร์ กำหนดรายวิชาให้เรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต เป็นวิชาเอกบังคับ 13 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2528 : 152-161) รายชื่อที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีต่อไปนี้

วิชาเอกบังคับ

    บรรณ 503 ทักษะเพื่อการสื่อสารด้านบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 631 สัมมนาทางบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์

วิชาเอกเลือก

    บรรณ 502 การศึกษาทางบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 514 วิธีวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 515 สื่อการศึกษาในห้องสมุดและศูนย์สนเทศ
    บรรณ 517 วิธีสอนบรรณารักษศาสตร์และสนเทศศาสตร์
    บรรณ 540 บริการช่วยค้นคว้าและบริการสนเทศ
    บรรณ 611 สนเทศศาสตร์เบื้องต้น
    บรรณ 612 เทคนิคปฎิสารนิเทศ
    บรรณ 615 เทคนิคสมัยใหม่ในห้องสมุดและศูนย์สนเทศ
    บรรณ 640 แหล่งและบริการสนเทศทางมนุษยศาสตร์
    บรรณ 641 แหล่งและบริการสนเทศทางสัมคมศาสตร์
    บรรณ 642 แหล่งและบริการสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    บรรณ 643 แหล่งและบริการสนเทศทางการศึกษา
    บรรณ 644 แหล่งและบริการสนเทศทางพระพุทธศาสนา

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์มีการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงรายวิชาตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา หลักสูตรระดับปริญญาโทปัจจุบันมีรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศรวมกันอยู่ ผู้ศึกษาในระดับนี้จะต้อง เรียนทั้งหมด 39 หน่วยกิต โดยเป็นวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต และเป็นวิชาเลือก 21 หน่วยกิต รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์ นอกเหนือจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบรรณารักษศาสตร์โดยทั่ว ๆ ไป มีรายชื่อที่เปิดสอนดังต่อไปนี้

วิชาพื้นฐาน

    118503 แหล่งสารนิเทศและการบริการ

วิชาบังคับ

    118681 ความรู้เบื้องต้นทางสารนิเทศศาสตร์

วิชาเลือก

    118613 การศึกษาในวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    118682 การจัดเก็บและการคืนค้นสารนิเทศ
    118683 เทคโนโลยีข้อมูล
    118684 โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับห้องสมุด
    118685 ห้องสมุดและระบบเครือข่ายสารนิเทศ
    118686 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารนิเทศ
    118687 ระบบการจัดการสารนิเทศ
    118688 ความต้องการและการใช้สารนิเทศ

หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 เป็นต้นมา ได้กำหนด วัตถุประสงค์ของหลักสูตรไว้ 3 ประการ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2531 ข : 290) คือ
    1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นผู้นำทางด้านวิชาชีพ และผู้บริการระดับสูงทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนางานห้องสมุด หรือศูนย์สารนิเทศ
    3. เพื่อผลิตผู้สอนด้านบรรณารักษศาสตร์หรือสารนิเทศศาสตร์
    4. เพื่อผลิตนักวิชาการที่สามารถทำการค้นคว้าวิจัยทางด้านบรรณารักษศาสตร์ หรือสารนิเทศศาสตร์

การเรียนตามหลักสูตร ประกอบไปด้วยการเรียนในรายวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต วิชาเลือกไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ จำนวน 9 หน่วยกิต รวมทั้ง หมด 42 หน่วยกิต (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2531 ข : 293-296) โดยมีรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์ ดังต่อไปนี้

วิชาบังคับ

    บ. 611 เทคโนโลยีสารนิเทศ
    บ. 612 บริการสารนิเทศ
    บ. 651 การบริหารห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศชั้นสูง
    บ. 671 การวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    บ. 711 การประมวลผลสำหรับงานห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ

วิชาเลือก

    บ. 635 ทรัพยากรสารนิเทศในสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
    บ. 636 ทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และประชากรศาสตร์
    บ. 637 ทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ
    บ. 638 ทรัพยากรสารนิเทศในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    บ. 645 ทรัพยากรสารนิเทศเรื่องไทยศึกษา
    บ. 646 ทรัพยากรสารนิเทศเรื่องเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
    บ. 666 การอ่านในวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    บ. 675 สถิติสำหรับงานบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    บ. 686 การปะยุกต์วิธีสอนสำหรับวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
    บ. 715 โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับงานสารนิเทศ
    บ. 756 อาคารห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ
    บ. 778 สัมมนาทางสารนิเทศศาสตร์

ระดับประกาศนียบัตร

จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย นับเป็นสถานศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดสอนวิชาสารนิเทศศาสตร์โดยตรงในระดับประกาศนียบัตร โดยกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าเรียนว่าจะต้องจบการศึกษาขั้นปริญญามหาบัณฑิตเข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาบรร ณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โดยเริ่มเปิดตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 แต่จำเป็นต้องงดเปิดสอนเนื่องจากผู้สอบได้มีจำนวนน้อยเกินไป การเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงในด้านการจัดการห้องสมุดที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการวางแผน การจัดการงานในห้องสมุดและ ศุนย์สารนิเทศ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวางแผนและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการและบริการสารนิเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้ที่สำเร็จ การศึกษาปริญญามหาบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น ได้เพิ่มพูนความรู้ในวิชาสารนิเทศศาสตร์ มีความ รู้ความชำนาญในวิชาเฉพาะที่เหมาะสมกับเป้าหมายในวิชาชีพ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2531 : 1) หลักสูตรประกาศนียบัตร แบ่งเป็น 2 สาขาวิชาเฉพาะ คือ
    1. สาขาวิชาการจัดการห้องสมุด
    2. สาขาวิชาระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสารนิเทศ

ทั้ง 2 สาขาวิชา นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งหมด 30 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็นวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต และวิชาเลือก 15 หน่วยกิต (Chulalongkorn University 1988 : 30-32) โดยมีรายละเอียดวิชาที่เรียนดังนี้

สาขาวิชาการจัดการห้องสมุด

วิชาบังคับ

    118710 สารนิเทศในสังคม
    118750 ทฤษฎีการจัดการห้องสมุดสมัยใหม่
    118751 ทรัพยากรบุคคลในห้องสมุด
    118755 การตลาดบริการห้องสมุดและสารนิเทศ
    118762 การวิจัยอิสระทางการจัดการห้องสมุด

วิชาเลือก

    118752 สัมมนาพฤติกรรมผู้นำและแรงจูงใจ
    118753 การสื่อสารในองค์การและระบบสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจ
    118754 กฎหมายกับการจัดการห้องสมุด
    118756 สัมมนาการจัดการห้องสมุด
    118757 สัมมนาการจัดงานเทคนิคห้องสมุด
    118758 สัมมนาการจัดการงานบริการห้องสมุด
    118759 การประชุมเชิงปฎิบัติการการจัดการห้องสมุด
    118760 การประเมินผลและการวัดผลงานห้องสมุดและสารนิเทศ
    118761 เรื่องพิเศษทางการจัดการห้องสมุด

สาขาวิชาระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสารนิเทศสาสตร์

    118681 สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น

วิชานี้เป็นวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิตสำหรับนิสิตที่ไม่มีพื้นความรู้ ปริญญามหาบัณฑิตทางสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

    118710 สารนิเทศในสังคม
    118780 การวิเคราะห์ระบบในบริการสารนิเทศ
    118781 การจัดการเทคโนโลยีสารนิเทศ
    118783 การออกแบบและการอนุวัตระบบสารนิเทศอัตโนมัติ
    118794 การวิจัยอิสระทางระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสารนิเทศศาสตร์

วิชาเลือก

    118782 การใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารข้อมูลเชิงบรรณานุกรม
    118784 ระบบและบริการสาระสังเขปและดรรชนีอัตโนมัติ
    118785 บริการสารนิเทศระบบออนไลน์
    118786 ไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการทรัพยากรสารนิเทศ
    118787 การจัดการสารนิเทศและเอกสาร
    118788 ระบบสารนิเทศสำนักงาน
    118789 เทคนิคการประมวลสารและคำ
    118790 การวินิจฉัยพฤติกรรมแสวงหาสารนิเทศ
    118791 ที่ปรึกษาและผู้ดำเนินการธุรกิจสารนิเทศ
    118792 สัมมนาการวางนโยบายและวางแผนสารนิเทศ
    118793 เรื่องพิเศษทางระบบห้องสมุดอัตโนมัติและสารนิเทศศาสตร์

มีการจัดกลุ่มรายวิชาที่เปิดสอนในสถาบันวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย จัดกลุ่มเนื้อหาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์เป็น10 กลุ่มวิชา(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2529 : 26-28) ดังต่อไปนี้ คือ
    1. กลุ่มเนื้อหาวิชาปรัชญาวิชาชีพ ประวัติ พัฒนาการของห้องสมุด
    2. กลุ่มเนื้อหาวิชาเทคนิค
    3. กลุ่มเนื้อหางานบริการ
    4. กลุ่มเนื้อหาทรัพยากรสารนิเทศ
    5. กลุ่มเนื้อหาวิชาการและบริหารงานห้องสมุด
    6. กลุ่มเนื้อหาวิชาการวิจัยและประสบการณ์ห้องสมุด
    7. กลุ่มเนื้อหาวิชาโสตทัศนวัสดุในห้องสมุด
    8. กลุ่มเนื้อหาวิชาเทคโนโลยีและสารนิเทศ
    9. กลุ่มเนื้อหาวิชาวรรณกรรม
    10. กลุ่มเนื้อหาวิชางานทั่วไป
    11. กลุ่มเนื้อหาวิชาประเภทสิ่งพิมพ์
    12. กลุ่มเนื้อหาการปฎิบัติงาน

จากรายชื่อวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาสารนิเทศศาสตร์ อาจพิจารณาได้ว่า เริ่มมีแ นวโน้มในการเปลี่ยนชื่อวิชาจากบรรณารักษศาสตร์ มาเป็นสารนิเทศศาสตร์เพิ่มเติมมากขึ้น บางวิชาเป็นรายวิชาเดิมเปลี่ยนชื่อใหม่ตามสภาพสังคมข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น วิชา บริการของห้องสมุด เปลี่ยนชื่อเป็น บริการสนเทศของห้องสมุด(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2531 : 145) และบางวิชาได้เปลี่ยนขอบเขต วิชาเดิมเป็นวิชาใหม่ หรือจัดเป็นวิชาใหม่ทางด้านสารนิเทศศาสตร์โดยตรง เช่น จากวิชาความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์ เพิ่มเติมเป็นความรู้เบื้องต้นทางสารนิเทศศาสตร์(กรมการฝึกหัดครู 2531: 36) และวิชาระบบสนเทศเพื่อการจัดการ (มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2530 : 124) ตลอดจนวิชาใหม่ทางด้านสารนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีและระดับประกาศนียบัตร (หลัก สูตรหลังปริญญาโท)

การศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์ จากรายวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมามีส่วนสัมพันธ์กับก ารสอนวิชาบรรณารักษศาสตร์มาโดยตลอด ความหมายของบรรณารักษศาสตร์ที่กล่าวมาเป็น การศึกษารายละเอียด การวิเคราะห์และการปฏิบัติเกี่ยวกับวัตประสงค์ นโยบายและกระ บวนการขององค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ 2520 : 162) ก็เป็นความหมายของสารนิเทศศาสตร์ในปัจจุบันด้วย เพราะสารนิเทศศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดการเกี่ยวกับข่าวสารและเป็นวิชาที่พัฒนามาเป็นวิชาหนึ่งโดยแยกมาจากบรรณารักษศาสตร์ ตามสภาพเทคโนโลยีสารนิเทศที่นำมาดำเนินงานในศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ

การเปิดสอนวิชาสารนิเทศศาสตร์ในประเทศไทยตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการสอน วิชาบรรณารักษศาสตร์ และมีแนวโน้มในการเปลี่ยนชื่อภาควิชาที่รับผิดชอบ เป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มเติมรายวิชาสารนิเทศศาสตร์มีความจำเป็นในการปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ตามความต้องการกำลังคนทางอุตสาหกรรมสารนิเทศที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น สถาบันการศึกษาวิชาชีพต่างมีเป้าหมาย ในการผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในด้านต่าง ๆ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2530 : 152) สรุปได้ต่อไปนี้ คือ
    1. มุ่งเน้นให้มีความสามารถด้านวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ทุกประเภท
    2. ให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพเป็นครูบรรณารักษ์
    3. ให้มีความสามารถในการปะกอบอาชีพอิสระ
    4. ให้มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและสารนิเทศ
    5. ให้มีความสามารถในการที่จะเป็นนักวิจัย

หน้าสารบัญ