1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

งานบริการจ่าย - รับ

งานบริการทั่วไปของห้องสมุด เน้นการให้บริการทั่วไปแก่ประชาชน นักเรียน นัก ศึกษา ครูอาจารย์ที่เข้ามาใช้บริการ ของห้องสมุดเป็นงานที่จัดทำอยู่ตลอดเวลา

บริการจ่าย - รับ (งานบริการยืม - คืน หนังสือ)

งานบริการด้านนี้ บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้บริการอยู่ตลอดเวลา เพราะ บริการจ่าย-รับ หรือ บริการยืม - คืน หนังสือ เป็นงานห้องสมุดที่เกี่ยวกับการให้ยืมการติดตามทวงถาม การปรับ การเก็บสถิติต่าง ๆ ของงานจ่าย - รับ จัดระบบต่างๆ เพื่อให้การยืมและรับคืนมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ (จารุวรรณ สินธุโสภณ 2521:36) งานบริการจ่าย-รับ มีวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1.ทะเบียนผู้ยืมหนังสือ (Registration File) มีใบสมัครของผู้ยืมพร้อมรายละเอียดเรียงลำดับตามอักษร
2. บัตรยืม (Borrower Card) มีรายการชื่อผู้ยืม ที่อยู่เลขทะเบียนของผู้ยืมที่วางสำหรับลงรายการ วันส่ง วันยืมและวันที่ได้รับคืน
3.บัตรหนังสือ (Book Card) มีรายการเลขเรียกหนังสือ รายการชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ เลขทะเบียนหนังสือ
4. บัตรวันที่ (Date Slip) ผู้ประทับวันกำหนดส่ง ติดไว้ที่ใบรองปก พิมพ์กำหนดเวลาไว้ที่บัตรกำหนดส่ง และบัตรหนังสือ
5. ซองบัตร (Book Pocket) ใส่เลขเรียกหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ เลขทะเบียน
6. ตราประทับวันที่ และแท่นหมึก
7. บัตรนำวันที่ (Date Guide Card) เรียงการยืมประจำวัน
8. ใบหลักฐานการปรับ
9. แบบฟอร์ม สถิติการจ่าย-รับ
10. แบบฟอร์มหรือไปรษณียบัตรสำหรับทวงหนังสือเกินกำหนดส่ง

วิธีการยืม

ผู้ยืมส่งบัตรห้องสมุดของผู้ยืม ให้เจ้าหน้าที่พร้อมหนังสือ เจ้าหน้าที่ประทับวันยืมวันกำหนดส่งลงในบัตรผู้ยืม บัตรหนังสือเจ้าหน้าที่จะดึงออกมาจากซองมาประทับวันยืมวันกำหนดส่ง เขียนเลขประจำตัวผู้ยืม เก็บบัตรหนังสือไว้ ส่งบัตรผู้ยืมคืนเจ้าของบัตร บัตรหนังสือที่เก็บไว้ เมื่อสิ้นวัน นำมาแยกประเภทหนังสือสารคดี เรียงตามเลขหมู่ นวนิยายเรียง ตามลำดับอักษร ชื่อผู้แต่ง บัตรหนังสือแต่ละวันเรียงไว้หลังบัตรนำวันที่ยืมหรือวันกำหนดส่ง

วิธีการคืน

นำหนังสือส่งคืนพร้อมบัตรผู้ยืม เจ้าหน้าที่ตรวจดูว่าเกินกำหนดส่งหรือไม่ ถ้าเกินก็คิดค่าปรับ เจ้าหน้าที่จะประทับตราวันคืน ในบัตรผู้ยืม ส่งคืนเจ้าของบัตร หาบัตรหนังสือในที่เก็บหลังบัตรนำวันที่ ซึ่งตรงกับวันที่ในหนังสือ แล้วสอดเข้าซองบัตรหนังสือ นำไปขึ้นชั้น กรณีที่ผู้ยืมส่งคืนเป็นจำนวนมาก จะเก็บหนังสือไว้บนโต๊ะรับ-จ่าย หรือใส่รถเข็นหนังสือไว้ก่อน จนกว่าจะมีเวลาหาบัตรหนังสือ และสอดเข้าหนังสือเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้บริการจ่าย-รับดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ห้องสมุดทุกแห่งต้องวางระเบียบห้องสมุดนั้น ๆ เพื่อเป็นแนวปฎิบัติในการวางระเบียบต้องให้ความสะดวกในการยืม มากที่สุดและให้เหมาะสมกับประเภทของห้องสมุดด้วย เพราะจะได้แจกแจงรายละเอียดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุดนั้น ๆ ห้องสมุดทุกแห่งจะมีสาระสำคัญของระเบียบ เหมือน ๆ กัน เช่น


1. ผู้มีสิทธิยืม ห้องสมุดแต่ละแห่งมีระเบียบไม่เหมือนกัน เช่น ห้องสมุดวิทยาลัย ผู้มีสิทธิยืมก็คือ นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย ห้องสมุดโรงเรียนผู้มีสิทธิยืม คือ ครูและนักเรียน
2. ระยะเวลาการยืม โดยทั่วไปแล้วหนังสือจะยืมได้ 1 สัปดาห์ หรือ 5 วัน 3 วัน แล้วแต่ความเหมาะสมของหอ้งสมุดนั้น ๆ
3.จำนวนหนังสือที่ยืม ห้องสมุดแต่ละแห่งจะต้องกำหนดหนังสือที่จะให้ยืมแน่นอน เพราะจำนวนหนังสือแต่ละแห่ง มีจำนวนไม่เท่ากันถ้าอนุญาตให้ผู้ใช้ยืมครั้งละมากเล่ม อาจ จะมีปัญหาเรื่องอ่านไม่ทัน นำไปเก็บไว้เสียเวลาผู้ใช้คนอื่นที่ต้องการอ่าน
4. ลักษณะหนังสือที่ยืม หนังสือที่ให้ยืมได้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือทั่วไปสำหรับหนังสือ ที่ไม่อนุญาตให้นำออกนอกห้องสมุด ได้แก่ หนังสืออ้างอิง รวมทั้งพวกวารสารที่ใช้อ้างอิง เพราะว่ามีราคาแพงและมีความยุ่งยากมาก ถ้าหากขาดหรือทำลาย จะซื้อใช้ก็ราคาแพง บางครั้งก็หาซื้อไม่ได้จากท้องตลาดทั่วไป
5. หนังสือเกินกำหนดและการปรับ ในการยืมหนังสือจะต้องมีมากเกินกำหนดอยู่ เป็นประจำทุกห้องสมุด มีวิธีเดียวที่จะได้หนังสือคืนตามกำหนด ก็คือ การปรับ การปรับขึ้นอยู่กับนโยบายของห้องสมุด อาจจะปรับไม่เท่ากัน เช่น ปรับต่อวัน ต่อสัปดาห์ ราคาก็แล้ว แต่ความเหมาะสม การปรับราคาของหนังสือแต่ละประเภทก็ไม่เหมือนกัน เช่น หนังสือ ธรรมดาทั่ว ๆ ไป ราคาปรับถูกกว่าหนังสือจอง
6. บทลงโทษ เช่น การตัดสิทธิ์ผู้ยืมที่ไม่ทำตามคำตักเตือน

การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

ห้องสมุดประชาชนควรมีนโบบายให้สมาชิกทุกคนทำบัตรห้องสมุด และทำบัตรครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป แต่สมาชิกต้องนำบัตรมาต่ออายุบัตร ถ้าบัตรหมดหรือชำรุดมากแล้วขอทำใหม่ ต้องนำบัตรเก่ามาแสดงด้วย โดยไม่ต้องเสียค่าทำบัตรใหม่ ในการทำบัตรห้องสมุด ปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. สอบถามว่าเคยทำบัตรมาก่อนหรือไม่ หากเคยทำมาแล้ว ค้นเลขที่สมาชิกเดิม เขียนเลขที่สมาชิกเกิดที่หลังรูป และความจะต้องเสียค่าทำบัตรใหม่
2. สำหรับผู้ไม่เคยทำบัตร ลงชื่อในกระดาษรายชื่อผู้ขอทำบัตร ซึ่งลงลำดับที่วัน ที่ทำบัตร หมายเลขสมาชิก ชื่อ นามสกุล ชั้น วันที่นัดมารับบัตร หมายเหตุ (ลงชื่อผู้รับทำ และทำเครื่องหมายแสดงว่ารับบัตรไปแล้ว)
3. ให้สมาชิกเขียนชื่อ นามสกุล ที่หลังรูป และเขียนเลขสมาชิกหลังรูป
4. พิมพ์ชื่อ นามสกุล วันออกบัตร ประทับเลขทะเบียนที่บัตรบรรณารักษ์ลงชื่อ
5.นำกระดาษรายชื่อผู้ทำบัตรไปทำทะเบียนห้องสมุด โดยมีสมุดทะเบียนโดยเฉพาะซึ่งมีสมาชิก ชื่อ นามสกุล หมายเหตุ

หนังสือที่มีผู้ใช้มาก แต่มีจำนวนไม่พอเพียง ผู้ใช้ที่ต้องการใช้ควรแสดงความจำนงโดยการเขียนจองไว้ตามแบบห้องสมุด เมื่อเขียนจองแล้ว เจ้าหน้าที่จะหาบัตรหนังสือในกล่องบัตรยืมว่า หนังสือเล่มนั้นคืนเมื่อไร และนัดให้ผู้ใช้มารับในวันต่อจากกำหนดส่ง เจ้าหน้าที่ที่รับจองหนังสือนำใบจองหนังสือเสียบไว้ในบัตรหนังสือในกล่องบัตรยืม

ตัวอย่างแบบฟอร์มจองหนังสือ

ห้องสมุดประชาชน..................................
ชื่อผู้แต่ง............................................
ชื่อหนังสือ...........................................
ชื่อผู้จอง............................................
วันที่จอง..........................รับวันที่.....................
...................ผู้รับจอง

บริการหนังสือจองหรือหนังสือสำรอง

เนื่องจากผู้ใช้ต้องการศึกษาค้นคว้าหนังสือชื่อเรื่องนั้น ๆ พร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากทำให้หนังสือไม่พอกับจำนวนผู้ใช้ เพื่อบรรเทาความยุ่งยากและให้ทุกคนอ่านหนังสืออย่างทั่วถึง จึงจัดเป็นหนังสือจอง หนังสือจองคืน หนังสือทั่ว ๆ ไป ซึ่งนำมาเก็บไว้ในวันที่ เฉพาะและย่นเวลายืมให้น้อยกว่าหนังสือธรรมดาทั่วไป กำหนดให้ยืมอ่านในห้องสมุดทั้งวัน กำหนดเวลาที่อนุญาต ให้ยืมออกจากห้องสมุดได้ ด้วยการออกระเบียบอย่างเข้มงวด โดยทั่ว ๆ ไปกำหนดว่าใช้ในห้องสมุดได้เป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้วนำมาคืน ถ้าไม่มีผู้ใดต้องการอีกก็สามารถยืมไปอ่านต่อได้อีก 1 ชั่วโมง ถ้าต้องการยืมออกจากห้องสมุดก็ยืมได้เวลาที่ห้องสมุด ใกล้เวลาปิด และกำหนดส่งในวันต่อมาก่อนเวลาประมาณ 9.00 น. ถ้าส่งช้า ปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูง เช่น ปรับชั่วโมงละ 5 บาท เป็นต้น

หน้าสารบัญ