บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
วิชา 1065106
มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร
Human Relations for Administrators
ผู้สอน
รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
***ความรู้คืออำนาจ เรียนให้สนุกในโลกแห่งสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


แนวสังเขปรายวิชา

สารบัญ
เนื้อหาวิชา

กิจกรรม
การเรียนการสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล

ตำราประกอบ
การสอน

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศ
ประกอบ
การเรียนการสอน

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ Internet

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์

แนะนำผู้สอน


Home

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์

สังคมเป็นที่เกิดการอยู่ร่วมกัน ใช้กฎกติกาที่เป็นที่ยอมรับในการดำรงชีวิตด้วยกัน คนที่อยู่ในสังคมจึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกัน อยู่ภายในกลุ่มเดียวกัน และมีความสัมพันธ์การติดต่อกับกลุ่มอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป ถ้าสภาพความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี มักส่งผลให้กลุ่มสังคมนั้นเป็นสุข ความสุขส่วนใหญ่ในสังคมจึงขึ้นอยู่กับมนุษยสัมพันธ์ในสังคม ดังคำกลอนที่พบเห็นในวรรณคดีที่สะท้อนถึงสภาพสังคมที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

“ให้ท่านท่านจักให้ตอบ     ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง      นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง      ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้      แต่ผู้ทรชน”

“ผูกสนิทชิดเชื้อนี่เหลือยาก      ถึงเหล็กฟากผูกไว้ก็ไม่มั่น
จะผูกด้วยมนต์เสกลงเลขยันต์      ก็ไม่มั่นเหมือนผูกไว้ด้วยไมตรี”
(สุนทรภู่)

“จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น      อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดก็อย่าพูดถึงมึงกู      คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ”
(สุนทรภู่)

“แม้จะเรียนวิชาทางค้าขาย     อย่าปากร้ายพูดจาอัชฌาสัย
จะซื้อง่ายขายดีมีกำไร      ด้วยเขาไม่เคืองจิตระอิดระอา”
(สุนทรภู่)

“ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า     น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย
เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ      ปลูกอื่นใยปลูกไมตรีดีกว่าพาล”
(หม่อมเจ้าอิศรญาณ)

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์

มีนักจิตวิทยาให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ดังนี้

อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์ อยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า การที่ มนุษย์มีสัมพันธ์กัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคม ดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคม ระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525, หน้า 402) ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน

มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะ หรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไปถึง วิธีการจูงใจ และประสานความต้องการ ของบุคคล และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตาม ระบบที่สังคมต้องการ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2538, หน้า 628 )

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหา เพื่อทำความเข้าใจ โดยการใช้ลักษณะรูปแบบการ ติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคลเป็นผล ก่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ผลสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์การ ของแต่ละบุคคล ที่ได้กำหนดไว้ (อำนวย แสงสว่าง,2544, หน้า 99)

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจ ในทางเศรษฐกิจ และสังคม มนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ เพื่อใช้ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดี ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล ตลอดจนองค์กรต่อองค์กร (David, 1977)

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์ และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่ง ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดี และให้ความ ร่วมมือร่วมใจ ทำงานด้วยความเต็มใจ

มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คน และกลุ่มคน มาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจน สามารถ ทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยการทำงาน เพื่อส่วนรวมนี้จะเป็น กระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วย ความเต็มใจ เต็มความสามารถ

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจในงาน และความสามารถ ทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์กรได้

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจ ในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่ง พึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข

บรรณานุกรม

จิตวิทยา-มนุษยสัมพันธ์. (2554). ค้นเมื่อ สิงหาคม 25, 2554, จาก

http://socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=11923

ชัยพร วิชชาวุธ .(2525).มูลสารจิตวิทยา.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.(2538). กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations). (2554). ค้นเมื่อ สิงหาคม 25, 2554, จาก

http://www.novabizz.com/NovaAce/HumanRelations.htm

ยงยุทธ เกษสาคร. (2521).ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

วิจิตร อาวะกุล. (2542). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์(พิมพ์ครั้งที่ 8).

กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ( 2520 : 227 )

อาภา จันทรสกุล. (2529).ทฤษฏีและวิธีการให้คำปรึกษาในโรงเรียน.

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อำนวย แสงสว่าง.(2544). จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology)

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

David, Keith. (1977). Human Behavior at Work. New York: McGraw-Hill.

 


Send comments to chumpot@hotmail.com
Copyright © 2011
Revised: July 2011