1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

นโยบายสารนิเทศแห่งชาติในต่างประเทศ

นโยบายสารนิเทศแห่งชาติ คือ การดำเนินการของรัฐ เพื่อพัฒนาระบบและ บริการสารนิเทศของประเทศ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เต็มที่เท่าที่ทรัพยากรที่มีอยู่จะ อำนวยให้ จะต้องนำเอาผลของการศึกษา ความต้องการ มาพิจารณาให้ลำดับ ความสำคัญ หาวิธีสนองความต้องการและส่งเสริมความต้องการ การพัฒนาบุคลากรด้านสารนิเทศ การจัดและปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ การกำหนด นโยบายสารนิเทศแห่งชาติ จึงเป็นจุดประสงค์หลักประการหนึ่งในการจัดทำระบบ สารนิเทศแห่งชาติ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ การกำหนดนโยบายสารนิเทศแห่งชาติ และการปฎิบัติตามนโยบาย เป็นสิ่งเดียวที่จะสะท้อนให้เห็นว่า คนในชาติได้ใช้ข่าวสารที่ต้องการ อย่างสมบูรณ์ การจัดทรัพยากรข่าวสารอย่างมีระบบแบบแผน จะทำให้เกิดข่าวสารข้อมูล ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งรัฐบาลสามารถนำไปใช้ในการวางแผน ตัดสินใจและบริหารงาน

ในต่างประเทศ แต่ละประเทศยังไม่มีการจัดทำนโยบายสารนิเทศแห่งชาติของตน องค์กรหลักที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มี ที่มีอยู่เป็นองค์กรที่รับผิดชอบนโยบายเฉพาะ ด้าน โดยเฉพาะประเทศทางด้านยุโรปตะวันตกจะมุ่งเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ สุวรรณา ชัยจินดาสุต และอนงค์ คุปตระกูล ได้เปรียบเทียบนโยบายสารนิเทศ แห่งชาติแต่ละประเทศสรุปได้ดังนี้

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยังเป็นที่ตกลงกันไม่ได้ว่า รัฐบาลหรือรัฐสภาควรเป็น ผู้ริเริ่มนโยบายสารนิเทศที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งนี้เพราะมีองค์กรที่รับผิดชอบนโยบายเฉพาะ ด้านอยู่แล้ว เช่น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยห้องสมุดและสารนิเทศศาสตร์ (National Commission on Libraries and Information Science-NCLIS) เป็นคณะกรรมาธิการที่ให้คำ ปรึกษาแก่ประธานาธิบดีและรัฐสภา ในเรื่องนโยบายแห่งชาติด้านความต้องการของ ห้องสมุดและสารนิเทศ เป็นหน่วยงานอิสระขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร

คณะกรรมการร่วมมือเกี่ยวกับการพิมพ์ (Joint Committee on Printing) เป็นคณะกรรมการร่วมของรัฐสภาทำหน้าที่ จัดทำนโยบายการพิมพ์ แจกจ่ายและส่งเสริมการ เข้าถึงสิ่งพิมพ์ของรัฐบาลกลาง

สำนักงานโรงพิมพ์ของรัฐบาล (Government Printing Office) เป็นหน่วย งานที่รับผิดชอบการพิมพ์ การจัดหา และแจกจ่ายสิ่งพิมพ์สำหรับสถาบัน 3 ฝ่ายคือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุด และอยู่ภายใต้การควบคุม ของรัฐสภา

สำนักงานการบริหารและงบประมาณ (Office of Management and Budget) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการกับงบประมาณ ทางด้านเอกสาร เอกสารการ บริหาร และการจัดเอกสาร จัดทำกฎเกณฑ์กับกระบวนการข้อมูลอัตโนมัติ

สำนักงานข่าวสารแห่งชาติ (National Technical Information Service) เป็น หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์เผยแพร่สารนิเทศสำหรับ สารนิเทศทางด้านวิชาการจัดพิมพ์และเผยแพร่กระจายสิ่งพิมพ์ของรัฐบาลสู่สาธารณชน

ในทวีปยุโรป แต่ละประเทศยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบายสารนิเทศแห่งชาติ โดยตรง มีแต่เพียงองค์กร สมาคม หรือหน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับระบบสารนิเทศแห่ง ชาติบางส่วน เช่น ในประเทศอังกฤษมีความพยายามในการจัดทำ นโยบายสารนิเทศแห่งชาติ แต่หยุดชะงัก สมาคมห้องสมุดเฉพาะและสำนักสารนิเทศ (Association of Special Libraries and Information Bureau - ASLIB) มีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันให้มี นโยบายสารนิเทศ

หน่วยงานที่สำคัญในประเทศฝรั่งเศสที่มีส่วนในการพัฒนาระบบสารนิเทศทางด้าน อุตสาหกรรม ได้แก่ สำนักงานสารนิเทศ วิทยาศาสตร์ (Agences Regionales de L'information Scientifique et Technique - ARIS)

ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย คือ เดนมาร์ก นอร์เว สวีเดน ไอซ์แสนด์ และฟินแสนด์ ได้ตั้งคณะกรรมการเรียกชื่อว่า คณะกรรมการ สำหรับสารนิเทศและเอกสาร (NORDIC Committee for Information & Documentation-NORDIC) รับผิดชอบในการพัฒนา นโยบายสารนิเทศ

ประเทศสเปน มีหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับสารนิเทศ คือ ศูนย์สารนิเทศ และเอกสารทางวิทยาศาสตร์ (National for Scientific Information and Documentation - CENIDOC) ดำเนินการงานสารนิเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายนิเทศวิทยาศาสตร์ อัตโนมัติ (Automated Scientific Information Network-INCA) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงฐานข้อมูลต่างชาติและระหว่าง ประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างฐานข้อมูลภายในประเทศ

หน้าสารบัญ