|
จางวางทั่ว พาทยโกศล
จางวางทั่ว พาทยโกศล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2428 เป็นบุตรของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) กับนางแสง พาทยโกศล ถึงแก่กรรมเมื่อ
วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2481 รวมอายุ 57 ปี เป็นนักดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 6
ประวัติ
บิดามารดาของท่านเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 จางวางทั่วจึงได้เรียนดนตรีจากบิดามารดา นอกจากนี้ก็ได้ศึกษากับครูคนอื่นๆ
เพิ่มเติมจนมีฝีมือหาตัวจับได้ยาก โดยเฉพาะฆ้องวงและระนาดเอก
สมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับหน้าที่ควบคุมวงปี่พาทย์ของเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ ต่อมา ถูกขอตัวมาอยู่ในวงปี่พาทย์กับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในระหว่างนี้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ซึ่งเป็นสมเด็จพระพี่นางเธอในกรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นจางวางในพระองค์ท่าน คนทั่วไปจึงเรียกว่า จางวางทั่ว ต่อมา ท่านได้รับคัดเลือกทำปี่พาทย์ถวายตัว
โดยเป็นผู้ตีฆ้องวงเล็กแข่งขันได้ "ชั้นหนึ่ง" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญราชรุจิเงินเป็นบำเหน็จ
สมัยรัชกาลที่ 6 จางวางทั่วได้รับหน้าที่เป็นครูสอนเพลงไทย ประจำกองแตรวงทหารเรือ ต่อมาเป็นครูสอนประจำกองแตรวงทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
จน พ.ศ. 2475 ก็ลาออก อีกสองปีต่อมา ท่านได้แต่งเพลงชาติเป็นทำนองแบบไทย ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการนำออกบรรเลงหลายครั้ง
ต่อมาภายหลังมิได้ใช้ เพราะไปใช้ทำนองสากลแทน
ผลงาน
นอกจากฝีมือการเล่นดนตรีแล้ว ท่านยังได้แต่งเพลงอีกเป็นจำนวนมาก มีทั้งประเภทเพลงตับ และเพลงเกร็ดต่างๆ
ประเภทเพลงตับ ได้แก่ ตับลาวเจริญศรี (เป็นผู้เรียบเรียง), ตับชุดแขกไทร เป็นต้น
ประเภทเพลงเกร็ด ได้แก่ เขมรเอวบาง (เถา), เขมรพวง (เถา), เขมรปากท่อ (เถา), เขมรเขียว (เถา), แขกสาหร่าย (เถา),
ดอกไม้ร่วง (เถา), โอ้ลาว (เถา), เขมรเหลือง (เถา), เขมรครวญ (เถา), เขมรน้อย (เถา), พม่าห้าท่อน (เถา), ฯลฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ ท่านยังมีผู้สืบเชื้อสายทางดนตรีที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล และคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ ซึ่งเป็นบุตรธิดาของท่านเอง
ที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2553). จางวางทั่ว พาทยโกศล .
ค้นเมื่อ กันยายน 25, 2553, จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%
97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7_%E0%B8%9E%
E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%
B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5
|
|