หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว
พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก
ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง
มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า
พระบรมราชาธิราชที่ 4 "
(แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)
ครองกรุง ธนบุรีอยู่ 15 ปี
นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี
การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้
กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
- ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
- ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล
ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี
ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก
จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่
ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก
ด้านการปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310
บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย
ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่
ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง
ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน 3 ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ
ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น
พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้
แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร
เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ
ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ
นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด
เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก ยากแค้น
จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก
ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์
ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก
พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ2 ครั้ง
เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ
ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ
ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง
พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน
ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า
พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัย
ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงะนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี
แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้
การจราจลในกรุงธนบุรี
ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร
เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี
และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา
ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน
กรุงธนบุรี
และมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325
พระชนมายุได้ 45 พรรษา |