ประเทศตุรกี
สาธารณรัฐตุรกี
Türkiye
Cumhuriyeti (ตุรกี)
| ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||
คำขวัญ: Yurtta
Sulh, Cihanda Sulh ("สันติภาพในบ้าน สันติภาพในโลก") | ||||||
เพลงชาติ: İstiklâl
Marşı (มาร์ชเอกราช) | ||||||
เมืองหลวง | อังการา 41°1′N 28°57′E / 41.017°N 28.95°E | |||||
เมืองใหญ่สุด | อิสตันบูล | |||||
ภาษาทางการ | ภาษาตุรกี | |||||
การปกครอง | สาธารณรัฐประชาธิปไตย | |||||
- | ประธานาธิบดี | อับดุลลาห์ กึล | ||||
- | นายกรัฐมนตรี | เรเจป ไตยิป เอร์โดอัน | ||||
การสร้างชาติ | ||||||
- | การตั้งรัฐสภา | 23 เมษายน พ.ศ. 2463 | ||||
- | เริ่มสงครามประกาศเอกราช | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 | ||||
- | วันแห่งชัยชนะ | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2465 | ||||
- | ประกาศสาธารณรัฐ | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2466 | ||||
พื้นที่ | ||||||
- | รวม | 780,580 ตร.กม. (36) 301,384 ตร.ไมล์ |
||||
- | แหล่งน้ำ (%) | 1.3 | ||||
ประชากร | ||||||
- | 2548 (ประเมิน) | 73,193,000 (17 1) | ||||
- | 2543 (สำมะโน) | 67,844,903 | ||||
- | ความหนาแน่น | 90 คน/ตร.กม. (102
1) 230 คน/ตร.ไมล์ | ||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2549 (ประมาณ) | |||||
- | รวม | 610.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (19) | ||||
- | ต่อหัว | 8,385 ดอลลาร์สหรัฐ (75) | ||||
ดพม. (2007) | 0.806 (สูง) (79) | |||||
สกุลเงิน | ลีราใหม่ตุรกี2
(TRY ) | |||||
เขตเวลา | EET (UTC+2) | |||||
- | (DST) | CEST (UTC+3) | ||||
โดเมนบนสุด | .tr | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 90 |
ตุรกี (อังกฤษ: Turkey; ตุรกี: Türkiye) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (อังกฤษ: Republic of Turkey; ตุรกี: Türkiye Cumhuriyeti) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในบริเวณเทรซบนคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรปใต้ และคาบสมุทรอานาโตเลียในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและเทรซออกจากกันคือทะเลมาร์มาราและช่องแคบตุรกี (ได้แก่ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป[1]
เนื้อหา |
[แก้] ภูมิศาสตร์
[แก้] ภูมิประเทศ
ตุรกีเป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป[2] ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดาเนลเลส (ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 3 ของทั้งประเทศ[3] ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร [4] ตุรกีมีพื้นที่ (รวมทะเลสาบ) ประมาณ 783,562 ตารางกิโลเมตร[5]
ตุรกีถูกล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ได้แก่ทะเลอีเจียนทางตะวันตก ทะเลดำทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ นอกจากนี้ ยังมีทะเลมาร์มะราในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ[6]
ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบด้วยที่ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัสทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร[6]
สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และภูเขาไฟระเบิดในบางครั้ง ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลสก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วางตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2542[7]
[แก้] ภูมิอากาศ
ชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศเป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40℃ อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี
ฝั่งตะวันตกมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1 ℃ ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30℃ ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม[8]
[แก้] ประวัติศาสตร์
[แก้] ก่อนสมัยเติร์ก
-
ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย
คาบสมุทรอานาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่ เช่น ชาตัลเฮอยืค (Çatalhöyük), ชาเยอนู (Çayönü), เนวาลี โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์ (Hacilar), เกอเบกลี เทเป (Göbekli Tepe) และ เมร์ซิน (Mersin) นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[9] การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน, ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจากออกไป[10]
จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวฮิตไตต์ ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 18 ถึง 13 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[11] แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซาร์ดีสในเวลาต่อมา ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์
ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล[12] อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง (รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล[13] ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์[14]
[แก้] สมัยเติร์กและจักรวรรดิออตโตมัน
-
ดูบทความหลักที่ จักรวรรดิออตโตมัน
ตระกูลเซลจุกเป็นสาขาหนึ่งของโอกุสเติร์ก ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทะเลแคสเปียนและทะเลอารัล[15] ในคริสต์วรรษที่ 10 พวกเซลจุกเริ่มอพยพออกจากบ้านเกิดมาทางตะวันออกของอานาโตเลีย ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดินแดนแห่งใหม่ของเผ่าโอกุสเติร์ก หลังจากสงครามแมนซิเกิร์ตในปี 1071 ชัยชนะของเซลจุกในครั้งนี้ทำให้เกิดสุลต่านเซลจุกในอานาโตเลีย ซึ่งเป็นเสมือนอาณาจักรย่อยของอาณาจักรเซลจุกซึ่งปกครองบางส่วนของเอเชียกลาง อิหร่าน อานาโตเลีย และตะวันออกกลาง[16]
[แก้] การเมืองการปกครอง
ตุรกีปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2466 การเป็นรัฐโลกวิสัยเป็นส่วนสำคัญของการเมืองตุรกี ประมุขแห่งรัฐของตุรกีคือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบ้นคืออับดุลลาห์ กืล ขึ้นดำรงตำแหน่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 อำนาจบริหารของตุรกีใช้โดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติใช้โดยรัฐสภาของตุรกี
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ตุรกีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 81 จังหวัด (provinces - iller) ได้แก่
|
|
|
[แก้] ต่างประเทศ
[แก้] ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
[แก้] ด้านการทูต
[แก้] การค้าและเศรษฐกิจ
[แก้] การศึกษาและวิชาการ
[แก้] กองทัพ
-
ดูบทความหลักที่ กองทัพตุรกี
[แก้] กองทัพบก
-
ดูบทความหลักที่ กองทัพบกตุรกี
[แก้] กองทัพอากาศ
-
ดูบทความหลักที่ กองทัพอากาศตุรกี
[แก้] กองทัพเรือ
-
ดูบทความหลักที่ กองทัพเรือตุรกี
[แก้] กองกำลังกึ่งทหาร
[แก้] เศรษฐกิจ
นับตั้งแต่การเป็นสาธารณรัฐ ตุรกีได้มีแนวทางเข้าหาการนิยมอำนาจรัฐ โดยมีการควบคุมจากรัฐบาลในด้านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การค้าต่างประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปี 2526 ตุรกีเริ่มมีการปฏิรูป นำโดยนายกรัฐมนตรีตุรกุต เออซัล ตั้งใจปรับจากเศรษฐกิจแบบอำนาจรัฐเป็นแบบของตลาดและภาคเอกชนมากขึ้น[17] การปฏิรูปนี้ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็สะดุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติทางการเงินในปี 2537 2542[18] และ 2544[19] เป็นผลให้มีการเจริญเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 2524 ถึง 2546 อยู่ที่ 4 เปอร์เซนต์[20] การขาดหายของการปฏิรูปเพิ่มเติม กอปรกับการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและคอร์รัปชัน ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูง ภาคการธนาคารที่อ่อนแอ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น[21]
นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2544 และการปฏิรูปที่เริ่มโดยรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น เกมัล เดร์วึช อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือเป็นเลขหลักเดียว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดลง ไอเอ็มเอฟพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ของตุรกีไว้ที่ 6 เปอร์เซนต์[22] ตุรกีได้พยายามเปิดกว้างระบบตลาดมากขึ้นผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยลดการควบคุมจากรัฐบาลด้านการค้าต่างประเทศและการลงทุน และการแปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐ การเปิดเสรีในหลายด้านไปสู่ภาคเอกชนและต่างประเทศได้ดำเนินต่อไปท่ามกลางการโต้เถียงทางการเมือง[23]
[แก้] ประชากร
ในปี พ.ศ. 2550 ตุรกีมีประชากร 70.5 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.04 ต่อปี ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 92 คนตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละจังหวัดแตกต่างกันตั้งแต่ 11 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในตุนเจลี) จนถึง 2,420 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในอิสตันบูล) ค่ามัธยฐานของอายุประชากรคือ 28.3 [24] จากข้อมูลของทางการในปี พ.ศ. 2548 อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรทั้งหมดคือ 71.3 ปี[25]
ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกีมีชื่อสายเตอร์กิช ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ถึง 55 ล้านคน[26] ชนชาติอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน, ซาซา บอสเนีย, จอร์เจีย, อัลเบเนีย, โรมา (ยิปซี), อาหรับ และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการได้แก่พวกกรีก, อาร์เมเนีย และยิว ในบรรดาชนชาติเหล่านี้ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวเคิร์ด (ประมาณ 12.5 ล้านคน[26]) ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก) เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป[27] [28]
[แก้] การศึกษา
การศึกษาในประเทศตุรกีเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี อัตราการรู้หนังสือคือร้อยละ 95.3 ในผู้ชาย ร้อยละ 79.6 ในผู้หญิง และเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4 [29] การที่อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงต่ำกว่าชายป็นเพราะในเขตชนบทยังคงมีแนวความคิดแบบเก่าที่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ[30]
[แก้] ภาษา
-
ดูบทความหลักที่ ภาษาตุรกี
ประเทศตุรกีมีภาษาทางการเพียงภาษาเดียวคือภาษาตุรกี [31] ซึ่งภาษาตุรกียังเป็นภาษาที่พูดในหลายพื้นที่ในยุโรป เช่นไซปรัส ทางตอนใต้ของคอซอวอ มาเซโดเนีย และพื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย กรีซ โรมาเนีย และเซอร์เบีย[32] นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากกว่า 2 ล้านคนอาศัยอยู่ในเยอรมนี และมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาตุรกีในประเทศออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร[33]
ศาสนา ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม (31,129,845 คน) ที่เหลือเป็นคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ (73,725 คน) คริสต์นิกายจอร์เจียนออร์ทอดอกซ์ (69,526 คน) คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (25,833 คน) คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (22,983 คน) และยิว (38,267 คน)
[แก้] วัฒนธรรม
รากฐานทางสังคมของตุรกีมีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน แต่ผู้ชายก็ยังมีความคิดว่าผู้หญิงด้อยกว่าทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์
[แก้] กีฬา
[แก้] อ้างอิง
- ^ Sabancı University (2005). "Geography of Turkey". Sabancı University. http://www.sabanciuniv.edu/socrates/ects/go.php?page=turkey_geography. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-13.
- ^ Sabancı University (2005). "Geography of Turkey". Sabancı University. http://www.sabanciuniv.edu/socrates/ects/go.php?page=turkey_geography. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-13.
- ^ Turkish Odyssey: Turkey
- ^ "Geography of Turkey". US Library of Congress. http://countrystudies.us/turkey/18.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-13.
- ^ UN Demographic Yearbook, accessed April 16, 2007
- ^ 6.0 6.1 Turkish Ministry of Tourism (2005). "Geography of Turkey". Turkish Ministry of Tourism. http://www.turizm.net/turkey/info/geography.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-13.
- ^ "Brief Seismic History of Turkey". University of South California, Department of Civil Engineering. http://www.usc.edu/dept/civil_eng/structural_lab/eq-rp/seismicity.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-26.
- ^ "Climate of Turkey". Turkish State Meteorological Service. 2006. http://www.meteor.gov.tr/2006/english/eng-climateofturkey.aspx. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-8-14.
- ^ Thissen, Laurens (2001-11-23). "Time trajectories for the Neolithic of Central Anatolia" (PDF). CANeW - Central Anatolian Neolithic e-Workshop. เข้าถึงเมื่อ 2006-12-21.
- ^ Balter, Michael (2004-02-27). "Search for the Indo-Europeans: Were Kurgan horsemen or Anatolian farmers responsible for creating and spreading the world's most far-flung language family?". Science 303 (ฉบับที่ 5662): 1323.
- ^ The Metropolitan Museum of Art, New York (October 2000). "Anatolia and the Caucasus (Asia Minor), 2000 – 1000 B.C. in Timeline of Art History.". New York: The Metropolitan Museum of Art. http://www.metmuseum.org/toah/ht/03/waa/ht03waa.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-21.
- ^ Hooker, Richard (1999-06-06). "Ancient Greece: The Persian Wars". Washington State University, WA, United States. http://www.wsu.edu/~dee/GREECE/PERSIAN.HTM. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-22.
- ^ The Metropolitan Museum of Art, New York (October 2000). "Anatolia and the Caucasus (Asia Minor), 1000 B.C. - 1 A.D. in Timeline of Art History.". New York: The Metropolitan Museum of Art. http://www.metmuseum.org/toah/ht/04/waa/ht04waa.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-21.
- ^ Daniel C. Waugh (2004). "Constantinople/Istanbul". University of Washington, Seattle, WA. http://depts.washington.edu/silkroad/cities/turkey/istanbul/istanbul.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-26.
- ^ Wink, Andre (1990). Al Hind: The Making of the Indo Islamic World, Vol. 1, Early Medieval India and the Expansion of Islam, 7th-11th Centuries. Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-09249-8.
- ^ Mango, Cyril (2002). The Oxford History of Byzantium. Oxford University Press, USA. ISBN 0-19-814098-3.
- ^ Nas, Tevfik F. (1992). Economics and Politics of Turkish Liberalization. Lehigh University Press. ISBN 0-934223-19-X. (อังกฤษ)
- ^ "Turkish quake hits shaky economy", British Broadcasting Corporation, 1999-08-17. สืบค้นวันที่ 2006-12-12 (อังกฤษ)
- ^ "'Worst over' for Turkey", British Broadcasting Corporation, 2002-02-04. สืบค้นวันที่ 2006-12-12 (อังกฤษ)
- ^ World Bank (2005). "Turkey Labor Market Study" (PDF). World Bank. http://siteresources.worldbank.org/INTTURKEY/Resources/361616-1144320150009/Labor_C2.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-10. (อังกฤษ)
- ^ OECD Reviews of Regulatory Reform - Turkey: crucial support for economic recovery : 2002. Organisation for Economic Co-operation and Development. 2002. ISBN 92-64-19808-3. http://books.google.com/books?vid=ISBN9264198083&id=ufYU_fR7mLgC&pg=PP1&lpg=PP1&ots=xxhe4iYB7B&dq=Turkey&sig=5WqjRxHbjn4ObFDJc_sQKuIB2sg#PPP1,M1. (อังกฤษ)
- ^ IMF: World Economic Outlook Database, April 2008. Inflation, end of period consumer prices. Data for 2006, 2007 and 2008. (อังกฤษ)
- ^ Jorn Madslien. "Robust economy raises Turkey's hopes", British Broadcasting Corporation, 2006-11-02. สืบค้นวันที่ 2006-12-12 (อังกฤษ)
- ^ "2007 Census,population statistics in 2007". Turkish Statistical Institute. 2008. http://www.turkstat.gov.tr/PreHaberBultenleri.do?id=3894. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-08-15.
- ^ "Life expectancy has increased in 2005 in Turkey", Hürriyet, 2006-12-03. สืบค้นวันที่ 2006-12-09
- ^ 26.0 26.1 "Türkiyedeki Kürtlerin Sayısı! (Number of Kurds in Turkey!)", Milliyet, 2008-06-06. สืบค้นวันที่ 2008-08-18 (ในTurkish)
- ^ Kirişçi, Kemal (November 2003). "Turkey: A Transformation from Emigration to Immigration". Center for European Studies, Bogaziçi University. http://www.migrationinformation.org/Feature/display.cfm?id=176. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-26.
- ^ "http://www.economist.com/world/international/displaystory.cfm?story_id=11921822". The Economist. November 2008. http://www.migrationinformation.org/Feature/display.cfm?id=176. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-9-3.
- ^ "Population and Development Indicators - Population and education". Turkish Statistical Institute. 2004-10-18. http://nkg.die.gov.tr/en/goster.asp?aile=3. เรียกข้อมูลเมื่อ 2006-12-11.
- ^ Jonny Dymond. "Turkish girls in literacy battle", British Broadcasting Corporation, 2004-10-18. สืบค้นวันที่ 2006-12-11
- ^ "Turkish language" in The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition | Date: 2008
- ^ "Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Report for language code:tur (Turkish)". 2005. http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=tur. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-03-18.Gordon, Raymond G., Jr.
- ^ "The European Turks: Gross Domestic Product, Working Population, Entrepreneurs and Household Data" (PDF). Turkish Industrialists' and Businessmen's Association. 2003. http://www.tusiad.org/haberler/basin/ab/9.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-01-06.
[แก้] แหล่งอื่น
Find more about Turkey on Wikipedia's sister projects: | |
Definitions
and translations from Wiktionary | |
Images
and media from Commons | |
Learning
resources from Wikiversity | |
News
stories from Wikinews | |
Quotations
from Wikiquote | |
Source
texts from Wikisource | |
Textbooks
from Wikibooks |
- Official website of the Presidency of the Republic of Turkey
- Turkey entry at The World Factbook
- Turkey from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศตุรกี ที่ ดีมอซ
- Turkey profile from the BBC News
- Turkey at Encyclopædia Britannica
- แม่แบบ:Wikiatlas
- Turkey's Official Tourism Portal
- ประเทศตุรกี ที่ ดีมอซ
- Key Development Forecasts for Turkey from International Futures
- รูปภาพเกี่ยวกับประเทศตุรกี ที่ฟลิคเกอร์
- ประเทศตุรกี ข้อมูลการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว
|
|
|
|
|
|