บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
วิชา 1065106
มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร
Human Relations for Administrators
ผู้สอน
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
***ความรู้คืออำนาจ เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


แนวสังเขปรายวิชา

สารบัญ
เนื้อหาวิชา

กิจกรรม
การเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล

ตำราประกอบ
การสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศ
ประกอบ
การเรียนการสอน

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน


Home

ลักษณะของมนุษยสัมพันธ์

จากความหมายของมนุษยสัมพันธ์ที่กล่าวมา พอจะได้สภาพว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนในสังคม ที่เป็นการอยู่ร่วมกัน ในเชิงบริหารจัดการ ที่ผู้บริหารเกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องทราบวิธีการทำงานร่วมกัน และใช้วิธีบริหารจัดการที่หลากหลายให้เข้ากับการทำงานร่วมกันจึงจะบรรลุถึงเป้าหมายของการบริหารงานได้ จึงพอสรุปลักษณะของมนุษยสัมพันธ์ได้ ดังนี้ (ม.ร.ว.สมพร สุทัศนีย์, 2551, หน้า 5-6)
1. มนุษยสัมพันธ์เน้นตัวบุคคลมากกว่าเครื่องจักรกล หรือสภาพทางเศรษฐศาสตร์
2. บุคคลในสังคมรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมที่มีระบบ และแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อกัน เป็นความสัมพันธ์ที่มีระบบระเบียบ
3. กิจกรรมสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ คือ การจูงใจให้บุคคลเกิดพลังในการติดต่อสัมพันธ์ และแสดงพฤติกรรมตอบสนองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
4. การจูงใจนั้นเกิดจากการผสมผสานระหว่างวิทยาการต่างๆกัยความสามารถเฉพาะตัว แล้วประยุกต์ใช้ในการติดต่อสัมพันธ์เพื่อให้ครองใจคนและเอาใจชนะคนได้
5. การจูงใจก่อให้เกิดการทำงานเป็นหมู่คณะ ซึ่งต้องอาศัยการประสานงาน ความร่วมมือร่วมใจของบุคคล
6. การจูงใจที่มีประสิทธิภาพคือการจูงใจที่สนองความต้องการของผู้อื่น
7. มนุษยสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในหมู่คณะนั้นย่อมก่อให้เกิดผล 2 ประการ คือ ตอบสนองความต้องการของบุคคล และตอบสนองความต้องการขององค์การด้วย
8. มนุษยสัมพันธ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ถ้าเปรียบเทียบกับการลงทุนก็นับได้ว่าเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ผลดีที่สุดะ

ที่มา

สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2551). มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 


Send comments to chumpot@hotmail.com
Copyright © 2011
Revised: July 2011