บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
วิชา 1065106
มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร
Human Relations for Administrators
ผู้สอน
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
***ความรู้คืออำนาจ เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


แนวสังเขปรายวิชา

สารบัญ
เนื้อหาวิชา

กิจกรรม
การเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล

ตำราประกอบ
การสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศ
ประกอบ
การเรียนการสอน

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน


Home

ส่วนประกอบขององค์การที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์

การจัดส่วนประกอบขององค์การ ก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ในองค์การเป็นอย่างยิ่ง ( ม.ร.ว. สมพร สุทัศนีย์, 2551, หน้า 371-374) ดังต่อไปนี้
1. สายการบังคับบัญชา เป็นการจัดตามความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบแต่บะคน หรือแต่ละหน่วยงานที่ลดหลั่นกันมาตามลำดับชั้น ถ้าหากมีการแบ่งสายงานที่ชัดเจนจะทำให้งานมีระบบขึ้น การสั่งการและการควบคุมงานจะต้องดำเนินงานไปตามสายงานจากระดับสูงไประดับต่ำ การสั่งงานตามสายการบังคับบัญชาต้องอาศัยหลักมนุษยสัมพันธ์ ไม่ใช่คำนึงเพียงการสั่งงานตามอำนาจหน้าที่
2. การสื่อสารตามสายงาน ในการแบ่งสายงานจำเป็นต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างสายงานต่างๆ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารซึ่งมี 3 ระบบ คือ การติดต่อสื่อสารจากหน่วยงานสูงสุดมายังหน่วยงานระดับรองจนถึงหน่วยงานต่ำสุด จากหน่วยงานต่ำสุดขึ้นไปจนถึงหน่วยงานสูงสุด และ การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกันหรือระหว่างตำแหน่งที่ทัดเทียมกัน การติดต่อสื่อสารไม่ว่าระดับใดจะต้องอาศัยหลักมนุษยสัมพันธ์ทั้งสิ้น
3. เอกภาพในการบังคับบัญชา หมายถึงขอบเขตของการควบคุมดูแลและ บังคับบัญชาตามอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละคน หรือแต่ละหน่วยงาน การบังคับบัญชาจึงมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงสั่งงานมายังผู้บังคับบัญชาระดับรองลงไป การจัดให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชาย่อมก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4. ขอบเขตของการบังคับบัญชา หมายถึงขอบข่ายของการควบคุมดูแลและบังคับบัญชา การควบคุมดูแลจะมีขอบเขตกว้างหรือแคบ น้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์การ การจัดขอบเขตของการบังคับบัญชาที่ เหมาะสมย่อมก่อให้เกิดความสบายใจทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
5. การแบ่งงานตามความรู้ความสามารถ ส่วนประกอบขององค์การส่วนนี้สดคล้องกับกับหลักมนุษยสัมพันธ์ในเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล การบรรจุคนให้เหมาะกับงาน ย่อมนำไปสู่ความพอใจในการทำงาน และเกิดประสิทธิผลในการทำงาน
6. มีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานหลัก รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จตามเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายให้คำปรึกษา มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำ และ ฝ่ายสนับสนุนซึ่งมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน เจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ฝ่ายจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
7. การแบ่งอำนาจหน้าืที่และความรับผิดชอบ เป็นการกระจายอำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติเป็นบางส่วน การแบ่งงานมักจะแบ่งเป็นระดับแล้วมอบงานและความรับผิดชอบให้ชัดเจน และต้องมอบอำนาจให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้วยจึงจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี
8. การประสานงาน เป็นการจัดระเบียบการทำงานให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันปฏิบัติงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เกิดการซ้ำซ้อนกัน การประสานงานจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ที่มา

สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2551). มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
1. มีเป้าหมายวัตถุประสงค์ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องกำหนดเอาไว้ในการจัดตั้งองค์กรว่าตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร
2. มีภาระกิจหน้าที่ องค์กรทุกประเภทจะต้องกำหนดภารกิจหน้าที่อย่างชัดเจน โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดไว้อย่างถาวร
3. มีการแบ่งงานกันทำ โดยมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เป็นการแบ่งงานหรือจัดกลุ่มงาน ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ
4. มีสายการบังคับบัญชา เป็นการจัดตามความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบแต่บะคน หรือแต่ละหน่วยงาน
5. มีช่วงการควบคุม เป็นเทคนิคสำคัญในการจัดองค์กร เพื่อแสดงให้เห็นว่าใครมีหน้าที่ขอบเขตอำนาจ และความรับผิดชอบเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน มีหน่วยงานที่อยู่ใต้ความรับผิดชอบกี่คน
6. มีความเอกภาพ หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการบังคับบัญชา เป็นการจัดอำนาจการควบคุมบังคับบัญชาให้อยู่ร่วมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ คณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างชัดเจน เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่ซ่ำซ้อน และไม่ก้ายก่ายต่อกัน

 


Send comments to chumpot@hotmail.com
Copyright © 2011
Revised: July 2011