1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารนิเทศ

              การที่มนุษย์นำตนเองเข้าสู่สังคมสารนิเทศ เป็นการนำระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ สะสมข้อมูลและการใช้รหัสตัวเลขสั่งงานมาใช้เพื่อเป็นศูนย์กลางของการ สื่อสารสารนิเทศ  ประกอบกับการพัฒนา ทางโทรคมนาคมมีส่วนสนับสนุนสังคม สารนิเทศอย่างสมบูรณ์ สารนิเทศเกิดความหลั่งไหลอย่างต่อเนื่อง ปราศจากเครื่องปิดกั้นใด ๆ ไม่มีปัญหาใน เรื่องของเวลา ระยะทาง และชนิดของสารนิเทศ และยังมีการพัฒนาระบบ โทรคมนาคมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ข้อมูลสารนิเทศยังเคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม  และมีประสิทธิภาพ อย่างคาดคิดไม่ถึง แต่กว่ามนุษย์จะมีพัฒนาการในการใช้สารนิเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุด เช่นในทุกวันนี้ ต้องผ่านความยากลำบากและเผชิญอุปสรรค ต่อการใช้สารนิเทศมาโดยตลอด พัฒนาการของเทคโนโลยี มีผู้สรุปไว้ว่า สามารถแบ่งได้  เป็น 6 ยุค ดังต่อไปนี้ คือ

1. ยุคเทคโนโลยียุคแรก เป็นยุคที่ย้อนไปในอดีตประมาณ 500,000 ปีล่วงมา แล้ว  เป็นยุคของการเกิดรหัสภาษา แทนความหมายในสมอง เป็นหัวเลี้ยวหัว  ต่อของการสร้างสรรค์อารยธรรมที่มั่นคงไพศาล และเมื่อประมาณไม่กี่หมื่นปี มนุษย์เริ่มรู้จักเครื่องมือสื่อสารนอกร่างกายส่งข่าวสารในระยะทางไกล   ข่าวสารที่เป็นรหัสเสียงมักอาศัยการเคาะไม้ หรือรัวกลอง ข่าวสารที่เป็น รหัสภาพมักอาศัยควันไฟหรือสัญญาณธง นอกจากนั้นยังเริ่มรู้จักใช้เครื่อง เขียนง่าย ๆ บันทึกเหตุการณ์ ความจำ หรือความคิดไว้บนผนังถ้ำ เป็น รูปภาพที่จะได้รับการพัฒนาเป็นตัวอักษรในยุคต่อมา

2. ยุคภาษาเขียน เริ่มต้นประมาณ 5,000 ปีที่แล้วมา มนุษย์สามารถผสมภาษา พูดกับภาษาภาพออกมาเป็นภาษาเขียน  เท่ากับรหัสภาพ (ตัวอักษร)ให้รหัส  เสียง (คำพูด) นั่นเอง นับว่าเป็นการประดิษฐ์ตัวสารหรือสื่อที่สามารถบันทึก ไว้เพื่อเก็บเป็นความจำนอกสมองหรือเขียนส่งไปให้ผู้รับสารที่อยู่ห่างไกลได้

3. ยุคการสร้างรหัสภาษาพิมพ์และสื่อมวลชน ยุคนี้เริ่มต้นเมื่อ กูเต็นเบอร์ก ชาวเยอรมัน  ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ใช้ เรียงกันเป็นคำ เป็นประโยคสะดวก ต่อการผลิตรหัสภาษาครั้งละจำนวนมาก ๆ เพื่อใช้ส่งข่าวสารที่ต้องการออก ไปให้หลาย ๆ คน สิ่งประดิษฐ์ของกูเต็นเบอร์กหรือเครื่องพิมพ์หนังสือนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีสารนิเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน ซึ่งถือว่า เป็นการปฏิวัติครั้งแรกของการสื่อสารในสังคม

4. ยุคโทรคมนาคม เทคโนโลยียุคนี้เริ่มต้นเมื่อปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เมื่อ แซมมวล เอฟ บี มอร์ส ค้นพบวิธีการสื่อสารทางไกลด้วยรหัสมอร์ส กลาย เป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า โทรเลข  ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของยุคโทรคมนาคม  หรือยุคแห่งเทคโนโลยีที่สามารถส่ง รหัสเสียงและรหัสภาพออกไปพร้อมกันใน ที่ต่าง ๆ ได้ เมื่อเริ่มเปิดให้มีบริการโทรศัพท์ และวิทยุโทรเลข ยังแสดง ให้เห็นว่า การโทรคมนาคมมีบทบาทต่อการใช้สารนิเทศ ในสังคมเป็นอย่างมาก  ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีสื่อสารนิเทศหลาย ชนิดเกิดขึ้น จากการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้สังคมในสมัยนั้น ได้รับข่าวสารจากเครื่องเล่นจานเสียง ภาพยนตร์ จนกระทั่งกลายเป็น วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์

5. ยุคสังคมสารนิเทศ (Information Society) ยุคนี้เริ่มต้นเมื่อคอมพิวเตอร์ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพสังคม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 เป็นต้นมา คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ประมวลเอาคุณสมบัติของเครื่องมือสื่อสาร แทบทุกชนิดในอดีตมารวมไว้ในเครื่อง  เดียวกัน นับตั้งแต่รหัส ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาพิมพ์ การรับ การแปล  การเก็บ การประมวล วิเคราะห์ ไปจนถึงการส่งรหัสและการป้อนกลับ ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้ใกล้เคียง กับสมองและอวัยวะสื่อสารของมนุษย์  คอมพิวเตอร์ยังมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถจัดการกับปริมาณข้อมูลจำนวนนับ ไม่ถ้วนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็วไม่มีผิดพลาดเมื่อนำคอมพิวเตอร์  มาใช้กับระบบโทรคมนาคม  ยิ่งทำให้ สังคมของโลกสามารถติดต่อส่งสารนิเทศ  ซึ่งกันและกันได้  กลายเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมสารนิเทศ ที่กำลังมีบทบาท  ต่อชีวิตประจำวันของคนในขณะนี้

6. ยุคสังคมสื่อสาร (Communication Society) เป็นยุคที่คาดว่าคงจะเกิด ขึ้นในศตวรรษที่ 21  ต่อเนื่องกันไป จากยุคสังคมสารนิเทศ ในขณะที่สังคม ข่าวสารหมายถึง สังคมที่เน้นใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมร่วมกับคอมพิวเตอร์  เข้ามาบริการสารนิเทศแก่ประชาชน สังคมสื่อสารจะมุ่งเน้นให้คนในสังคม   ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวส่งสารนิเทศ ไปบริการสังคมได้โดยสะดวก สังคมสื่อสาร ใช้วิธีการเชื่อมโยงระบบโทรคมนาคมกับคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย การสื่อสารโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ โทรสาร และดาวเทียมเชื่อมโยง กับคอมพิวเตอร์จากประเทศต่าง ๆ สู่เมืองใหญ่และสู่ชุมชน ช่วยให้กระบวน การรับส่งสารนิเทศดำเนินไปอย่างสะดวก ทั้งเป็นฝ่ายติดต่อรับข่าวสาร และ ส่งข่าวสารออกไปสู่สังคมได้อีกด้วย

            พัฒนาการของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้ง  6  ยุคที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า สังคมของโลกกำลังอยู่ในยุคสังคม สารนิเทศ และในบางประเทศกำลังอยู่ในยุคสังคมสื่อสาร  แม้แต่ในประเทศไทยก็เริ่มมีสภาพอยู่ในสังคม สารนิเทศและกำลังก้าวไปสู่สังคมสื่อสารเช่นกัน ทั้งนี้เพราะระบบโทรคมนาคมก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว คนในสังคมจึงต้องตระหนักถึง ความจำเป็นในการใช้สารนิเทศ และหมั่นติดตามเทคโนโลยีสารนิเทศให้เกิด ความเข้าใจต่อการนำ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  เทคโนโลยีสารนิเทศ  เป็นวิธีการผสมผสานการใช้ ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ กับระบบโทรคมนาคม และระบบสำนักงาน ในประเทศสิงคโปร์เริ่มให้ความสำคัญ ต่อการ พัฒนาประเทศให้เป็นสังคมสารนิเทศที่ปราศจากกระดาษ (A Paperless Society)  โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารนิเทศ ในการทำงานมีการเตรียมบุคลากรเพื่อทำงานกับเครื่อง คอมพิวเตอร์กว่า 8,000 คน  โดยวางแผนระดับชาติ ว่าจะมีเจ้าหน้าที่เลขานุการ กว่า 200,000 คน ให้ทำงานเพื่อเปิดยุคเทคโนโลยีสารนิเทศในประเทศ เป็นการ พัฒนาประเทศให้สอดคล้อง กับความสำคัญของการใช้สารนิเทศและพัฒนาประเทศ ให้เป็นประเทศในสังคมสารนิเทศ การใช้เทคโนโลยีสารนิเทศจึงเริ่มมีบทบาทสำคัญ ต่อการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน  และเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมาแทนที่ การให้บริการสารนิเทศ ในรูปแบบที่เคยทำกันมา

หน้าสารบัญ