ในรูปแบบของแต่ละรายการของหนังสือ
ห้องสมุดโรงเรียนท่าม่วง
เลขทะเบียน :51411-51415:ฉ.1-ฉ.5 00002
ชื่อผู้แต่ง :สนั่น ปัทมะทิน
ชื่อหนังสือ :ภาษาไทยที่สื่อมวลชนอาจใช้พลาด
เมืองที่พิมพ์ :กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ :โอเดียนสโตร์
ปีที่พิมพ์ :2535
หัวเรื่อง :ภาษาต่างประเทศ-ไวยากรณ์/ภาษาไทย--การใช้ภาษา/ภาษาไทย
เลขหมู่ :/495.918/ส198ภ/2535
ห้องสมุดโรงเรียนท่าม่วง
เลขทะเบียน :49980-49982:ฉ.1-ฉ.3 00021
ชื่อผู้แต่ง :อุดม เชยกีวงศ์
ชื่อหนังสือ :ภาษาไทย(วิชาเลือก)การอ่านและพิจารณาหนังสือ
เมืองที่พิมพ์ :กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ :บรรณกิจ
ปีที่พิมพ์ :2534
หัวเรื่อง :ภาษาไทย--การอ่าน/การวิจารณ์หนังสือ
/หนังสือและการอ่าน
เลขหมู่ :/495.91/อ785ภ/2534
ในรูปแบบบัตรรายการ
495.918 สนั่น ปัทมะทิน.
ส198ภ/////ภาษาไทยที่สื่อมวลชนอาจใช้พลาด /
///////สนั่น ปัทมะทิน. -- กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2535.
///////////332 หน้า : ตาราง.
///////////ISBN 974-276-852-8
00002//// *. ภาษาต่างประเทศ-ไวยากรณ์ *. ภาษาไทย--การใช้ภาษา
/////// *. ภาษาไทย
495.91 อุดม เชยกีวงศ์
อ785ภ////ภาษาไทย(วิชาเลือก)การอ่านและพิจารณา
//////หนังสือ / อุดม เชยกีวงศ์,วิมล จิโรจพันธุ์,กฤตย์ สกุณะพัฒน์. --
//////กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2534.
//////////62 หน้า.
21213/////*. ภาษาไทย--การอ่าน *. การวิจารณ์หนังสือ
/////// *. หนังสือและการอ่าน
ในรูปแบบบรรณานุกรม
สนั่น ปัทมะทิน. ภาษาไทยที่สื่อมวลชนอาจใช้พลาด / สนั่น
ปัทมะทิน. -- กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2535. 332 หน้า : ตาราง.
ภาษาต่างประเทศ-ไวยากรณ์ ภาษาไทย--การใช้ภาษา ภาษาไทย
495.918/ส198ภ/2535 0002
อุดม เชยกีวงศ์. ภาษาไทย(วิชาเลือก)การอ่านและพิจารณาหนังสือ
/ อุดม เชยกีวงศ์,วิมล จิโรจพันธุ์,กฤตย์ สกุณะพัฒน์. -- กรุงเทพฯ :
บรรณกิจ, 2534. 62 หน้า.
ภาษาไทย--การอ่าน การวิจารณ์หนังสือ หนังสือและการอ่าน
495.91/อ785ภ/2534 0021
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลวารสารและหนังสือพิมพ์
Record No : 2657
ชื่อผู้เขียนบทความ : ดารณี
ชื่อบทความ : อบรมบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี"
รุ่นที่3 ที่ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี
ชื่อวารสาร/หนังสือพิมพ์ :ข่าวกรมการศึกษานอกโรงเรียน
ปีที่ : ฉ บับที่ : 138/36
วันเดือน ปี : มกราคม 2536
หน้า : 1
หัวเรื่อง :ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี
สรุปเนื้อหาโดยย่อ :
นายพิเชษฐ์ มากช่วย เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมบรรณารักษศาสตร์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุ มารี" รุ่นที่3 อ.โพธาราม
จ.ราชบุรี ผู้เข้าอบรมเป็นเจ้าหน้าที่จำนวน 171 คน หัวหน้าห้องสมุดประชาชน 46 คน ผู้เข้าร่วมจากประเทศลาว 4 คน และจากประเทศพม่า 2 คน
ได้มีโครงการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี"ตามความช่วยเหลือด้านเงิน ทุนจากสหพันธ์สมาคมห้องสมุด และ
สถาบันห้องสมุดนานาชาติ ระยะที่1 และระยะที่2 ขุดอบรมลักษณะของ Mcdular Training และจัดเป็นPackago มีสื่อต่างๆประกอบมีกระบวนการ
ความรู้ด้านปัจจัยป้อน Input กิจกรรมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะProcess และการประยุกต์ความรู้ทำงานจริง Output เป็นรูปธรรมต่อเนื่อง
เป็นลูกโซ่มีการบรรยาย แบ่งกลุ่มการอภิปราย และศึกษาดูงานสถานที่
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลชีวประวัติ
Record No : 0065
ชื่อ : บรรหาร ศิลปอาชา
Name : Banharn Silpa-archa
ตำแหน่ง :หัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตนายกรัฐมนตรี
วัน เดือน ปี เกิด :20 กรกฎาคม 2475 เกิดที่ ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง สุพรรณบุรี
ประสบการณ์ :
ทำการค้าขายรับเหมาก่อสร้างในนามของ "สหศรีชัย"โดยเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 16 ปี เข้ามากรุงเทพฯ มาอยู่กับพี่ชายที่ตึกแถวสี่แยกหลานหลวง
ช่วยพี่ชายส่งโซดา น้ำหวาน สุรา เก็บขวดเปล่ากลับคืน มีรายได้เดือนละ 30-40 บาท ที่นอนคือชั้นพักบันได หลังจากครบบวช ในปี 2497 บิดาพาไปฝากงาน
ที่บริษัทของญาติชื่อ "ไทยยงพาณิชย์"รับเหมาก่อสร้างที่หัวมุมถนนหลานหลวง จากนั้นไปเรียนต่อเพิ่มเติมที่โรงเรียนกรุงเทพวิทยาลัย วังบูรพากับ
อาจารย์เล็ก บูรณสมบัติ จนได้ประกาศนียบัตรบัญชีชั้นต้น บริษัทสหศรีชัย จัดตั้งเมื่อปี 2499 งานชิ้นแรกคือก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จ.นราธิวาส
ราคา 122,000 บาทแต่ขาดทุน เพราะทางราชการมีปัญหางบประมาณต้องไปกู้ยืมมาใช้หนี้ จากสำนักงานที่หลานหลวง ในปี 2500-2520 ย้ายสำนักงาน
มาอยู่ที่วิสุทธิกษัตริย์ กลายเป็นบริษัทสยามออกซิเดนตอล อิเลคโตรเคมิคอล ซึ่งปัจจุบันลูกสาวดำเนินกิจการ
ผลงานและกิจกรรม :
เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2516 สมาชิกวุฒิสภา ปี 2518 อดีต ส.ส.เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทย และเป็นเลขาธิการพรรค
ตั้งแต่ปี 2516
เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปี 2523-24 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปี 2529 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี 2531
เคยเป็น ส.ท.ปี 2517
ด้านชีวิตการเมืองนายบรรหารเคยบอกว่าจะให้ลูกชายสืบสานต่อเมื่อลูกชายจบออกมาแล้ว
ตัวอย่างการสืบค้นจากฐานข้อมูลท้องถิ่น
ระเบียนข้อมูล: 0196
จังหวัด : นครปฐม
หัวเรื่อง : วัดธรรมศาลา / วัด
ข้อมูล :
วัดธรรมศาลา ตั้งอยู่ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมืองนครปฐม มีตำนานที่ควรทราบเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระยากง พระยาพาน เกี่ยวกับการทำปิตุฆาต
โดยการสร้างวัดพระยาพาน เห็นชอบและอุทิศโรงธรรมให้เป็นที่สำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม จึงเรียกโรงธรรมนั้นว่า"ธรรมศาลา" ปัจจุบันมีเนื้อที่ 65 ไร่
เป็นวัดที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมกันมากมาย ในความสวยงามของโบราณสถานและโบราณวัตถุและยังเป็นที่อาศัยของฝูงลิง
โบราณวัตถุในวัดธรรมศาลา
มีเสียงเล่าลือกันว่าวัดพระเมรุมีขุมทรัพย์ถ้วยโถโอชามและของใช้มากมาย แต่เดิมสามารถนำออกไปใช้ได้ ประชาชนมีงานก็มีงานก็มาขอยืมไปใช้
และต่อมามิได้นำมาคืน เนื่องจากมีปู่โสมเฝ้าทรัพย์อยู่ ผู้เฝ้าทรัพย์โกรธจึงปิดปากถ้ำเสีย
แหล่งที่มา :
นงรัตน์ พยัคฆันตร. (2531). ท่องเที่ยวประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2531. หน้า 79
2. การชมรายการจากจานรับสัญญาณดาวเทียม
จานรับสัญญาณดาวเทียมเป็นสื่อเทคโนโลยีสารนิเทศอีกประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการให้บริการข้อมูล เป็นวัสดุสารนิเทศที่ติดตั้งแล้ว
ไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องการซ่อมบำรุง หรือดูแลรักษามากนักและที่มีส่วนดี คือ รับสารนิเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ต่อความเปลี่ยนแปลง
ของข่าวสารในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้โดยตรง โดยเสียค่าบริการต่อเดือนไม่มากนัก
เมื่อห้องสมุดได้บอกรับการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมแล้ว ต้องวางแผนในการติดตั้งโทรทัศน์เพื่อให้บริการสารนิเทศจากจานรับสัญญาณดาวเทียม
และจัดทำผังการชมรายการให้ชัดเจน ห้องสมุดโรงเรียนอาจติดตั้งโทรทัศน์เพื่อรับรายการจากจานรับสัญญาณดาวเทียมไปตาม
หมวดวิชาต่างๆ และให้บริการที่ห้องสมุดเอง โดยจัดทำเป็นห้องโสตทัศนวัสดุให้บริการการชมรายการได้จำนวน 1 ห้อง เป็นต้น
การชมรายการจานรับสัญญาณดาวเทียมสามารถชมรายการได้จากดาวเทียม เช่น จากดาวเทียมเอเซียแซท แซทสตาร์ ปาลาปา
ไทยคม เป็นต้น มีรายการที่สามารถให้บริการชมมากกว่า 100 ช่อง จากสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ทั่วโลก
3. การบริการค้นสารนิเทศจากแผ่น CD-ROM
สื่อสารนิเทศที่กำลังมีบทบาทอย่างสูงต่อการสืบสารนิเทศต่างๆได้อย่างกว้างขวางและสะดวกรวดเร็วได้แก่แผ่น CD-ROM
ห้องสมุดโรงเรียนสามารถดำเนินการให้บริการการศึกษาค้นคว้าด้วยแผ่น CD-ROM โดยการจัดซื้อแผ่น CD-ROM สำเร็จรูป ปัจจุบันมีการแยกประเภท
แผ่น CD-ROM เป็น 4 ประเภท คือ
1. แผ่น CD-ROM ประเภทความรู้ทั่วไป เป็นแผ่น CD-ROM ที่จัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการ
สืบค้น เช่น แผ่น CD-ROM สารานุกรมต่างๆ แผ่น CD-ROM ตำราวิชาต่างๆ เป็นต้น
2. แผ่น CD-ROM ประเภทภาพยนตร์ เป็นแผ่น CD-ROM ภาพยนตร์ต่างๆ
3. แผ่น CD-ROM ประเภทเพลง เป็นแผ่น CD-ROM เพลงต่างๆ
4. แผ่น CD-ROM ปะเภทเกม เป็นแผ่น CD-ROM เกมต่างๆ
4. การให้บริการข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ ตลอดจนบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดต่างๆในยุคปัจจุบัน คงจะหลีกเลี่ยงการใช้
เทคโนโลยีสารนิเทศเพื่อนำมาให้บริการข้อมูลต่อไปไม่ได้อีกแล้ว จึงจำเป็นต้องวางโครงการสอนเพื่อให้บริการข้อมูลใน
ระบบอินเทอร์เน็ตภายในห้องเรียนและห้องสมุด โดยใช้คอมพิวเตอร์จัดทำฐานข้อมูลเอง
หรือให้บริการค้นค้นสารนิเทศในระบบออนไลน์ จากแหล่งบริการค้นสารนิเทศในระบบออนไลน์ต่างๆ
วิธีการที่จะเตรียมพร้อมกับการเป็นผู้สอน หรือบรรณารักษ์ในยุคสังคมสารนิเทศ คือ ต้องทบทวนบทบาทของตนเอง
ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. เข้าใจความสำคัญของบทบาทของตนเองในฐานะผู้สอน หรือ บรรณารักษ์ ติดตามพัฒนาการของ
สังคมสารนิเทศ ในระบบอินเทอร์เน็ต รู้จักใช้ประโยชน์
กับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสมัครเป็นสมาชิกจาก YAHOO.COM
หรือ HOTMAIL.COM เป็นต้น กับรู้จักการใช้ หรือการดำเนินงาน
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
2. รู้จักระบบการจัดการห้องสมุด
3. ติดตามพัฒนาการความเป็นมาของห้องสมุดในอดีตที่ผ่านมา
4.รู้จักมองอนาคตในการให้บริการ เช่น การให้บริการการสืบค้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต
5.รู้จักวิธีการเข้าสู่ตลาดบริการในระบบอินเทอร์เน็ต
6.รู้จักพลังอำนาจของสังคมสารนิเทศ