1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science
2 (2 - 0)
สื่อสารนิเทศย่อส่วน (Microforms)
ในบรรดาสารนิเทศต่าง ๆ ผู้ใช้ สารนิเทศจะเห็นข้อมูลจาการอ่านสารนิเทศ หรือได้สารนิเทศจากการฟัง มักเห็นสื่อสารนิเทศเป็นไปตามธรรมชาติ คือ ขนาดของสารนิเทศเป็นอย่างไร สายตาก็มองเห็นเป็นอย่าง นั้น มีสารนิเทศประเภทหนึ่งที่จัดทำเพื่อใช้ประโยชน์ในการได้สารนิเทศในรูปของการย่อ ส่วนลงมาในรูปร่างลักษณะของวัสดุย่อส่วน สื่อสารนิเทศย่อส่วนส่วนใหญ่ได้มาจากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ต้นฉบับย่อส่วนลงบนฟิล์ม หรือกระดาษทึบแสงหรือวัสดุอื่น ๆ ให้มีขนาดเล็กลงจนไม่สามารถอ่านด้วยตาเปล่าได้ ต้อง ใช้เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วน จึงเป็นสารนิเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ในการประหยัดงบประมาณ และประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บสารนิเทศประเภทอื่น ๆ เมื่ออยู่ในรูปของวัสดุย่อส่วน และจะอำนวยประโยชน์ต่อการใช้สารนิเทศเป็นอย่างมาก เช่น การอ่านต้นฉบับจากหนังสือ หายากในรูปวัสดุย่อส่วน ผู้ให้บริการสารนิเทศจะเกิดความสะดวกต่อการให้บริการมาก กว่าการให้อ่านจากตัวเอกสารเดิมซึ่งมีค่าและหายาก (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 159) สื่อสารนิเทศย่อส่วนนับว่าเป็นเทคโนโลยีข้อมูลที่สำคัญและทวีบทบาทในการเป็นข้อมูลสารนิเทศที่สำคัญในปัจจุบัน สื่อสารนิเทศย่อส่วนที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
1. ไมโครฟิล์ม (Microfilms) มีลักษณะเป็นฟิล์ม ได้จากการถ่ายภาพ สารนิเทศต้นฉบับต่าง ๆ ลงบนฟิล์มโปร่งใสไม่มีหนามเตย มีความกว้างของฟิล์มหลายขนาด เช่น 8 มม., 16 มม., 35 มม. หรือ 70 มม. (Young 1983 : 144) แต่ขนาดที่ นิยมใช้กันมาก ได้แก่ 16 มม. และ 35 มม. ไมโครฟิล์มแต่ละม้วนมีความยาวไม่จำกัด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความยาวประมาณ 100ฟุต ถ้าถ่ายจากขนาด 16 มม. สามารถถ่ายสิ่งพิมพ์ได้ประมาณ 2,300 หน้า และขนาด 35 มม. จะถ่ายได้ประมาณ 1,000-1,2000 หน้า (นงลักษณ์ สุวรรณกิจ 2528 : 2) ศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ มักใช้ประโยชน์จากการใช้ไมโครฟิล์มในการให้บริการข้อสนเทศซึ่งอยู่ในรูปของหนังสือเก่าหรือหนังสือต้นฉบับอื่น ๆ ที่มีค่าเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเอกสารจริงดังเช่น การให้บริการในหอสมุดแห่งชาติ หรือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไมโครฟิล์มอาจย่อจากต้นฉบับลงได้ประมาณ 15:1 ถึง 40: 1 มีทั้งชนิดพอซิทีฟ เนกาทิฟ และไมโครฟิล์มสี
2. ไมโครฟิช (Microfiche) มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม ได้จาการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มโปร่งใสด้วยวิธีการย่อข้อความ จากต้นฉบับในอัตราส่วน 15:1 ถึง 40:1 ไมโครฟิชมีหลายขนาดตั้งแต่ 3"x5" ถึง 6"x8" หรือใหญ่กว่านั้น ส่วนบนของแผ่นไมโคร ฟิชจะให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า (Prytherch 1987 : 507) ไมโครฟิชแต่ละขนาดจะมีจำนวนแถวของกรอบภาพต่างกัน ออกไป เช่น ขนาดมาตราฐาน 4"x6" (105x148 มม.) มีภาพถึงประมาณ 98 หน้า (นงลักษณ์ สุวรรณกิจ 2528 : 2) ส่วนขนาดอื่น ๆ อาจบรรจุภาพที่ย่อได้แล้วประมาณ 60-200 ภาพ ในแต่ละแผ่น ไมโครฟิชอาจเป็นแผ่นฟิล์มพอซิทิฟ อัดและตัดต่อจากชิ้นส่วนของ ไมโครฟิล์ม หรืออาจเป็นชิ้นส่วนที่ตัดออกจากม้วนไมโครฟิล์มขนาด 70 มม. หรืออาจผลิต เป็นไมโครฟิชโดยตรง แต่ละภาพจะอ่านหรือดู หรืออัดขยายด้วยเครื่องอ่านและพิมพ์ไมโครฟิล์ม หรือเครื่องอ่านไมโครฟิช สารนิเทศที่บันทึกในรูปของไมโครฟิช ที่มีความหนาเพียง 1 นิ้ว สามารถจัดเก็บสารนิเทศต่าง ๆ ได้ประมาณ 25,000 หน้า (Orilia 1986 : 132) นับว่ามีประโยชน์ต่อการให้บริการข้อมูลในศูนย์สารนิเทศและห้องสมุดต่าง ๆ เป็น การประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสารตัวจริงได้เป็นอย่างมาก
3. อุตราฟิช (Ultrafiche) หรืออุลตราไมโครฟิช (Ultra-Microfiche) คือไมโครฟิชที่ย่อส่วนลงบนขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มขนาด 4.x6" สามารถบรรจุข้อความย่อส่วนจากหนังสือได้ประมาณ 3,000 หน้า (Prytherch 1987 : 810) ซึ่งอำนวยความสะดวกอย่างยิ่งต่อการถ่ายสารนิเทศในการใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก
4. บัตรอเพอร์เจอร์ (Aperture Card) มีลักษณะเป็นบัตรแข็ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3 1/4" x 7 1/2" หรือบัตรข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาด 80 คอลัมน์ที่มี กรอบภาพย่อส่วนเพียงกรอบเดียว สำหรับไมโครฟิล์มขนาด 16, 35 หรือ 70 มม. ส่วน ใหญ่มักใช้ขนาด 35 มม. และมีความยาวของฟิล์มประมาณ 1.9 นิ้ว ส่วนบนของบัตรอาจมีการเจาะรหัสเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ใ นการเรียกค้นสารนิเทศจากบัตรนี้ได้ บัตรอเพอร์เจอร์เป็นสื่อสารนิเทศที่สามารถนำมาใช้ กับงานบางประเภท เช่น งานพิมพ์เขียว งานเขียนแบบ ทางวิศวกรรม งานทะเบียนนักศึกษา ระเบียนของโรงพยาบาล (นงลักษณ์ สุวรรณกิจ 2528 : 3) และงานอื่น ๆ บัตรอเพอร์เจอร์อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Peephole card (Prytherch 1987 : 31)
5. ไมโครโอเปค (Micro-opaque) เป็นสื่อสารนิเทศที่ได้มาจากการพิมพ์สิ่งพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของต้นฉบับ ลงบนกระดาษทึบแสง
เรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อทางการค้า (นงลักษณ์ สุวรรณกิจ 2528 : 2) และแตกต่างตามขนาดที่จัดทำ เช่น
1. ไมโครคาร์ด (Microcard) เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของบริษัท Microcard Corporation มีขนาด 3"x5" และ 4"x6" โดยการพิมพ์ระบบออฟเซท จาก
ไมโครฟิล์มขนาด 16 มม. หรือ 35 มม. และใช้อัตราส่วนย่อประมาณ 20 : 1
ไมโครคาร์ดขนาด 4"x6" อาจบรรจุสิ่งพิมพ์ได้ประมาณ 36-48 ภาพหรือมากกว่านั้นได้
2. ไมโครพริ้นท์ (Microprint) มีขนาด 6"x9" พิมพ์โดยใช้ระบบออฟเซทเช่นเดียวกับไมโครคาร์ด บรรจุสิ่งพิมพ์ได้ประมาณ 100 หน้า
3. ไมโครเล็กซ์ (Microlex) มีขนาด 6 1/2 " x 8 1/2 "
4. มินิพริ้นท์ (Mini-print) มีขนาด 6"x9" ไมโครโอเปคแตกต่างจากสารนิเทศย่อส่วนชนิดอื่นเพราะใช้วิธีพิมพ์ด้วยระ
บบออฟเซทลงบนกระดาษทึบแสง แทนที่จะถ่ายลงบนฟิล์ม และสามารถถ่ายได้ทั้ง 2 หน้า ไม
โครโอเปคต้องใช้เครื่องอ่านซึ่งแตกต่างจากเครื่องอ่านสารนิเทศย่อส่วนอื่น ๆ
6. แผ่นซีดีรอม (Compact Disc-Read Only Memory : CD-ROM) เป็นสื่อสารนิเทศชนิดใหม่ ยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ใช้คำนี้ในภาษาไทย บางแห่งจึงทับศัพท์เรียกว่า แผ่นซีดีรอม หรือเรียกว่า แผ่นสารนิเทศ เนื่องจากเป็นวัสดุสารนิเทศที่ให้ข้อมูลได้ทุกด้าน และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา แผ่นซีดีรอม เป็นวัสดุสารนิเทศที่พัฒนามาจากแผ่นเสียงเลเซอร์ซึ่งเริ่มประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.2513 ต่อมาพัฒนาเป็นแผ่นซีดี-ไอ (Compact Disc Interactive) และแผ่นซีดีวี (Compact Disc Video) จนกระทั่งมาเป็นแผ่นซีดีรอม (Saviers 1987 : 288-289) และมีบทบาทต่อสังคมสารนิเทศมากกว่าวัสดุสารนิเทศใด ๆ ในปัจจุบัน
ตัวแผ่นซีดีรอม เป็นดิสก์หน้าเดียว ไม่มีแบบ 2 หน้า เหมือนดิสก์ทั่ว ๆ ไป ขนาดของแผ่นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.72 นิ้ว หรือ 120 มม. มีรูศูนย์กลางแผ่นกว้าง 0.59 นิ้ว หรือ 15 มม. ตัวแผ่นจานจะทำด้วยอลูมิเนียมและเคลือบกับคอมแพคดิสก์ที่ใช้ระบบ เสียงไฮไฟแต่ต่างกันตรงที่ตัวกลางประกอบด้วยแทรคข้อมูลที่มีลักษณะขดเป็นวง เมื่อวัดความยาวของแทรคที่เป็นวงขดแล้วจะมีความยาวถึง 3 ไมล์ โดยจะมีจำนวน 16,000 รอบต่อนิ้ว แต่ละส่วน (sector) ของข้อมูลมีความจุ 2,000 ไบท์ กินเนื้อที่ของความยาว 3 /4 นิ้ว (ฤทธิชัย เตชะมหัทธนันท์ 2530: 20-21) วิธีบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นสารนิเทศทำได้โดยเก็บข้อมูลลงบนพื้นที่เล็ก ๆ ด้วยลำแสงเลเซอร์ โดยการรวมลำแสงให้เป็นลำเล็กมาก ฉายลงไปบนพื้นผิวที่เก็บข้อมูลพื้นผิวนี้เป็นชิ้นของสารที่ไวต่อปฏิกริยา สารนี้ เป็นโลหะผสม เช่น ทองคำขาว ทองคำเงิน เป็นต้น จะถูกฉาบไว้บาง ๆ บนผิวของแผ่นโลหะ เมื่อถูกแสงบริเวณนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ข้อมูลจึงถูกบันทึกลงไว้ตามลักษณะของลำแสง การอ่านข้อมูลกลับออกมาทำได้โดยใช้ลำแสงเลเซอร์พลังงานต่ำส่องลงไปบริ เวณพื้นผิวที่ได้บันทึกข้อมูลไว้จะสะท้อนลำแสงแตกต่างไปจากบริเวณข้างเคียง และส่งสัญญาณสะท้องกลับออกมาเป็นสารนิเทศที่ต้องการ (เพ็ญศรี ก๊วยสุวรรณ 2529 :784)แผ่นซีดีรอมมีลักษณะพิเศษประจำตัว คือ สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลใหม่หรือข้อมูลเดิมที่มีอยู่ก่อนได้ ลักษณะพิเศษนี้มีส่วนดีในด้านความคงทนของสารนิเทศที่บันทึกไว้ จะไม่ถูกลบทิ้งโดยความจงใจหรือความพลั้งเผลอใด ๆ ดังเช่นดิสก์หรือเทปแม่เหล็กทั้งหลาย แผ่นซีดีรอมมีข้อบกพร่องที่อ่านสารนิเทศ ได้อย่างเดียว แต่เขียนข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้ (ณรงค์ ป้อมบุปผา 2531 : 28) การปรับปรุงสารนิเทศ จึงจำเป็นต้องใช้แผ่นซีดีรอมแผ่นใหม่ ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณเพิ่มเติม คุณค่าของแผ่นซีดีรอมมีอย่างล้นเหลือ ทั้งนี้เพราะแผ่นซีดีรอมเพียงแผ่นเดียวมีความสามารถในการจัดเก็บสารนิเทศได้ถึง 500 เมกกะไบท์ หรือมากกว่านี้เทียบเท่า กับจำนวนหน้าหนังสือประมาณ 250,000 หน้า หรือเทียบเท่าแผ่นดิสก์ธรรมดา จำนวนประมาณ 1,500 แผ่น หรือแผ่นดิสก์ขนาดหนา (Hard discs) ประมาณ 50 แผ่น (Dodson 1987 : 191) คุณค่าในการบรรจุสารนิเทศอันมหาศาลนี้เองทำให้สังคมข่าวสารแคบลง ขจัดปัญหาในเรื่องการค้นหาสารนิเทศ ทั่วทุกมุมโลกได้ ศูนย์สารนิเทศตลอดจนห้องสมุดโดยทั่วๆไป ในปัจจุบันต่างพากันมาใช้แผ่นซีดีรอม เพื่อการสืบค้นข้อมูลกัน อย่างกว้างขวาง ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันมีโครงการทดลองใช้แผ่นซีดีรอม (L.C.Optical Diso Pilot Program) ประกอบด้วยโครงการสิ่งตีพิมพ์ ซึ่งจะเก็บตัวบทความจากวารสารต่าง ๆ และโครงการสิ่งไม่ตีพิมพ์ ซึ่งจะเก็บภาพต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพร่าง การ์ตูน ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และการบันทึกเสียงต่างๆ (เพ็ญศรี ก๊วยสุวรรณ 2529 : 784) แผ่นซีดีรอมจึงนับว่าเป็นสื่อสารนิเทศที่พัฒนามาใช้ได้ เหมาะสมกับสภาพการทะลักทลายของข่าวสารในสังคมสารนิเทศในปัจจุบัน
หน้าสารบัญ