1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

การจัดทำสาระสังเขป

การควบคุมสารนิเทศอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้การสืบค้นและการเรียกใช้สารนิเทศดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว ได้แก่ วิธีการจัดทำสาระสังเขป (Abstracts) ขึ้นใช้ภายในห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ เนื่องจากว่าการให้บริการสาระสังเขปจะเป็นเครื่องมือ สำคัญที่สุดที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงสารนิเทศรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นบันทึกการสื่อสารของมนุษย์ทั้งที่ปรากฎในรูปของหนังสือ วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุม และสิทธิบัตร เป็น ต้น (นฤมล ชินะกุลวัฒนา 2527 : 1)

สาระสังเขปตามความหมายของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (The American National Standards Institute) คือการสรุปย่อการเป็นตัวแทนของเนื้อหาของเอกสารอย่างถูกต้องแม่นยำ และจัดทำโดยผู้เขียนผลงานซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัด เก็บสิ่งพิมพ์เอกสารและบรรจุไว้ในฐานข้อมูล (Cremmins 1982 : 3) สาระสังเขปจึงเป็นเครื่องมือในการประหยัดเวลา การอ่านและนอกจากสาระสังเขปให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ แล้ว ยังให้ข้อความรู้ที่สำคัญ ๆ โดยย่อของบทความ วารสาร จุลสาร หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ โดยเนื้อหาตรงตามจุดมุ่งหมายและตามลำดับเนื้อหาของงานเดิม เก็บสาระสำคัญไว้ได้ โดยครบถ้วน (สุนทรี หังสสูต 2520 : 110) จึงเป็นประโยชน์ของการใช้สื่อสารนิเทศได้อย่างมากที่สุด

ผู้ใช้สาระสังเขป ซึ่งศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ ตลอดจนห้องสมุดได้จัดทำขึ้นในรูปลักษณะต่างๆ สามารถประหยัดเวลา ในการเลือกค้นเอกสารได้มาก เพราะสาระสังเขปช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าจะต้องอ่านต้นฉบับหรือไม่

ประเภทของสาระสังเขป

สาระสังเขปเท่าที่จัดทำให้บริการเพื่อการควบคุมสารนิเทศในห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ แบ่งประเภทตามลักษณะต่าง ๆ ได้เป็น 3 ประเภท (Borko and Bernis 1975 : 13-18) คือ แบ่งตามประเภทของผู้เขียน แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการ และแบ่งตามรูปแบบของการบริการ ในปัจจุบันนิยมแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการ โดยมีสาระสังเขปที่จัดทำสำคัญ ๆ อยู่ 3 ประเภทคือ
    1. สาระสังเขปแบบพรรณา (Descriptive หรือ Indicative Abstract) เป็นสาระสังเขปที่เขียนอธิบายเนื้อหาของสารนิเทศอย่างสั้น ๆ อธิบายถึงสารนิเทศที่สำคัญ ที่มีอยู่ การเขียนสาระสังเขปแบบพรรณาเป็นการสรุปเนื้อเรื่องเป็นส่วนใหญ่ ผู้เขียนจะ เขียนเป็นทำนองแนะนำให้ผู้อ่านทราบของเนื้อเรื่องเอกสารเพื่อตัดสินใจว่าต้องการอ่านจากต้นฉบับหรือไม่ (กุลธิดา บุญอิต และวลัยพร เหมะรัชตะ 2531 : 99)
    2. สาระสังเขปแบบให้ความมรู้ (Informative Abstract) เป็นสาระสังเขปที่เขียนถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของจุดเด่นของเนื้อหาสารนิเทศ โดยเขียนย่อเนื้อเรื่องด้วยข้อความสั้น ๆ กระทัดรัด ประกอบด้วยข้อเท็จจริง บทสรุป และผลของการค้นคว้าแทนที่จะ เป็นการชี้แนะเพียงอย่างเดียว (กุลธิดา บุญอิต และวลัยพร เหมะรัชตะ 2531 : 100) การเขียนสาระสังเขปแบบให้ความรู้จะให้รายละเอียด มากกว่าประเภทแบบพรรณา และเป็นการอ่านสาระสังเขปที่ใช้แทนการอ่านจากต้นฉบับได้
    3. สาระสังเขปประเภทวิจารณ์ (Critical Abstract) เป็นสาระสังเขปที่ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นของตน และวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับ ด้วยพินิจพิจารณา คุณค่าของสาระสังเขปประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของผู้จัดทำสาระสังเขปเป็น อย่างมาก ในการจัดทำสาระสังเขปเพื่อการให้บริการและควบคุมสารนิเทศนั้น มีการกำหนดส่วนสำคัญของสาระสังเขปเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่อ้างถึง ซึ่งมักจะเป็นรายการบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ เช่น เลขประจำเอกสาร ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง แหล่งและวันเดือนปี ของสิ่งพิมพ์ ตัวสาระสังเขป และส่วนที่เป็นการลงชื่อของผู้เขียนสาระสังเขป ส่วนที่สำคัญต่อการให้เนื้อหาสารนิเทศ คือ ส่วนตัวสาระสังเขป เพราะประกอบ ขึ้นด้วยเนื้อหาวิชาที่ได้จากงานต้นฉบับ ประกอบไปด้วยคำดรรชนี และตัวสาระสังเขป

มีสถาบันเอกชนหลายแห่งรวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลจัดพิมพ์สาระสังเขปและดรรชนี ออกเผยแพร่ในรูปเล่มสารสาร มีกำหนดออกเป็นวาระสม่ำเสมอ เป็นรายต่าง ๆ กัน เช่น รายปักษ์ รายเดือน ราย 3 เดือน รายปี และรวมเล่ม 5 ปี เป็นการอำนวยความ สะดวกต่อการเข้าถึงสารนิเทศ

ประโยชน์ของสาระสังเขป

การควบคุมสารนิเทศด้วยการจัดทำสาระสังเขป จะมีประโยชน์ต่อการใช้สารนิเทศ พอสรุปได้ดังนี้ (รุ้งฟ้า ฐิโณทัย 2524 : 10-11) คือ
    1. ช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน สาระสังเขปสามารถประหยัดเวลาในการอ่านโดยไม่ต้องอ่านจากเอกสารต้นฉบับ สาระสังเขปช่วยผู้อ่านในการประหยัดข้อความและ จำนวนคำที่ไม่จำเป็น ผู้อ่านสามารถตัดสินใจเลือกอ่านเอกสารต้นฉบับที่ตรงกับความต้อง การได้มากที่สุด
    2. ช่วยส่งเสริมบริการข่าวสารทันสมัย สาระสังเขปนำไปใช้ในการให้บริการข่าวสารทันสมัย เพื่อเสนอต่อนักวิจัย หรือผู้ต้องการใช้สารนิเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
    3. ช่วยให้การสืบค้นย้อนหลังง่ายขึ้น การจัดทำสาระสังเขป จะช่วยให้การสืบค้นย้อนหลังกระทำได้โดยง่าย และเป็นระบบ อำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้สารนิเทศ
    4. ช่วยในการทำดรรชนีเป็นไปได้รวดเร็ว การทำดรรชนีจากสาระสังเขปสามารถจัดทำได้รวดเร็วกว่าที่จะทำจากเอกสารต้นฉบับ
    5. ช่วยในการจัดเตรียมบทความปริทัศน์ ผู้เขียนบทความปริทัศน์สามารถใช้ข้อมูลจากสาระสังเขปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าที่จะใช้จากเอกสารต้นฉบับ และยังสามารถจัดทำบรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชาพร้อมทั้งบรรณนิทัศน์ประกอบจากสาระสังเขปได้ง่าย

บทบาทของการจัดทำสาระสังเขปกำลังทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น รูปแบบการจัดทำสาระสังเขปมีการกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้น และจัดทำในลักษณะต่างๆ กัน เช่น บัตรสาระสังเขปของศูนย์สารนิเทศ ใบสรุปสาระสังเขป และจัดพิมพ์ในรูปเล่มของสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้วนแต่ทำให้สารนิเทศต่าง ๆ ได้มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ตัวอย่าง สาระสังเขปจากหนังสือรายงานการวิจัย ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2530 : 6-7)
    วิจัยการศึกษา, กอง. รายงานการวิจัยตัวแปรเกี่ยวกับนักเรียน ครู โรงเรียน และสภาพท้องถิ่น         ที่สัมพันธ์กับความสามารถพื้นฐานของนักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ โดย         สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. กรุงเทพมหานคร : 2528. 60 หน้า. ตาราง.         (โครงการวิจัยและวางแผน เพื่อพัฒนาการศึกษา)

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเกี่ยวกับนัก เรียน ครู โรงเรียน และภาพท้องถิ่น กับความสามารถพื้นฐานของนักเรียน และเพื่อค้นหาตัวแปรเกี่ยวกับนักเรียน ครู และโรงเรียนที่ร่วมกันอธิบายความสามารถพื้นฐานในเชิง คณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดใหญ่ (มีจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่า 720 คน) จาก 70 จังหวัด แบ่งตัวอย่างประชากรออกเป็น 6 กลุ่ม ตามภาคและปีงบประมาณที่เก็บข้อมูล ได้แก่
    1. กลุ่มภาคเหนือ ปีงบประมาณ 2523
    2. กลุ่มภาคกลาง ปีงบประมาณ 2523
    3. กลุ่มภาคกลาง ปีงบประมาณ 2524
    4. กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีงบประมาณ 2524
    5. กลุ่มภาคกลาง ปีงบประมาณ 2525 และ
    6. กลุ่มภาคใต้ ปีงบประมาณ 2525

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

    1. ตัวแปรเกี่ยวกับนักเรียน ครู โรงเรียน ใช้อธิบายความแปรปรวน ของความสามารถพื้นฐานวิชาภาษาไทยได้ดีที่สุด รองลงมาคือความสามารถพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์
    2. ตัวแปรด้านครู คือ อายุเฉลี่ยของครูในโรงเรียน ร้อยละของครูหญิงในโรง เรียนและวุฒิเฉลี่ยของครูในโรงเรียน เป็นตัวแปรที่อธิบายความสามารถพื้นฐานของทั้งวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ตลอดจนความแตกต่างของความสามารถพื้นฐาน วิชาภาษาไทย ของประชากรทั้ง 6 กลุ่มได้ดี อย่างไรก็ตาม อันดับของความสำคัญของตัวแปรด้านครูแต่ละตัวในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง และแต่ละวิชาไม่เท่ากัน
    3. ตัวแปรด้านโรงเรียน เป็นตัวแปรที่อธิบายความสามารถพื้นฐานในวิชาภาษาไทย และวิชาคณิตศาสตร์ของตัวอย่างทั้ง 6 กลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราส่วนครูต่อห้องเรียนเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญสม่ำเสมอในทุกกลุ่มตัวอย่าง
    4. สำหรับตัวอย่างกลุ่มที่ 3-6 พบว่า ตัวแปรด้านนักเรียนเฉพาะอัตรามาเรียนเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถพื้นฐาน ส่วนเวลาเฉลี่ยในการเดินทางมาเรียนไม่มีความสัมพันธ์
    5. ความสัมพันธ์ของตัวแปรกับความสามารถพื้นฐานของนักเรียน ในแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน สำหรับภาคกลาง ตัวแปรทำนายที่สำคัญในการอธิบายความสามารถพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย ได้แก่ อัตราส่วนครูต่อห้อง ร้อยละของครูหญิงในโรงเรียน ตามลำดับโรงเรียน วุฒิเฉลี่ยของครูในโรงเรียน และอายุเฉลี่ยของครูใน โรงเรียน ตามลำดับ

ภาคเหนือ ตัวแปรที่สำคัญ คือ วุฒิเฉลี่ยของครูในโรงเรียน อัตราส่วนครูต่อห้องเรียน และอัตราส่วนนักเรียนต่อระดับชั้นตามลำดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแปรที่สำคัญที่สุด คือ อัตราส่วนครูต่อห้องเรียน รองลงไปคือ อัตราส่วนนักเรียนต่อระดับชั้น สังกัด ร้อยละของครูหญิงในโรงเรียน และ

ตัวอย่าง สาระสังเขปจากสิ่งพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2531 : 26) มีการระบุถึงหัวเรื่องเฉพาะ (คำสำคัญ) เพื่อการสืบค้น และ สรุปสาระสังเขปอย่างสั้น ๆ

คำสำคัญ : สถิติการศึกษา/การฝึกหัดครู
ชื่อเรื่อง สถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2527 ระดับมัธยมศึกษา
ผู้แต่ง เพ็ญจันทร์ เดชะเกิดกมล
ผู้จัดพิมพ์ กองสารสนเทศ
ปีที่พิมพ์ 2529
จำนวนหน้า 2-101
เลขเรียกหนังสือ 373.0212 / ค141ส

สาระสังเขป

ให้ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน ห้องเรียนโรงเรียน ครู/อาจารย์ในระดับมัธยมศึกษา จำแนกตามสังกัด เขตการศึกษา จังหวัด และ รายชื่อชั้นเรียน ประจำปีการศึกษา 2527 ข้อมูลทั้งหมดนำเสนอในรูปของตาราง

ตัวอย่าง สาระสังเขปจากสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษทางด้านการวิจัยทางการศึกษาซึ่ง จัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (1987 : 158)
    00142 Staporn Bandhumani. Roles and characteristics of teachers' colleges' vice rectors of academic affairs ; a case study of teachers' college in the north-east of Thailand. Research report, Mahasarakham Teachers' College. 1980 This research is to study opinions of teachers' colleges staff con-cerning roles and chara cteristics of vice rectors of academic affairs, to explore the present roles of the vice retors as well as to investigate attitudes of the rectors towards criteria that used in choosing a vice rector. The research instruments were questionaires and interview which were utilized to the total 280 samples. Their responses suggested on the six categries ot the expected roles of the vice rectors, namely; administrating academic personnel,planningandpolicymaking,managingand improving activities concerning teaching and learning, giving services and assistance, follow-up and evaluation, and numan relation ship while their actual performances only related toknowledge and ability, achievement, responsibilities, human relationship and academic status.
    Keywords : VICE RECTOR ; EDUCATIONAL ADMINISTRATION ; TEACHER ; EDUCATION

หน้าสารบัญ