1544603 การสืบค้นข้อมูลภาษาไทย
(Thai Information Retrieval) 3(3-0-6)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
ผู้สอน รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

การแสวงหาความรู้ การค้นคืนความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ
รศ.อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์

มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอจะหยุดมิได้เพราะความรู้ช่วยทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิต อยู่ได้ หากมนุษย์คนใดสามารถแสวงหาความรู้ได้มากได้ความรู้อย่างรวดเร็ว และได้ความรู้ที่ถูกต้องเพียงพอ ก็จะสามารถใช้ความรู้พัฒนาชีวิตตนเองให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการดำรงชีวิตอยู่ได้ การมีความรู้และใช้ความรู้ทำให้ชีวิตดีขึ้นเป็นการจัดการความรู้และการจัดการชีวิตที่ดีเป็นการจัดการความรู้ และการจัดการชีวิตที่ประสบความสำเร็จ คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นโดยลำดับ

วงจรความรู้

ความรู้มีวงจร คือ เปลี่ยนที่อยู่และ เปลี่ยนสภาพหรือลักษณะได้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งแล้ว กลับมาอยู่ในที่เดิมหรือเปลี่ยนไปที่อื่น ๆ ได้อีก โดยไม่มีวันสิ้นสุด วงจรของความรู้จึงมีลักษณะคล้ายเกลียวสปริง เรียกว่าเป็นเกลียวความรู้ ( knowledge spiral) ดังรูป ลักษณะดังกล่าว หมายความว่า ความรู้เกิดขึ้นครั้งแรกในตัวคน จากนั้นความรู้นั้น จะถูกคนแสดงออกหรือใช้งานให้ปรากฏเห็นและ เปลี่ยนสภาพและสถานที่ไปอยู่ในสื่อบันทึกต่าง ๆ (records) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสารสนเทศ (information) หรือ ข้อมูล (data) หรืออาจไปอยู่ในความทรงจำหรือความรู้ของคนอื่น ที่ได้รับรู้หรือสังเกตการณ์ ความรู้นั้นจะเป็นความรู้ที่แสดงออกมาแล้ว (explicit knowledge) จากนั้นความรู้ที่จะถูกเก็บค้างหรือรักษาไว้ในรูปของสารสนเทศ หรือข้อมูลในสื่อบันทึกรูปแบบต่าง ๆ ก็จะรอเวลาที่จะมีคนอื่นที่มิใช่เจ้าของความรู้เดิมมารับรู้หรือสัมผัส จึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารสนเทศหรือข้อมูลในเรื่องนั้นเป็นความรู้ในตัวคนคนใหม่ต่อไป คนใหม่ที่รับข้อมูลหรือสารสนเทศจะผสมผสานความรู้ใหม่นี้เข้ากับความรู้เดิม จากสื่อทำให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่แปลกใหม่ไปจากเดิม ไม่เหมือนเดิมและเป็นการทำให้ความรู้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นการแบ่งขยายความรู้ ให้กว้างขว้างและพัฒนาความรู้ให้ลึกซึ้งละเอียดยิ่งขึ้น ดัง ภาพแสดงการเปลี่ยนที่อยู่และเปลี่ยนสภาพกลับไปกลับมาของความรู้จากคนสู่คนหรือจากคนสู่สื่อบันทึก และจากสื่อบันทึกสู่คนอีกครั้งหนึ่งต่อ ๆ ไปนี้ หมายความว่าคนใหม่และสื่อใหม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ความรู้จึงถูกถ่ายทอดพัฒนาต่อ ๆ ไป ในลักษณะดังกล่าวไม่มีที่สิ้นสุด

จุดมุ่งหมายของการแสวงหาความรู้

ความรู้มีไว้สำหรับใช้ให้เกิดประโยชน์และเมื่อใช้บ่อย ๆ ใช้มาก ๆ ความรู้ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นและพัฒนามากขึ้นเพราะความรู้เป็นอริยทรัพย์ใช้แล้วไม่หมดไปไม่หายไปแต่ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มและ ยิ่งพัฒนาจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการแสวงหาความรู้ คือ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ใช้ความรู้เพื่อรักษาชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ ได้แก่ความรู้ว่าสิ่งใดอันตรายและทำอย่างไร ให้ชีวิตอยู่รอดเป็นความรู้พื้นฐานจำเป็นของมนุษย์ เช่น ต้องมีความรู้ว่าไฟอันตรายอย่างไรและ จะใช้ไฟให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร สิ่งใดเป็นอาหาร สิ่งใดไม่เป็นอาหาร รวมทั้งต้องรู้เรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ด้วย
2) ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาชีวิต หมายถึงทำให้ชีวิตปลอดภัยมากขึ้น มีความสุขความสบาย มากขึ้น ความรู้ประเภทนี้ ใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ สร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น สร้างเครื่องนุ่งห่ม บ้านที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวม ทั้งความรู้เรื่องการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายด้วย
3) ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาจิตใจตนเอง หมายถึงทำให้จิตใจมีความสงบสุข ไม่เกิดความเครียด ความกังวลวิตกหรือหวาดกลัว
4) ใช้ความรู้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เป็นการถ่ายทอดหรือแพร่ขยายความรู้ให้กว้างขวางออกไป โดยการบอก การสอน การแนะนำด้วยวิธีต่าง ๆ คนที่ได้รับการบอกเล่าได้รับการสอนหรือแนะนำต้องใช้ความรู้เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง และแก่ผู้อื่นต่อไป ได้อีก
อาจกล่าวโดยสรุปได้อีกด้านหนึ่งว่า การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ก็เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาของมนุษย์ หรือตอบข้อสงสัย สนองความอยากรู้อยากเข้าใจของมนุษย์นั้นเอง

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008