ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในงานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 |
||||||||||||||||||||||||
|
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี หรือพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (5 เมษายน 2494 — ) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงลาออกฐานันดรศักดิ์เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับปีเตอร์ เจนเซน ในพระบรมหาราชวังตามพระราชประเพณี และเสด็จประทับ ณ สหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2515 แล้วเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2544พระองค์ได้ทรงแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง เป็นต้นว่า หนึ่งใจ... เดียวกัน (พ.ศ. 2551), มายเบสต์บอดีการ์ด (พ.ศ. 2552)
เนื้อหา |
[แก้] พระประวัติ
[แก้] วันประสูติ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดี 5 เมษายน พ.ศ. 2494[1] ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัติพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต
และเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" โดยพระนามของพระองค์มาจากพระนามและนามของพระประยูรญาติหลายพระองค์ อันได้แก่
- สร้อยพระนาม "สิริ" มาจากพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- สร้อยพระนาม "วัฒนา" มาจากพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สว่างวัฒนา) ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พระนาม "อุบลรัตน์" มาจากนามของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระอัยกีของพระองค์
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระนามเล่นของพระองค์ว่า ลา ปูเป้ (La Poupée) ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ตุ๊กตา ทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ของพระองค์ท่าน ทรงเรียกว่า "เป้" อีกด้วย
[แก้] การศึกษา
การศึกษาของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนจิตรลดา จนกระทั่งทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา
แล้วต่อมาจึงได้เสด็จไปประทับ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงเข้ารับการศึกษาต่อจนจบสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ชีวเคมี ( Bachelor of Science Degree in Bio-Chemistry in 1973) จากนั้นพระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาต่อจนจบสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ณ ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (STATISTICS AND PUBLIC HEALTH) จนสำเร็จในการศึกษา
[แก้] การอภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[2] เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับนายปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน ในพระบรมหาราชวังตามราชประเพณี และเสด็จประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และนายปีเตอร์ เจนเซน มีโอรส-ธิดา 3 คน ซึ่งทั้งหมดเกิดในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ คุณพลอยไพลิน เจนเซน (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524), คุณพุ่ม เจนเซน (16 สิงหาคม พ.ศ. 2526 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547) และคุณสิริกิติยา เจนเซน (18 มีนาคม พ.ศ. 2528)
เมื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่นั้น บางปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จมาเยี่ยมบ้าง และพระองค์ จะเสด็จนิวัติประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้ทรงร่วมงานพระราชพิธีต่างๆ พร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดา
[แก้] การเสด็จนิวัติประเทศไทย
เมื่อที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อได้ทรงประทับขณะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพระองค์ก็จะเสด็จนิวัติประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีและพิธีต่างๆ และทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์เป็นประจำ มีดังนี้
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 1 เพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อพ.ศ. 2523
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 2 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีและ นาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศรินขณะยังมียศทหารอากาศเป็น เรืออากาศโท เมื่อ พ.ศ. 2525
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 3 เพื่อทรงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 4 เพื่อทรงงาน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 5 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพ.ศ. 2538
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 6 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพ.ศ. 2539
- การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 7 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
หลังจากทรงประกาศหย่ากับนายปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน เมื่อพ.ศ. 2541 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร เมื่อพ.ศ. 2544 พระองค์ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น ทูลกระหม่อมหญิง ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับเรียก "เจ้าฟ้าชั้นเอก" ที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสีหรือมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้พระโอรสและพระธิดาอีก 3 พระองค์ ยังทรงศึกษาต่ออยู่ต่างประเทศและบางปีพระโอรสและพระธิดาก็จะเสด็จนัวัติประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, ทูลกระหม่อมแม่ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้ง ทรงร่วมงานพระราชพิธีหรือพิธีต่าง ๆ
[แก้] พระกรณียกิจ
[แก้] ด้านการส่งเสริมและช่วยเหลือ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงปฏิบัติพระกรณียกิจด้านการช่วยเหลือราษฎรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะพระราชทานความช่วยเหลือในการบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาพระราชทานกำเนิดมูลนิธิชีวิตสดใสให้เป็นองค์การสาธารณกุศล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์ การศึกษา การกีฬา สุขภาพอนามัย และการศาสนา
- ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับรัฐบาล เอกชน และองค์การการกุศลอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
- ดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถช่วยตัวเองและพึ่งตัวเองได้
- ดำเนินกิจกรรมในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
- ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้งมูลนิธิชีวิตสดใสขึ้นเพื่อดำเนินการความช่วยเหลือราษฎรษร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขกลับมามีความร่วมกันสามัคคีและสงบสุขมากขึ้น โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีจะทรงทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของ3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และทรงช่วยเหลือช่วยเหลือราษฎรษร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความอยากลำบาก เพื่อให้ราษฎรษร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีร่วมสุขและสามัคคีกันจนทั่วถึง
นอกจากนี้ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ยังทรงมีพระประสงค์ที่จะก่อตั้งมูลนิธิMiracle of Life เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาต่างๆ ให้อยู่เย็นเป็นสุข และส่งเสริมให้ราษฎรได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยได้เสด็จหรือทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ไปดูความคืบหน้าของโครงการอยู่เป็นประจำ เช่น ด้านการศึกษา ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการศาสนา เป็นต้น
[แก้] ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงมีพระประสงค์ที่จะทรงช่วยเหลือราษฎร ที่ประสบภัยต่างๆ เช่น น้ำท่วม บ้านเรือเสียหาย และ ประสบภัยหนาว เป็นต้น โดยทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพหรือสิ่งของพระราชทาน อาทิเช่น เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องนุ่งห่มกันหนาว มามอบให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยต่างๆ เป็นประจำ
นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระดำรัสให้ครอบครัวผู้ประสบภัยสึนามิ มีพลังใจเข้มแข็งต่อสู้ชีวิต พร้อมขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระดำรัสหลังเป็นประธานเปิดงานพิธีรำลึก 2 ปี สึนามิ ณ บริเวณหาดบางเนียง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ว่า ในปี 2549 ถือเป็นปีที่ 2 ของการจัดงานรำลึกถึงผู้ที่สูญเสียที่ซึ่งเป็นที่รักจากภัยพิบัติสึนามิ ทั้งนี้ งานดังกล่าวได้มีการเชิญผู้ที่ประสบด้วยตนเอง และครอบครัวของผู้สูญเสียเข้าร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ด้วย โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ยังมีส่วนนำพาให้ชีวิตของคุณพุ่ม เจนเซ่น โอรสทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยต้องจากไป จึงทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกสูญเสียดังกล่าว ดังนั้น จึงขอให้ผู้ที่ประสบภัยรวมทั้งครอบครัวของผู้ที่สูญเสียบุคคลซึ่งเป็นที่รัก นำเอาความสูญเสียและความทรงจำในอดีต เก็บไว้เพียงแต่สิ่งที่ดีเพื่อเป็นพลังใจอันเข้มแข็งต่อสู้ดำเนินชีวิตต่อไป
นอกจากนี้ ต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยจัดงาน ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยแสดงให้เห็นถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลและความไม่ทอดทิ้งกันแล้ว ยังแสดงถึงการมีน้ำใจของคนไทยที่ให้แก่กันด้วยส่วนที่จังหวัดภูเก็ตได้มีนักท่องเที่ยวและประชาชนจำนวนมากมาร่วมงาน Light Up Phuket ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้เขต 4 และเทศบาลเมืองป่าตอง โดยทุกคนได้ร่วมกันวางพวงหรีดไว้อาลัยถึงผู้ที่จากไปจากเหตุการณ์สึนามิ จุดเทียนในหลุมทรายริมหาดป่าตองจำนวน 2หมื่นหลุม และปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิครบรอบ 2 ปีด้วย
[แก้] ด้านสังคมสงเคราะห์
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงเห็นประชาชนที่ต้องประสบเดือดร้อนต่างๆ มากมาย เช่น เมื่อทรงเห็นเจ็บไข้ได้ป่วย โดยทรงนำราษฎรที่เจ็บป่วยไว้ในพระอุปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดให้ผู้แทนพระองค์นำเงินพระราชทานมอบให่แก่ราษฎร เพื่อเป็นค่าใช้ในการรักษา และติดตามอาการ อย่างใกล้ชิด และ เมื่อทรงเห็นปัญหาทุกยากต่างๆ จะทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ นำเงินพระราชทานมอบให้แก่ราษฎร อีกด้วย
[แก้] ด้านศาสนา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทางศาสนา อยู่หลายครั้ง ตามคำกราบทูลเชิญของคณะบุคคลต่างๆ หรือส่วนพระองค์ อยู่เป็นประจำ อาทิเช่นงานพระราชทานเพลิงศพจากบุคลคลสำคัญที่เสียชีวิตลง พิธีมหาพุทธาพิเษก งานเททองหล่อพระพุทธรูป พิธีตัดหวายลูกนิมิต พระอุโบสถ ของวัดต่างๆ การเปิดอาคารศาสนสถาน ศูนย์ปฏิบัติธรรรม เป็นต้น การบำเพ็ญพระกุศลถวายแด่ คุณพุ่ม เจนเซน ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ถนนอัษฏางค์ เนื่องในวันเกิดและวันถึงแก่อนิจกรรม เป็นประจำ
และนอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระกรุณาธิคุณได้เด็จทรงร่วมงานพิธีหล่อเทียนพรรษา และงานบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเทศกาลเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชาเป็นบางปี และงานพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร เนื่องในวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นประจำทุกปี
[แก้] ด้านการศึกษา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทางการศึกษา เป็นประจำทุกปี ตามคำกราบทูลเชิญของคณะบุคคลต่างๆหรือเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ เช่น การพระราชทานปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชื่อดังอาทิ เช่น วิทยาลัยเฉลิมกาจนา วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสยามบริหารธุรกิจ(SBAC) โรงเรียนในเครือ THAI-TECH และพระราชทานต่อมาอีกหลายสถาบันเช่น มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีนี้เป็นประจำ ทรงเปิดอาคารเรียนของโรงเรียนต่างๆ ทรงอุปถัมภ์โรงเรียนต่างๆที่อยู่ในต่างจังหวัด ในโครงการโรงเรียนเพียงหลวง
[แก้] ด้านการรณรงค์การแก้ไขปัญหายาเสพติด
-
ดูบทความหลักที่ โครงการทูบีนัมเบอร์วัน
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีพระดำริให้มีโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด To Be Number Oneในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่างๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งได้โดยไม่พึ่งยาเสพติด" โดยมีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ จนเป็นที่สนใจในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาชนได้ใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ได้พัฒนาความสามารถในด้านที่ตนถนัดด้วยกิจกรรมต่าง ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี และการช่วยเหลือสังคม นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินภายใต้ "ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น" ซึ่งมีการให้คำปรึกษา แก้ปัญหา ต่างๆของเยาวชน เช่น ปัญหาครอบครัว และปัญหายาเสพติด
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 6-25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่ม เสี่ยงสูง ดังนั้นพระองค์จึงทรงก่อตั้งและทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดหรือโครงการทูบีนัมเบอร์วันประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน การสร้างและพัฒนาเครือข่าย เพื่อให้เยาวชนสามารถปลดปล่อยและห่างไกลจากยาเสพติดและเพื่อให้การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
โดยพระองค์จะเสด็จมาทอดความคืบหน้าของโครงการในแต่ละโรงเรียนอยู่เป็นประจำ ทรงเปิดอาคารศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นทั่วประเทศ และยังได้เสด็จมาพระราชทานรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะเลิศในการแข่งขัน ทูบีนัมเบอร์วันคอนเทสต์ โดยจากการดำเนินการจากโครงการนี้ ทำให้ประเทศไทยห่างไกลยาเสพติดเป็นจำนวนมาก จนทำให้ต่างประเทศนำโครงการดังกล่าวนำมาเป็นแบบอย่างและปฏิบัติกันมาก
นอกจากนี้โครงการ ทูบี นัมเบอร์ วัน ยังเป็นที่ยอมรับในระดับโลกโดยกลายเป็นโครงการต้นแบบของโลก เมื่อรัฐบาลสหรัฐแม็กซิโกได้กราบทูลเชิญ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อทรงเป็นองค์ประธาน ในงานประชุมเยาวชนโลก (World Youth Conference) ประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก โดยเม็กซิโกให้ความสนใจโครงการทูบีนัมเบอร์วันของไทยและให้การยกย่องว่าเป็นต้นแบบโลกในการป้องกันเยาวชนติดยาเสพติดเป็นผลสำเร็จ โดยได้รับความสนใจจากเยาวชนที่มาร่วมงานจากทั้วโลกเป็นจำนวนมากและขอร่วมสมัครเป็นสมาชิกของโครงการ
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้จัดบู๊ทนิทรรศการแสดงมาตรการ กิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเยาวชนไทย และได้รับความสนใจเป็นอันมากจากประชาชน เยาวชน องค์กรการศึกษา องค์กรพัฒนาสังคมทั่วโลก การท่องเที่ยวของเม็กซิโก ต่างทึ่งและชื่นชมในความเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ที่ทรงงานแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ด้วยความเข้าใจพื้นฐานความต้องการของเยาวชน และมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่มากถึง 31 ล้านคน หรือครึ่งประเทศ ถือว่าเป็นเป็นต้นแบบของโลกที่ประสบผลสำเร็จ
ทั้งนี้ มีเยาวชนเม็กซิโกจำนวนมาก ขอสมัครเป็นสมาชิกทูบีนัมเบอร์วันของประเทศไทยด้วย นับเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจเป็นอย่างมาก ประการสำคัญรัฐบาลเม็กซิโกได้ให้ความสนใจโครงการศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในสถานศึกษาของไทย ซึ่งมีรูปแบบให้เยาวชนร่วมกันดูแลเพื่อน ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรม กิจกรรมเสริม และประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ อยากขอมาดูต้นแบบด้วย เนื่องจากขณะนี้ที่เม็กซิโกมีระบบการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดคล้ายของไทย แต่มีเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ ยังไม่มีในสถานศึกษา
[แก้] ด้านเด็กออทิสติก
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 คุณพุ่ม เจนเซ่น ได้ถึงแก่กรรม โดยมีพระดำริเห็นว่าคุณพุ่ม เจนเซ่นซึ่งเป็นโรคออทิสติก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงเห็นเด็กที่มีเป็นโรคออทิสติกเป็นบานกลางและไม่ได้เรียนหนังสือและศึกษาเล่าเรียน จนทำให้เป็นคนไม่ปกติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้งมูลนิธิคุณพุ่มขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2548
เพื่อทรงช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคออทิสติกนั้น ได้ฝึกให้เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาตนเองทางประสาทเพื่อให้เป็นคนปกติเหมือนคนทั่วไปได้ และบางปีพระองค์จะทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้แก่เด็กที่เป็นโรคออทิสติก นำไปใช้จ่ายเป็นทุนการศึกษา เพื่อให้เด็กที่เป็นโรคออทิสติกได้พัฒนาตนเองสู่วัยปกติได้ต่อผู้อื่นและสังคมของเราได้ และนอกจากนี้ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารหรือพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารฝึกอบรมในเด็กออทิสติก และทอดพระเนตรการดำเนินการการฝึกอบรมของเด็กออทิสติกเพื่อให้คนที่เป็นเด็กโรคออทิสติก ได้เป็นคนปกติเหมือนคนทั่วไปในสังคมของเราให้ก้าวหน้าต่อไป
โดยพระองค์จะเสด็๋จหรือโปรดให้ผู้แทนพระองค์พระราชทานเงินของมูลนิธิคุณพุ่มเป็นประจำ เพื่อไว้สำหรับเป็นทุนการศึกษาของเด็กออทิสติกและเด็กผู้ที่พิการมากำเนิดสามารถได้เรียนเท่ากับคนอื่นได้ และยังได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธิต่างๆของมูลนิธิคุณพุ่ม และนอกจากนี้ยังได้ทรงนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อ รูปวาดของมูลนิธิคุณพุ่มมาจำหน่วย เพื่อนำรายได้มอบให้กับเด็กออทิสติกและเด็กพิการอีกด้วย
[แก้] ด้านต่างการประเทศ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ยังได้เคยเสด็จเยือนต่างประเทศ เช่น การเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ การเสด็จในงาน world expo การเสด็จในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ และการเสด็จในงานเทศกาลหนังในประเทศต่างๆ อยู่บางครั้ง
[แก้] ด้านอื่น
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีนอกจากจะทรงปฏิบัติพระกรณียกิจการช่วยเหลือประชาชน การส่งเสริมให้เยาวชนต้านภัยจากยาเสพติดแล้วทรงปฏิบัติพระกรณียกิจอื่นแล้วหลายครั้ง เช่น การประกวดการแข่งขันต่างๆ การเปิดงานที่เป็นการกุศล งานนิทรรศการ การแสดงโชว์เวทีต่างๆ การเปิดงานในต่างประเทศ เป็นต้น ตามคำกราบทูลเชิญเสด็จและเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ทุกครั้ง
[แก้] พระปรีชาสามารถ
[แก้] ด้านการแสดงละคร
เมื่อปีพ.ศ. 2546 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงละครครั้งแรกของพระองค์ท่าน คือ "กษัตริยา" และ "มหาราชกู้แผ่นดิน" ตามคำกราบบังคมทูลเชิญแสดงละครของบริษัทกันตนาจำกัด โดยได้ออกทางโทรทัศน์ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 19.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และในปีพ.ศ. 2549ได้ทรงแสดงนำในละครเรื่อง "อนันตาลัย" ซึ่งได้ทรงประพันธ์เค้าโครงเรื่องด้วยพระองค์เองโดยใช้พระนามแฝงว่า " พลอยแกมเพชร"(จากบทประพันธ์ของกันตา) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรกซึ่งได้ทรงเป็นดาราและทรงเล่นละครด้วยพระองค์เอง
[แก้] การออกรายการโทรทัศน์
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาทรงถ่ายรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับพระองค์เป็นประจำ ตามคำกราบทูลเชิญคณะบุคคลต่างๆ เพื่อออกเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะรายการที่พระองค์ทรงออกรายการทางโทรทัศน์อยู่เป็นประจำเป็นรายการที่มีความรู้และสาระต่างๆ ที่ประชาชนได้รับชมอยู่จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 รายการ มีดังนี่
เมื่อปีพ.ศ. 2550ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาทรงถ่ายรายการโทรทัศน์เป็นรายการแรก คือ รายการทูบีนัมเบอร์วัน วาไรตี้ เป็นรายการที่เน้นเกี่ยวกับสาระความรู้ จิตใจและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการห่างไกลยาเสพติด ซึ่งผลิตโดย โครงการทูบีนัมเบอร์วันและกรมสุขภาพจิต ซึ่งพระองค์จะออกรายการทางโทรทัศน์ คือ ช่วง top to the princess หรือช่วงการตอบจดหมายของทางบ้าน ที่เกี่ยวกับเรื่องโครงการรณรงค์การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดทุกครั้งที่เยาวชนได้เขียนจดหมายส่งไป โดยพระองค์จะทรงอ่าน เลือกจดหมายที่เยาวชนเขียนมา จะได้ออกทางโทรทัศน์และได้ทรงแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการห่างไกลยาเสพติด ซึ่งรายการทูบีนัมเบอร์วัน วาไรตี้จะออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 20.30 น.- 21.30 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
และเมื่อปีพ.ศ. 2551ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงถ่ายทำรายการโทรทัศน์เป็นรายการที่สอง คือ รายการPrincess Diary เป็นรายการสารคดีที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของต่างประเทศนำมาฉายให้ประชาชนได้รับชมและนอกจากนี้ยังมีดารามารับเชิญร่วมถ่ายทำด้วย ในรายการ เพื่อที่ประชาชนที่ได้ดูรายการนี้จะได้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ที่สำคัญของและประเทศ ปัจจุบัน รายการนี้เปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็นการสัมภาษณ์ดารารับเชิญในห้องส่ง โดยการเล่าประวัติและผลงานของดารารับเชิญ ซึ่งจะออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 23.05 - 24.00 น. ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี
นอกจากที่พระองค์จะทรงออกรายการโทรทัศน์เป็นประจำอยู่แล้ว พระองค์ยังได้ทรงรับเชิญพิเศษออกรายการโทรทัศน์ และทรงรับเชิญมาทรงออกโฆษณาพิเศษมาแล้วด้วย
[แก้] การแสดงภาพยนตร์
เมื่อปี พ.ศ. 2551 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงถ่ายภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งใจเดียวกัน เป็นภาพยนตร์ที่แรกของพระองค์ โดยทรงแสดงด้วยพระองค์เองอย่างมีพระอัจฉริยภาพ สำหรับภาพยนตร์ที่พระองค์ทรงแสดงนี้เป็น ภาพยนตร์แนวดราม่า สร้างสรรค์สังคม จากบทพระนิพนธ์ "เรื่องสั้นที่...ฉันคิด" ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ภาพยนตร์ทำรายได้ 50 ล้านบาท[3] ต่อมาพระองค์ยังทรงแสดงในภาพยนตร์เรื่อง มายเบสต์บอดีการ์ด และ พระนางจามเทวี[4]
โดยพระปรีชาสามารถในการแแสดงภาพยนตร์ทำให้ภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งใจเดียวกัน มายเบสต์บอดีการ์ด และ พระนางจามเทวี ได้เข้าฉายในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ อีกด้วย โดยเสด็จมาทรงร่วมในพิธีนี้ด้วย เมื่อ พ.ศ. 2551,2552 และ 2553
[แก้] ด้านการกีฬา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีพระปรีชาสามารถในกีฬา โดยเฉพาะกีฬาเรือใบ โดยทรงลงแข่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการทรงเรือ อย่างทรงพระสำราญอยู่เสมอ เมื่อทรงแปรพระราชฐานยังพระราชวังไกลกังวลอ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ (พระอิสสริยยศในขณะนั้น) ทรงแข่งขันกีฬาเรือใบ ประเภทโอเค ในฐานะนักกีฬาทีมชาติ ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทรงทำคะแนนรวมได้เป็นที่ 1 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานเหรียญทองจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงครองเหรียญทองร่วมกันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน งานกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510[5] อันแสดงถึงพระปรีชาสามารถในกีฬาเรือใบของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ให้เป็นที่ประจักษ์และยังคงเป็นที่กล่าวขวัญถึงจนทุกวันนี้
[แก้] ด้านการร้องเพลง
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการร้องเพลง มีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งได้ทรงขับร้องเพลงในประเภทเพลงพิเศษ ปัจจุบัน พระองค์ทรงร้องพิเศษ โดยได้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้ถวายงานเบื้องหลังซึ่งได้ทรงขับร้องและทำนองแบบมิวสิคด้วยพระองค์เองซึ่งมีเพลงที่ขับร้องหลายเพลงอาทิ เช่น เพลงประจำโครงการทูบีนัมเบอร์วัน เพลงประกอบละคร เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องหนึ่งใจ...เดียวกันและ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง มาย เบส บอดี้การ์ด เพลงทางของฉัน และเพลงผู้ชายคนนั้น ซึ่งมีประชาชนได้รู้จักเพลงนี้เป็นอย่างดี และซึ่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แห่งพระราชวงศ์จักรีวงศ์พระองค์แรกซึ่งทรงขับร้องเพลงและทำนองเพลงแบบมิวสิคด้วยพระองค์เอง
[แก้] พระเกียรติยศ
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ฝ่ายใน (ม.จ.ก.) [6]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน (ป.จ.) [7]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ชั้นสูงสุด [8]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ชั้นสูงสุด [9]
- เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร. 1)[11]
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- Grand Cross of the Order of Orange-Nassau จาก ประเทศเนเธอร์แลนด์
[แก้] พระอิสริยยศ
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (5 เมษายน พ.ศ. 2494 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515)
- ท่านผู้หญิงอุบลรัตนราชกัญญา เจนเซน / จูลี เจนเซน[12][13] (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2544)
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน)
- ในกาลปัจจุบันหมายบัตรราชการกำหนดให้ออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เนื่องด้วยคำนำหน้าพระนาม ทูลกระหม่อมมีความหมายว่า "เจ้าฟ้าชั้นเอก" เป็นคำออกพระนาม สมเด็จพระเจ้าพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระลูกยาเธอ ที่ประสูติสมเด็จพระอัครมเหสี อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ข้าทูลละอองพระบาท จะออกพระนามว่า ทูลกระหม่อมเล็ก เป็นต้น
[แก้] เครื่องอิสริยยศ
เมื่อที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ขณะพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง ได้ทรงมีเครื่องอิสริยยศประจำพระองค์ ทรงได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และภายหลังเมื่อทรงลาออกฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ แล้วได้คืนเครื่องอิสริยยศประจำพระองค์ และจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเป็น ทูลกระหม่อมหญิง แด่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องพระอิสริยยศประจำพระองค์ ตามราชประเพณี ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และทรงเป็นเจ้าฟ้าฝ่ายใน และเครื่องอิสริยยศ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีดังต่อไปนี้
- พระสุพรรณบัฎ พร้อมหีบทองคำลงยาราชาวดี ประดับตราพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ประดับเพชร
- พานพระศรีทองคำลงยาราชาวดี พร้อมจอกทองคำลงยาราชาวดี ผอบทองคำลงยาราชาวดียอดปริกประดับเพชร ซองพลูทองคำขอบบนล่างประดับทับทิม และมีตลับภู่ประดับทับทิมกับเพชร ไม้ควักพระกรรณ ไม้แคะพระทนต์ และพระกรรบิดทองคำลงยาราชาวดีประดับทับทิม
- หีบพระศรีทองคำลงยาราชาวดีประดับตราพระจุลมงกุฎ มีลูกหีบสามหีบ พร้อมพานรองลงยาราชาวดี
- พระสุพรรณศรีทองคำลงยาราชาวดี
- พระภิงคารทองคำลงยาราชาวดี พร้อมพานรองลงยาราชาวดี
- ขันพระสุธารสทองคำลงยาราชาวดี ที่ขอบประดับทับทิม พร้อมพานรองลงยาราชาวดี กับจอกทองคำลงยาราชาวดี
- ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยาราชาวดี พร้อมพานรองลงยาราชาวดีขอบประดับทับทิม กับคลุมปัก
- ที่พระสุธารสชาทองคำสลักลาย ประกอบด้วย กาพระสุธารสชาทองคำสลักลาย ถ้วยพระสุธารสชาทำจากหยก มีถาดทองคำสลักลาย
- กาพระสุธารสทองคำสลักลาย ทรงกระบอก พร้อมพานรอง ทองคำสลักลาย
[แก้] รางวัลสูงสุด
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงได้รับรางวัลอันทรงสูงสุดต่อประเทศไทยและนานาชาติ ซึ่งรางวัลที่ทรงได้รับ ทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชน มีดังต่อไปนี้
- องค์การอนามัยโลก ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ถวายรางวัล WHO/SEARO Award ในฐานะที่ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศไทยและนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2546
- สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ถวาย รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ พ.ศ. 2545
[แก้] ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ปริญญากิตติมศักดิ์ | สถาบัน | วันที่ |
---|---|---|
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | พ.ศ. 2545 |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาสังคม [14] | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | 28 มกราคม พ.ศ. 2547 |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ | พ.ศ. 2547 |
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา | มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ | พ.ศ. 2547 |
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา | มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | พ.ศ. 2547 |
พยาบาลศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพยาบาลศาสตร์ [15] | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาพิเศษ [16] | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | พ.ศ. 2548 |
การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา [17] | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | พ.ศ. 2548 |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารและประเมินโครงการ | มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ | พ.ศ. 2548 |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาสังคม | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | พ.ศ. 2548 |
ปริญญากิตติมศักดิ์[18] | วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | พ.ศ. 2549 |
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ [19] | มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภททั่วไป[20] | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา [21] | วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ | พ.ศ. 2553 |
รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา | มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี | พ.ศ. 2553 |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา [22] | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | พ.ศ. 2554 |
ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[23] | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | 9 มีนาคม พ.ศ. 2555 |
[แก้] มูลนิธิหน่วยงานในพระอุปถัมภ์และชื่อ สถานที่ สิ่งของ อันเนื่องด้วยพระนาม
[แก้] สถาบันการศึกษา
- โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ จังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครปฐม
- โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา
- โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย จังหวัดนครนายก
- โรงเรียนอุบลรัตน์พิทยาคม
- โรงเรียนอุบลรัตน์ จังหวัดนครราชสีมา
- โรงเรียนสิริวัฒนาบริหารธุรกิจและพณิชยการ
- โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- สระว่ายน้ำอุบลรัตนราชกัญญา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- อาคารอุบลรัตนราชกัญญา วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
- อาคารอุบลรัตนราชกัญญา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
- อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงเรียนไฮเทค-เทคโนโลยี จังหวัดสระแก้ว
- อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงเรียนโปลิเทคนิคเชียงราย
[แก้] มูลนิธิ/หน่วยงานในพระอุปถัมภ์
- ทูบีนัมเบอร์วัน
- มูลนิธิชีวิตสดใส
- โรงเรียนอนุบาลชีวิตสดใส
- มูลนิธิคุณพุ่ม
- มูลนิธิ Miracle of life
- สมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย
- โรงเรียนเพียงหลวง
- สมาคมลูกกตัญญูแห่งชาติ
[แก้] การคมนาคม
- เขื่อนอุบลรัตน์ หรือที่ชาวขอนแก่น เรียกว่า "เขื่อนพองหนีบ" สร้างปิดกั้น แม่น้ำพอง ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
- อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
[แก้] ศาสนสถาน
- วัดศรีอุบลรัตนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- อาคารปฏิบัติธรรม อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี วัดพรหมมหาจุฬามณี พรหมรังษี ตำบลดอนยออำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
- อาคารปฏิบัติธรรม อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี วัดป่าท่าพง จังหวัดสระบุรี
[แก้] ศาสนวัตถุ
[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว
- ตลาดท่าปลาเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
- อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี จังหวัดสุพรรณบุรี
- อาคารพิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม วัดศรีอุบลรัตนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- อาคารแสดงสินค้าโอท็อป ศูนย์การประชุม และแสดงสินค้านานาชาติอุบลรัตนราชกัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
[แก้] สถานที่ราชการ
- อาคารอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง
[แก้] ราชตระกูล
[แก้] อ้างอิง
- ^ ราชกิจจานุเบกษา, คำแถลงการณ์ประสูติ, เล่ม 68, ตอน 23 ง, 10 เมษายน พ.ศ. 2494, หน้า 1635
- ^ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 112 ก ฉบับพิเศษ, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
- ^ มยุรี อำนวยพร, ที่สุดของหนังเด่น-หนังโดนแห่งปี dailynews.co.th
- ^ 4 หนังไทยใหม่เปิดตัวที่เมืองคานส์ thaicinema.org
- ^ 16 ธันวาคม วันกีฬาแห่งชาติ
- ^ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม 78, ตอน 104 ง ฉบับพิเศษ, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2504, หน้า 17
- ^ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม 85, ตอน 44 ง ฉบับพิเศษ, 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2511, หน้า 24
- ^ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 122, ตอน 20 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 2 ธันวาคม พ.ศ. 2548, หน้า 2
- ^ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 113, ตอน 22 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 4 ธันวาคม พ.ศ. 2539, หน้า 87
- ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓ , เล่ม129 , ตอน20 ข ฉบับทะเบียนฐานันดรศักดิ์, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555, หน้า 3
- ^ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม69 , ตอน69 ง ฉบับพิเศษ, 18 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2495, หน้า 1
- ^ "Prince dies in tsunami, was grad of Torrey Pines". The San Diego Union-Tribune. December 30, 2004. http://www.signonsandiego.com/uniontrib/20041230/news_1m30prince.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-09-19.
- ^ Former Del Mar resident and Thai royal is among tsunami dead
- ^ คำกราบบังคมทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 38 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ^ รายพระนามและรายนามผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2511 - ปัจจุบัน
- ^ มก. ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ^ คําประกาศราชสุดุดีเฉลมพระเกียรติคุณทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ^ ทำเนียบนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ^ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก ม.วงษ์ชวลิตกุล
- ^ สภามหาวิทยาลัยศรีปทุม มีมติ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- ^ ทูลกระหม่อมอุบลรัตนฯ พระราชทานปริญญา ว.เฉลิมกาญจนา ศรีสะเกษ
- ^ ข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับที่ 40 22 กุมภาพันธ์ 2554
- ^ วาไรตี้สุดสัปดาห์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 133 7 มีนาคม 2555
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซด์โครงการทูบีนัมเบอร์วัน
- เว็บไซด์มูลนิธิชีวิตสดใส
- เว็บไซด์มูลนิธิคุณพุ่ม
- มีพระดำรัสให้ครอบครัวผู้ประสบภัยสึนามิ มีพลังใจเข้มแข็งต่อสู้ชีวิตต่อไปจากสำนักนายกรัฐมนตรี
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชวงศ์จักรี
- รัชกาลที่ 9
- ราชสกุลมหิดล
- พระราชปทินัดดาในรัชกาลที่ 4
- พระราชปนัดดาในรัชกาลที่ 5
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- ชาวไทยที่เกิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- ชาวไทย-สวิส
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- เจ้านายที่ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ไทย
- ฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า
- นักแสดงไทย
- นักร้องไทย
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์