1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

บริการการทำบรรณนิทัศน์ (Book Annotation Services)

บรรณนิทัศน์ หมายถึง ข้อเขียนซึ่งผู้เขียนแนะนำผู้อ่าน เกี่ยวกับหนังสือชื่อใดชื่อหนึ่ง ในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง เช่น เกี่ยวกับผู้แต่ง เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง วิธีดำเนินเรื่องหรือ แนวการเขียน เป็นต้น หรืออาจเขียนถึงในทุกแง่ทุกมุมของหนังสือเล่มนั้นก็ได้ ลักษณะของ การเขียนอาจแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนไว้ด้วย นอกเหนือจากเรื่องราวที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนั้นก็ได้

บรรณนิทัศน์มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้สารนิเทศทั่วไป นักสารนิเทศ จะเป็นผู้แนะนำหนังสือใหม่ทุกเล่ม ที่ห้องสมุดจัดหามา ให้ออกไปสู่สายตาผู้อ่านโดยนำเสนอในรูปของบรรณนิทัศน์สังเขป ผู้อ่านที่ไม่มีเวลามากมายนัก สามารถทราบเรื่องราวของหนังสือ เหล่านั้นได้ จากบรรณนิทัศน์ในขณะเดียวกันบรรณนิทัศน์เป็นสื่อในการนำไปสู่การค้นสารนิเทศที่กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป

การเขียนบรรณนิทัศน์มักเขียนขึ้นอย่างสังเขป เป็นการสรุปเนื้อหาอย่างย่อๆ การเขียนบรรณนิทัศน์แยกได้เป็น 2 อย่างคือ
1. บรรณนิทัศน์สำหรับผู้อ่าน (Reader's note) เป็นการเขียนบรรณนิทัศน์ สำหรับผู้อ่าน นิยมเขียนแบบสั้น ๆ เพื่อสรุปใจความของหนังสือ เป็นการแนะนำผู้อ่านให้ไปอ่านรายละเอียดของหนังสือต่อไป
2. บรรณนิทัศน์สำหรับบรรณารักษ์ (Librarian note) บรรณนิทัศน์ประเภทนี้ เป็นการจัดทำเพื่อแนะนำผู้อ่านอย่างละเอียดหรือเขียนขึ้น เพื่อประกอบการพิจารณาจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด การจัดทำบรรณานิทัศน์ประเภทนี้จึงมักค่อนข้างยาวและละเอียดกว่าบรรณนิทัศน์ สำหรับผู้อ่านทั่วไป
ตัวอย่าง
บรรณนิทัศน์สำหรับผู้อ่าน

หน้าสารบัญ