1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

สื่อสารนิเทศลายลักษณ์อักษร

การใช้สื่อเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสังคมได้กระทำมาอย่างต่อเนื่องเมื่อ ครั้งแรกเริ่มเกิดสังคมกลุ่มแรกในโลก การติดต่อสื่อสารได้มีลำดับพัฒนาการจากสังคมที่มี ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายกลายมาเป็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อน สื่อข้อมูลหรือสื่อสารนิ เทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ในสังคมต้องเกิดการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในการติดต่อสื่อ สารซึ่งกันและกัน สื่อสารนิเทศในสังคมข่าวสารปัจจุบัน มีความหมายไม่เพียงแต่เพื่อการติดต่อสื่อสารหากแต่ยังมีความหมาย เพื่อการอ่าน เพื่อการศึกษาค้นคว้า เพื่อการจัดเก็บและการสืบ ค้นข้อมูลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
สื่อลายลักษณ์อักษร เป็นสารนิเทศประเภทแรกที่คนใน สังคมได้ถ่ายทอดข้อความ ข่าวสาร ด้วยการจดบันทึกตั้งแต่ครั้งยังไม่เกิดตัวอักษรจนกระทั่ง มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นภาษาต่าง ๆ วิวัฒนาการของสื่อสารนิเทศชนิดแรก ๆ ของโลก คงเป็นสื่อลายลักษณ์อักษร คือ สื่อที่เขียนด้วยตัวหนังสือ หรือภาพบนวัสดุต่าง ๆ เช่น จากการขีดเขียนไว้ตามฝาผนังถ้ำ จนกระทั่งจารึกในวัสดุอื่น ๆ ภายหลัง เช่น ไม้ และกระดาษ เป็นต้น ตัวหนังสือหรือตัวอักษร มีวิวัฒนาการมาจากภาษาท่าทางและภาษาพูด พบหลัก ฐานของตัวหนังสือหรือตัวอักษรจากตามถ้ำและโบราณในแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ ทำให้ ทราบว่าตัวหนังสือได้วิวัฒนาการไป ตามความคิดของมนุษย์ซึ่งค่อย ๆ เจริญก้าวหน้าไปโดยลำ ดับ วิวัฒนาการของสื่อลายลักษณ์อักษรได้พัฒนามาหลายรูปแบบ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ 2527 : 6-28) พอสรุปได้ดังนี้
    1. หนังสือเขียนด้วยภาพ (Pictograph หรือ Picture writing) เป็นการสื่อสารนิเทศ ด้วยการเขียนภาพลงบนฝาผนังถ้ำ ภาพที่เขียนส่วนใหญ่มักเป็นภาพ สัตว์แต่ภายหลังเขียนเป็นภาพคน สิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ พิสิฐ เจริญวงศ์ (2532 : 81-82) ได้สำรวจพบหนังสือเขียนด้วยภาพตามถ้ำต่าง ๆ ได้เรียกชื่อว่า ศิลปะถ้ำ อธิบายถึง เทคนิคการทำว่ามีอยู่ 2 วิธี คือ
    1.1. ลงสี (Pictograph) เป็นการสร้างภาพด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเขียนด้วยก้อนสี แท่งสี อย่างก้อนดินเทศ ถ่าน หรือชอล์ก หรือเขียนระบายเป็นรูป พ่นสี สะบัดสี และการทาบหรือประทับลงไปบนพื้นหรือผนังให้เกิดรูป
    1.2. การทำรูปรอยลงในหิน (Petroglyph) เป็นการสร้าง รูปรอยตั้งแต่ การฝน การจาร การขูดขีด การแกะหรือการตอก เป็นต้น เป็นที่น่าภูมิใจที่พบหลักฐานสื่อสารนิเทศประเภทลายลักษณ์เป็น จำนวนมากในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความสามารถของการสื่อสาร ของคนไทยในอดีต ที่ผ่านมา
    2. หนังสือเขียนด้วยเครื่องหมายแทนความนึกคิด (Ideograph) เป็น การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของคนด้วยการเขียน เป็นเครื่องหมาย ที่มีข้อตกลงในสังคม หนัง สือประเภทนี้ ได้แก่ อักษรคูนิฟอร์ม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส และยูเฟรติส ผู้ประดิษฐ์หนังสือชนิดนี้ ได้แก่ อักษรสุเมเรียน อักษรเฮียโรกลิฟฟิก ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจาก แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ผู้ประดิษฐ์ คือชาวอียิปต์ และอักษรจีนซึ่งใช้กันในประเทศจีน
    3. หนังสือเขียนตามเสียงพูด (Syllabary หรือ Phonetic writing) เป็นการพัฒนาการเขียนโดยนำเอาตัวหนังสือเดิม ซึ่งเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วมาใช้ โดยเอาผสมกันให้ได้เสียงตามเสียงของคำที่ต้องการ ก็จะได้คำใหม่ขึ้นมา เช่น คำว่า "ความเชื่อ" ในภาษาอังกฤษก็ใช้เสียงคำว่า ผึ้ง + ใบไม้ เป็น Bee + leaf = Belief เป็นต้น
    4. หนังสือเขียนตามฐานเกิดของเสียง (Alphabet) เป็นการใช้เครื่อง แทนเสียงที่เกิดจากฐานเกิดของเสียงแต่ละหน่วย เครื่องหมายหนึ่งก็ใช้แทนเสียงจากฐาน เกิดที่หนึ่ง เครื่องหมายนี้ก็คือ ตัวอักษรแต่ละตัวที่ใช้กันอยู่ในภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกขณะนี้นั่น เอง ซึ่งประกอบไปด้วยพยัญชนะ และสระ รวมกันเรียกว่า ตัวอักษร กลายมาเป็นบ่อเกิด ของการบันทึกสารนิเทศทั้งประเภท ลายลักษณ์อักษร และประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน
    5. หนังสือลาน เป็นหนังสือลายลักษณ์รุ่นแรกของไทย จัดทำขึ้นจากใบ ลาน เรียกว่า คัมภีร์ใบลาน หรือหนังสือลาน ซึ่งอาศัยการบันทึกหรือการจารลงในใบลาน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ 2527 : 65) ข้อมูลที่บันทึกในคัมภีร์ใบลานส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยว กับพระไตรปิฎก หนังสือลานหน้าหนึ่ง ๆ มีประมาณ 5 บรรทัด จารทั้ง 2 หน้า หนังสือลานเล่มหนึ่ง ๆ เรียกว่า ผูกหนึ่ง มีประมาณ 24 ใบลาน แต่ละ ผูกร้อยด้วยเชือกถัก ซึ่งเรียกว่า สายสนอง ร้อยตามรูที่เจาะไว้ ผูกเป็นหูทางด้านซ้าย ส่วนอีกด้านหนึ่งเว้นไว้เพื่อสะดวก ในการพลิกไปมา
    6. สมุดไทย เป็นหนังสือที่ใช้กระดาษยาวต่อเนื่องเป็นแผ่นเดียว ทำเป็น เล่มโดยพับกลับไปกลับมาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ไม่มีการเย็บเล่มเหมือนหนังสือในปัจจุบัน กระดาษทำ จากเปลือกข่อย จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า สมุดข่อย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ หนังสือบุดขาวมี เนื้อกระดาษสีขาวเขียนด้วยหมึกดำ และหนังสือบุดดำมีเนื้อกระดาษสีดำเขียนด้วยสีขาว หรือ สีรงค์เหลือง หรือรงค์ทอง (วิเชียร ณ นคร และคนอื่น ๆ 2521 : 162) ในปัจจุบันคำว่า "สมุด" เปลี่ยนแปลงความหมายไป
    7. หนังสือราชการ เป็นหนังสือที่หมายถึงจดหมายที่มีไปมาในระหว่าง ราชการหรือหนังสือราชการนั่นเอง ความหมายของหนังสือราชการมีใช้อยู่หลายคำ เช่น ศุภอักษร สารตรา ท้องตรา และใบบอก เป็นต้น สื่อประเภทลายลักษณ์อักษร นอกเหนือจากที่กล่าวมา และมีความสำคัญต่อ การสื่อสารเนื่องจากเป็นบันทึกข้อมูล เป็นเอกสารสำคัญส่วนบุคคล ได้แก่ จดหมายส่วนบุคคล บันทึกส่วนตัว บันทึกความทรงจำ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารนิเทศที่จดบันทึกด้วย ตัวอักษรด้วยการวาด หรือด้วยการเขียนสารนิเทศประเภทนี้จึงมีเป็นจำนวนมาก

หน้าสารบัญ