1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์(Software)
ซอฟต์แวร์(Software) หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่สั่งให้เครื่องทำงาน ตามที่ต้องการ เป็นคำสั่ง
ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของส่วนฮาร์ดแวร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ Operating System (OS) ได้แก่ โปรแกรมควบคุม
ระบบทำงานของเครื่องทั้งหมด ถ้าขาดโปรแกรมระบบนี้แล้วจะทำให้ไม่สามารถ ใช้เครื่องได้ ตัวอย่าง
ของโปรแกรมควบคุม ได้แก่
1.1 Dos (Disk Operating System)
1.2 Os/2 (Operating System/2)
1.3 Unix
1.4 Xenix
2. โปรแกรมตัวแปลชุดคำสั่ง (Assambler หรือ Compiles Software)
เป็นโปรแกรมหรือ Software ที่แปลภาษาของ มนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง
โดยภาษามนุษย์ต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาที่กำหนด เช่น โปรแกรมภาษาเบสิก โปรแกรมภาษาซี
โปรแกรมภาษาปาสคาล โปรแกรมภาษาโปรลอก เป็นต้น
3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) โปรแกรม
สำหรับการใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท
- 3.1 ประเภทการคำนวณ (Spreadsheet) เป็นโปรแกรม ที่ช่วยในด้านการคำนวณ
การเก็บข้อมูล การสร้างตารางการสร้างสูตรคำนวณ ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมาะกับงานทาง
ด้านเก็บข้อมูล ประกอบกับมีการคำนวณตัวเลข การวิเคราะห์ผลจากแผนภูมิ แผนสถิติ เป็นต้น
โปรแกรม ประเภทนี้ เช่น โปรแกรม LOTUS 1-2-3 โปรแกรม SYMPHONY เป็นต้น
- 3.2 ประเภทการจัดการฐานข้อมูล (Database) เป็นโปรแกรม
ที่ช่วยในด้านการเก็บข้อมูล ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ซึ่ง สามารถทำการแก้ไข
หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย และสะดวกรวดเร็วในการค้นหา ข้อมูลที่ต้องการ การจัดเรียง
ลำดับข้อมูลและสามารถสรุปผลรายงานเหมาะสำหรับงาน เก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลบุคลากร
ข้อมูลหนังสือและวารสาร โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม Microsoft Access โปรแกรม dBase
IV, โปรแกรม Foxpro, โปรแกรม CDS/ISIS เป็นต้น
- 3.3 ประเภทการจัดพิมพ์เอกสาร (Word Processor)
เป็นโปรแกรมที่เน้นในเรื่อง การจัดพิมพ์เอกสาร จดหมาย โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม CU
Writer,โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรม Word Perfect, โปรแกรม Word ราชวิถี, โปรแกรม
Sahaviriya Word เป็นต้น
- 3.4 ประเภทพิเศษ เป็นโปรแกรมที่ออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น
ด้านบัญชี การออกแบบโครงสร้างอาคาร เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้ เช่น Geneus
เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับบัญชี Autocad เป็นโปรแกรมที่ช่วยในงานทางด้าน สถาปนิกและวิศวกร
เป็นต้น
หน้าสารบัญ