1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

การเผยแพร่สารนิเทศระดับประเทศ

ถึงแม้ว่าการใช้สารนิเทศจะมีจำนวนมากในสังคมสารนิเทศในปัจจุบัน แต่ปัญหาการใช้สารนิเทศยังคงมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ ได้แก่ ปัญหาเรื่องการไม่รู้สารนิเทศเกี่ยวกับการใช้สารนิเทศในชีวิตประจำวัน ในประเทศไทยมีปัญหาต่อการใช้สารนิเทศเช่นเดียว กัน ประชาชนส่วนใหญ่ยังไร้โอกาสที่จะมีหนังสือ และสื่อสารนิเทศอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน กองหอสมุดแห่งชาติจึงได้จัดประชุมเรื่องการกระจายสิ่งพิมพ์ให้ทั่วถึงให้สอดคล้องกับแผนงานกระจายหนังสือ และสื่อความรู้ให้ทั่งถึงทุกคนในโลกขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2530 (กองหอสมุดแห่งชาติ 2530 : 1) ผลการประชุมสัมมนาสรุปได้ว่า กองหอสมุดแห่งชาติ ควรทำหน้าที่ในการให้บริการ และเผยแพร่สารนิเทศที่สำคัญของประเทศ โดยหอสมุดแห่งชาติ ควรทำหน้าที่ในการให้บริการยืมทั่วไป และควรเป็นศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารนิเทศในระดับประเทศ เพื่อกระจายความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ทันกาลเวลา (กองสมุดแห่งชาติ 2523 : 13-15) ในแนวปฎิบัติปัจจุบัน กองหอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่ในการบริการและเผยแพร่สารนิเทศที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การบริการบรรณานุกรมแห่งชาติ( National Bibliography Services )หอสมุดแห่งชาติได้ริเริ่มจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มวางระบบรวมกับศูนย์ประมวลผลด้วยเครื่องจักรแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติ แห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และในเวลาเดียวกันได้ติดต่อขอใช้เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ไปยังศูนย์ใหญ่ที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมันตะวันตก เพื่อใช้เลข ISBN เป็นเลขเอกลักษณ์ประจำข้อมูลแต่ละชื่อเรื่อง ศูนย์เลขสากลได้กำหนดรหัสประเทศคือ "974" ให้กับประเทศไทย และให้หอสมุดแห่งชาติเป็นศูนย์เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือแห่งชาติของประเทศไทย ทำหน้าที่เผยแพร่การใช้เลข ISBN ในประเทศ และกำหนดเลขรหัสของสำนักพิพม์ให้แก่สำนักพิมพ์ของประเทศด้วย (สุวคนธ์ ผดุงอรรค และกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ 2529 : 175-177) หอสมุดแห่งชาติได้เผยแพร่การใช้เลข ISBN ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา โดยให้บริการเลขดังนี้
    1. การกำหนดหมายเลข ISBN ให้แก่สำนักพิมพ์เป็นบล๊อก และทางสำนักพิมพ์จะต้องรับผิดชอบในการกำนดเลข ISBN แต่ละชุดให้แก่หนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้น จัดทำทะเบียนเลข ISBN ที่ได้กำหนดให้แก่หนังสือไปแล้ว ตลอดจนรายงานการใช้เลขมายังศูนย์เลข ISBN แห่งชาติ คือ หอสมุดแห่งชาติ
    2. บริการเลข ISBN ณ ส่วนสำนักงาน โดยสำนักงานหรือบุคคลสามารถไปขอเลข ISBN ให้แก่หนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นได้ ณ งานเทคนิคระบบคอมพิวเตอร์ หอสมุดแห่งชาติ โดยเจ้าหน้าที่ของงานเทคนิคฯ และได้เก็บข้อมูลเป็นหลักฐานไว้ เจ้าหน้าที่จะได้กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มการแจ้งกำหนดหมายเลข ISBN หรือเป็นหลักฐานให้กับผู้มาขอเลข
    3. การบริการเลข ISBN ทางไปรษณีย์ สำนักพิมพ์ หน่วยราชการ สถาบันและ องค์การต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด สามารถขอเลข ISBN ทางจดหมายได้ โดยเจ้าหน้าที่จะกำหนดหมายเลข ISBN ให้โดยกรอกแบบฟอร์มหนังสือแจ้งตอบการกำหนด หมายเลขและถ้ามีรายชื่อหนังสือหลายเล่ม จะได้กรอกรายละเอียดแบบฟอร์มการแจ้งกำหนดหมายเลข ISBN เพิ่มเติมแนบส่งไปให้แก่ผู้ขอ
    4. การบริการเลข ISBN ทางโทรศัพท์ สำนักพิมพ์ หน่วยราชการ สถาบันและ องคฺ์การต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด สามารถขอเลข ISBN ทางโทรศัพท์ได้โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ คือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อชุด พิมพลักษณ์ บรรณลักษณ์ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง เจ้าหน้าที่จะได้กรอกรายละเอียดใส่แบบฟอร์ม การขอใช้เลข ISBN และกำหนดหมายเลข ISBN ให้แก่หนังสือเล่มนั้น ๆ ให้แก่ผู้ขอทาง โทรศัพท์

หอสมุดแห่งชาติได้จัดพิมพฺ์เอกสารชื่อ รายชื่อหนังสือใหม่ที่กำหนดเลข ISBN (List of New Books Assigned ISBN) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา โดยจัดพิมพ์เป็นรายเดือนเพื่อเผยแพร่ในการให้บริการสารนิเทศแก่หน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง และสะดวกต่อการจัดหาหนังสือในศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ (กองหอสมุดแห่งชาติ 2530 : 3) นับว่าเป็นบริการที่เป็นประโยชน์ ต่อการกระจายสิ่งพิมพ์สารนิเทศ

2. การบริการข้อมูลวารสารระหว่างประเทศ (International Serials Data System-ISDS) หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูล วารสาร ระหว่างชาติระดับประเทศ (ISDS National Center for Thailand) เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดหมายเลขมาตรฐานสากล ประจำวารสาร (International Standard Serial Number-ISSN) ขึ้น (ธารา กนกมณี 2529 : 163) นอกจากนี้หอสมุดแห่งชาติประ เทศไทยยังดำเนินงานเป็นศูนย์วารสารระหว่างชาติแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ISDS Regional Center for Southeast Asia) อีกด้วย โดยมีประเทศสมาชิกที่เป็นศุนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับประเทศ 5 ประเทศ คืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) เป็นรหัสเฉพาะที่กำหนดให้แก่สิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร แต่ละรายชื่อ มีความมุ่งหมายเพื่อใช้สำหรับค้นข้อมูลวารสาร การแลกเปลี่ยนวารสาร หรือการติดต่อต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร ให้เป็นไปอย่างถูกต้องสะดวก รวดเร็วและประหยัด

หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประกอบด้วยตัวเลขอารบิค 8 ตัว ตั้งแต่ เลข 0 ถึง 9 ยกเว้นเลขตัวทุดท้าย ซึ่งบางครั้งจะเป็นตัวอักษร X ตัวใหญ่ ของภาษาอังกฤษ หมายเลข 8 ตัวนี้จะต้องขึ้นต้นด้วยอักษรย่อ ISSN เสมอ การเขียนเลข 8 ตัวจะแบ่งตัวเลขออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว มีเครื่องหมายขีด (-) คั่นกลาง

ตัวอย่าง ISSN 0125-1678

    (วารสารสาธารณสุขศาสตร์)
    ISSN 0857-037X
    (วารสารภาษาและวรรณดคีไทย)

หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสารหมายเลขหนึ่ง จะกำหนดให้กับวารสารชื่อหนึ่งเท่านั้น ไม่ว่าจะพิมพ์ด้วยภาษาใด หรือพิมพ์ในประเทศใดก็ตาม หมายเลขแต่ละตัวไม่มีความหมายพิเศษอันใด นอกจากจะใช้สำหรับกำกับวารสารแต่ละชื่อเท่านั้น

ประโยชน์ของหมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร

การดำเนินการให้หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสารของหอสมุดแห่งชาติจะมีประโยชน์ต่อการให้บริการสารนิเทศ ประเภทวารสารดังต่อไปนี้

    1. ส่งเสริมให้วารสารแพร่หลายเป็นประโยชน์แก่ผู้ประสงค์จะใช้ทั่วโลกเพราะรายชื่อวารสารพร้อมด้วยหมายเลขมาตรฐานสากล ประจำวารสารจะอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารระหว่างชาติ (International File) ณ ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับ สากล (ISDS International Center) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพร้อมที่จะให้บริการข้อมูลวารสารดังกล่าวแก่สมาชิกทั่วโลก
    2. ทำให้การติดต่อระหว่างผู้พิมพ์และผู้ใช้วารสารทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว โดยมีหอสมุดแห่งชาติเป็นสำนักงานของศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยเป็นตัวกลาง
    3. ช่วยให้นักศึกษา นักวิชาการ บุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลทางวาสารทุกสาขาวิชาการจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน

3. การให้บริการแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (National Libraries and Documentation Center for Southeast Asia Consortium - NIDC - Sea Consortium) บริการนี้เป็นงานที่หอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินงานแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการ ข้อมูลและเพิ่มพูนปริมาณสิ่งพิมพ์ เอกสารและ วัสดุห้องสมุดให้แก่ หอสมุดแห่งชาติ และห้องสมุดข่ายงานต่าง ๆ (อุทัย ทุติยะโพธิ์ 2531 : 130) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนสารนิเทศที่สำคัญของประเทศ

หอสมุดแห่งชาติได้จัดพิมพ์เอกสารชื่อ "รายชื่อหนังสือ วารสาร และโสตทัศนวัสดุ ที่หอสมุดแห่งชาติได้รับ (List of books, Serials and Audio Visual Materials Received by the National Library of Thailand) เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่รายชื่อสารนิเทศต่าง ๆ (กองหอสมุดแห่งชาติ 2531) เอกสารเล่มนี้ได้จัดทำแทนรายชื่อเดิมที่มีชื่อว่า รายชื่อหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติได้รับ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2511

หอสมุดแห่งชาติจึงนับว่าเป็นหน่วยงานในระดับชาติที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการและเผยแพร่สารนิเทศ ในประเทศที่สำคัญยิ่ง

หน้าสารบัญ