1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science
2 (2 - 0)
พัฒนาการของสารนิเทศ
พัฒนาการของสารนิเทศจากการบริการของห้องสมุด
ห้องสมุดนับเป็นศูนย์รวมวิชาการของการสื่อสารนิเทศในยุคแรกเริ่มมีการบันทึก สารนิเทศด้วยตัวอักษร
ประวัติของห้องสมุดควบคู่ไปกับประวัติของการเขียนหนังสือ พัฒนา การของการบันทึกสารนิเทศย้อนหลังไปกว่า 6,000 ปี
มนุษย์ในสังคมสารนิเทศยุค แรกจดหรือบันทึกสารนิเทศบนกระดูก แผ่นดินเหนียว โลหะ ขี้ผึ้ง ไม้ กระดาษปาไปรัส ผ้า ไหม ขนสัตว์ หนังสัตว์
จนกระทั่งสารนิเทศได้พัฒนาในระยะหลังด้วยการบันทึกลงบน กระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก และแผ่นจานแม่เหล็กในปัจจุบัน
สารนิเทศในยุคแรก ๆ แม้กระทั่งในปัจจุบัน เป็นสารนิเทศที่ได้จากการอ่าน การศึกษาค้นคว้า การรวบรวม
และการให้บริการจากบรรณารักษ์ในห้องสมุดต่าง ๆ ซึ่งได้มี วิวัฒนาการจัดตั้งมาตั้งแต่ห้องสมุดยุคแรก ๆ จนกระทั่งห้องสมุด
ยุคใหม่ในระยะหลังอันยาวนาน ที่ผ่านมาห้องสมุดที่ให้บริการสารนิเทศจัดแบ่งตามลักษณะสารนิเทศที่จัดเก็บพอแบ่ง
ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.ห้องสมุดดินเหนียว (Libraries of Clay หรือ House of Clay Tablets) เป็นห้องสมุดยุคแรกที่เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรเมโสโปเตเมียโบราณเรือง
อำนาจซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก ซีเรีย และตุรกี ประชาชนชาวเมโสโปเตเมีย ได้ค้นพบวิธีการจดสารนิเทศให้คงทนอยู่ได้นาน
ด้วยการขีดเขียนอักษร ลงบนแผ่นดินเหนียวซึ่ง เปียกอยู่แล้วนำไปทำให้แห้งหรือเผากลายเป็นสารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ของคนในชาติยุคนั้น (Atherton
1981 : 228 g) และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของคนในปัจจุบัน
- มีการสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บรักษาแผ่นดินเหนียวในวัด ในวัง ในบ้าน และที่ทำ การของรัฐบาล เรื่องราวส่วนใหญ่ที่บันทึก ได้แก่ วรรณกรรม นิยาย
กาพย์ กลอน ต่าง ๆ และเรื่องราวทางศาสนา เช่น การสดุดีเทพเจ้า เพลงสวด วรรณกรรมที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลาย คือ มหากาพย์กิลกาเมซ
(Gilgamesh Eqic) ซึ่งกล่าวถึงการผจญภัย ของกษัตริย์ในเทพนิยายของนครเออรุค เขียนลงแผ่นดินเผาขนาดใหญ่ 12 แผ่น รวมทั้งสิ้น 3,000บรรทัด
ผลงานที่ค้นพบจากแผ่นดินเหนียวของชาวบาบิโลเนียนที่น่าสนใจ ได้แก่ เรื่อง ประมวลกฏหมายฮัมมูราบี (The code of Hammurabi)
ซึ่งนับว่าเป็นกฏหมาย ฉบับแรกของโลก ห้องสมุดดินเหนียวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ห้องสมุดประจำวิหารของนาบู ใน สมัยของพระเจ้าซาร์กอนที่ 2
- เมื่อประมาณ ค.ศ. 1850 นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ค้นพบแผ่นดินเหนียว หลายพันแผ่นที่เมืองนิเนเวห์ (Nineveh)
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอัลซิเรีย สันนิษฐานว่าเป็นแผ่นดินเหนียวในสมัยของพระเจ้าเซ็นนาเชอริน (King Senna Cherib of Assyria)
ซึ่งครองราชสมบัติราวปี 704-681 ก่อนคริสตกาล และหอสมุดที่ได้รับ การยกย่องและเป็นที่รู้จักกันมากคือ
หอสมุดกรุงนิเนเวห์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัสเซอร์บา นิปาล (Ashurbanipal) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรอัสซีเรีย เพราะได้พบแผ่นดิน
เหนียวประมาณ 25,000 แผ่น (Francis 1980 : 856) เป็นจารึกเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ศาสนา ได้แก่ เรื่องราวของเพลงสวด
นิยายปรำปราเกี่ยวกับมหาอุทกภัยและ การสร้างโลก เรื่องราวจารึกทางด้านประวัติศาสตร์และการปกครอง การแพทย์ การทหาร และวรรณกรรมต่าง
ๆ กล่าวกันว่า หอสมุดกรุงนิเนเวห์เป็นหอสมุดจารึกแผ่นดิน เหนียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- สารนิเทศที่อ่านได้จากแผ่นดินเหนียว มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลายเรื่องไม่ว่าจะ เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง ของสังคมในยุคนั้น
เป็นที่น่าเสียดายที่ยังไม่ สามารถถ่ายทอดข้อความที่บันทึกไว้ได้หมด และสื่อสารนิเทศประเภท แผ่นดินเหนียวก็เริ่ม เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
และขาดผู้ที่มีความสามารถในการอ่านอักษรคูนิฟอร์มที่ใช้บันทึก
ทำให้คนในสมัยปัจจุบันจะต้องหาวิธีการที่ถ่ายทอดสารนิเทศที่มีนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการ ศึกษาค้นคว้าต่อไป
- 2.ห้องสมุดปาไปรัส(Libraries ofPapyrus) ห้องสมุดประเภทนี้เก็บรวบรวม บันทึก เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากวัสดุที่ทำจากกระดาษปาไปรัส
ซึ่งชาวอียิปต์รู้ จักทำขึ้นโดยนำต้นอ้อซึ่งมีมากแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ เรียกว่า ต้นปาไปรัส นำมาลอกเอาเยื่อ บาง ๆ ประกบกันหลาย ๆ ชั้น
ทำเป็นแผ่นกระดาษขึ้น แผ่นกระดาษเหล่านี้เมื่อนำเอา ด้านข้างมาต่อกันจะเป็นแผ่นที่ยาวออกในด้านข้าง บางฉบับยาวถึง 40 หลา ใช้หญ้ามา
ทุบปลายให้เป็นฝอยใช้แทนพู่กัน และต่อมาใช้ปล้องหญ้าตัดทำเป็นปากกา หมึกที่ใช้ทำด้วยถ่าน ไม้บดละเอียดผสมยางไม้
การใช้กระดาษปาไปรัสได้แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ
- เรื่องราวที่ชาวอียิปต์บันทึกไว้ในม้วนกระดาษปาไปรัสเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนาการปกครอง ศีลธรรมจรรยา บทละครศาสนา ตำรายา
และคณิตศาสตร์ เป็นต้น ม้วนปาไปรัสสูงประมาณ 1 ฟุต ยาวประมาณ 20 ฟุต ม้วนเก็บไว้ในกล่องดินเหนียวหรือ โลหะทรงกระบอกเชื่อกันว่า
หนังสือม้วนที่เก่าที่สุดของอียิปต์ ได้แก่Prisse Papyrus ซึ่ง เป็นบันทึกสุภาษิตของปตาหเทป (Ptahhatep)นักปราชญ์ชาวอียิปต์ ซึ่งเขียนขึ้นในราว
2,880 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส ส่วนหนังสือม้วนที่ยาว ทิ่สุด ได้แก่ Harris Papyrus I มิความยาวถึง 133 ฟุต
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่ง ชาติอังกฤษ
- ห้องสมุดปาไปรัสที่รู้จักกันดีจากการศึกษาและค้นพบทางโบราณคดี ได้แก่ หอสมุด แห่งเมืองกิเซท์ (Gizeh) ซึ่งสร้างเมื่องราว 2,500
ปีก่อนคริสตกาล หอสมุดที่เมือง อามาร์นา (Amarna) สร้างเมื่อราว 1,350ปีก่อนคริสตกาล และหอสมุดที่เมืองธีบีส (Thebes) เป็นต้น
- กรีกเป็นอีกประเทศหนึ่งที่สร้างหอสมุดส่วนตัวไว้มาก ทั้งนี้เพราะชาวกรีกเป็นผู้ที่ รักและสนใจในการศึกษาค้นคว้า
ห้องสมุดของเพลโตและอริสโตเติล ซึ่งเป็นนักปราชญ์ที่ สำคัญของโลก ได้รวบรวมม้วนปาไปรัสไว้มากมาย และห้องสมุด
ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัย กรีกรุ่งเรือง คือ ห้องสมุดแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) เป็นห้องสมุดที่รวบรวม เอกสารสำคัญเป็นภาษาอียิปต์
ฮิบรู กรีก และภาษาอื่น ๆ ประมาณเจ็ดแสนม้วน นับเป็นห้องสมุดที่ใหญ่และสำคัญที่สุด ของโลกสมัยโบราณ (Atherton 1981 : 228 g)
- 3. ห้องสมุดแผ่นหนัง (Libraries of Parchment) การบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในสมัยโบราณ นอกจากจะบันทึกลงบน แผ่นกระดาษปาไปรัสแล้ว
ยังมีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงบนแผ่นหนังอีกด้วย การใช้แผ่นหนังเป็นวัสดุสำหรับการเขียน ได้รู้จักกันมานานราว 500 ปี ก่อนคริสตกาล
ต่อมาพระเจ้าปโตเลมีที่ 5 ของอียิปต์ ซึ่งครองราชย์ในราว 200 ปีก่อน คริสตกาลได้ทรงสั่งห้ามมิให้อียิปต์ส่งกระดาษปาไปรัสออกขายต่างประเทศ
เพื่อป้องกันมิให้ชาติ อื่นๆมีความเจริญทัดเทียมกับอียิปต์
- เมื่อกระดาษปาไปรัสเริ่มขาดแคลนประกอบกับม้วนปาไปรัสไม่สะดวกแก่การเขียนและ การอ่าน พระเจ้าเปอร์กามัม (Pergamum)
แห่งกรีกจึงทรงดำริคิดหาวิธีฟอกหนังให้เหมาะ แก่การเขียนและสามารถเขียนได้สองหน้าซึ่งเรียกว่า กระดาษหนัง (Parchment) การใช้
หนังเพื่อเขียนหนังสือจึงใช้ทั่วไปในยุโรปตั้งแต่นั้นมา และเนื่องจากแผ่นหนังจะม้วนแบบแผ่นปาไปรัสได้ยาก
และไม่สามารถนำเอามาต่อกันให้ยาวได้ จึงมีการคิดหาวิธีเอาแผ่นหนังมา วางซ้อนกันเย็บเป็นเล่มเรียกว่า โคเด็กซ์ (Codex)
ห้องสมุดที่รวบรวมแผ่นหนังที่สำคัญ คือ ห้องสมุดเมืองเปอร์กามัมในเอเซียไมเนอร์
- นักโบราณคดี ได้ค้นพบหลักฐานการเขียนหนังสือเป็นจำนวนมากในบริเวณถ้ำ แถบทะเลมรณะ (Dead Sea) และให้ชื่อว่า
ม้วนแผ่นหนังทะเลมรณะตามสถานที่ค้นพบ (Atherton 1981 : 228 g) ม้วนแผ่นหนังดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่จารึกเรื่องราวเกี่ยวกับ คัมภีร์ศาสนาไบเบิล
- 4.ห้องสมุดยุคปัจจุบัน (Libraries of papers) อารยธรรมของโลกได้ เจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง จากวิวัฒนาการ เก็บหนังสือในรูปวัสดุต่าง ๆ
ในห้องสมุดสมัย โบราณ ยังมีการจัดเก็บหนังสือประเภทต่าง ๆ เพิ่มเติมมากขึ้น อย่างไรก็ดี ช่วงที่ ห้องสมุดมีความซบเซามากที่สุด ได้แก่
ยุคกลางในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นยุคสมัยที่อาณาจักรโรมัน ภาคตะวันตกเสื่อมลง เริ่มมีการก่อตั้งเป็นประเภทต่าง ๆ ในทวีปยุโรปขึ้นในราว ค.ศ.
500-1000 กิจการการดำเนินงานของห้องสมุดส่วนใหญ่อยู่ในวัง ของกษัตริย์ อยู่ในบ้าน ของขุนนางและอยู่ภายในวัด ต่อมาในระหว่าง ค.ศ.
1300-1600 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้น ในทวีปยุโรป ซึ่งมีผลก่อให้เกิดสถาบันใหม่ ๆ ขึ้นในสังคม ซึ่งเรียกว่า
เป็นยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ทำให้กิจการห้องสมุดได้รับการสนับสนุน จัดสร้างเพิ่มเติมและแพร่หลายไปสู่ประชาชน
- ในช่วงราวคริสศตวรรษที่ 15 ชาวเยอรมันชื่อ กูเตนเบอร์ก (Gutenberg) ได้ ค้นพบวิธีการพิมพ์หนังสือ โดยคิดประดิษฐ์
เครื่องพิมพ์ตัวอักษรที่ทำด้วยโลหะขึ้น การค้นพบ วิธีการพิมพ์นี้เองที่ทำให้วิทยาการและการศึกษาค้นคว้าต่าง ๆ แพร่หลายไปทั่ว ลักษณะของ
หนังสือก็เปลี่ยนไป หนังสือมีขนาดเล็กลงและมีราคาถูก ใช้ได้สะดวก เมื่อกิจการการพิมพ์ หนังสือแพร่หลาย
ทำให้มีการผลิตหนังสือให้กับห้องสมุดประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้
- สารนิเทศที่จัดเก็บในห้องสมุดแต่ละยุคแต่ละสมัย เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา ประเทศก่อนที่จะเกิดระบบโรงเรียน
ห้องสมุดได้ทำหน้าที่เป็นโรงเรียนสอนศิลปวิทยาการ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะการใช้ประโยชน์จากสารนิเทศที่คนรุ่นก่อน ได้บันทึกไว้
วิหารของกรีก ในสมัยโบราณได้สะสมห้องสมุดเพื่อรวบรวมสารนิเทศไว้มาก และเริ่มเกิดโรงเรียนทาง ปรัชญาได้ศึกษากันหลายแห่ง เช่น
โรงเรียนของเพลโต โรงเรียนของเอฟิคิวเรียน ซึ่งมี ชื่อเสียงและเปิดสอนมาหลายศตวรรษ แต่โรงเรียนที่ใช้สารนิเทศในการสอนที่มีชื่อเสียง
มากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนเปอริพาเตติก ซึ่งจัดตั้งโดยอริสโตเติล (Francis 1980 : 857) และสารนิเทศจากโรงเรียนของอริสโตเติล
ได้ตกทอดต่อมาตามลำดับ จนกระทั่งจัด เก็บไว้ให้บริการในกรุงโรมต่อมา
- ความเจริญเติบโตและพัฒนาการของห้องสมุดแต่ละยุค เป็นการสะสมสารนิเทศที่ มีค่าของมนุษยชาติมาตั้งแต่ต้น
ห้องสมุดจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่สำคัญที่เชื่อมโยงสารนิเทศ และผู้ใช้สารนิเทศเข้าด้วยกัน แม้สื่อสารนิเทศจะเปลี่ยนแปลง รูปแบบออกไป
ห้องสมุดก็ยัง ทำหน้าที่เป็นศูนย์สารนิเทศเพื่อการให้บริการความรู้ได้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้ดสุด
หน้าสารบัญ