ค้นหา :
ทั่วไป     ขั้นสูง
วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
Log in | วันจันทร์ที่ 20 ส.ค. 2555

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) ตอน สภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา

วันที่โพส 4 เม.ย. 2554 โพสโดย salid
เอกสารแนบ
ประเภท   ขนาด 1.52 MB
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) ตอน สภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) ตอน สภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา

ใบความรู้

เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3)

 รายวิชา สังคมศึกษา รหัส ส 33101                          ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
----------------------------------------------------

สภาพเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

                สภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ 3 ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า  ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา

                1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ

                1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกันโดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

                1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ

                1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจากราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีน

                ระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้

                ผลดี  ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บ

                ผลเสีย  เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด

2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ

                2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา

                2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ 3 การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ

                2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ

                - จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน

                - อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา

                - ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล

                - ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ

                3. ระบบเงินตรา

                - เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)

                - เงินปลีกย่อย ใช้เบี้ยและหอยเหมือนสุโขทัยและอยุธยา

การศึกษา

                ระบบการศึกษาในสมัยนี้ยังคงคล้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา คือมีวัดและวังเป็นสถาบันทางการศึกษา  ที่วัดผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องบวชเป็นพระ ซึ่งเราเรียกว่า บวชเรียน การสอนใช้พระและราชบัณฑิตสอนวิชาสามัญ ส่วนวิชาอื่นๆ เช่นช่างต่างๆ จะมีเรียนกันแต่ในครัวเรือนและวงศ์ตระกูล เช่น ช่างทอง ช่างหล่อ

                สำหรับหญิงมีการศึกษาจากบุคคลในครัวเรือน วิชาที่เรียนจะเป็นพวกเย็บปักถักร้อย การบ้าน การเรือน การเรียนหนังสือจะมีบ้างถ้ารักที่จะเรียนแต่ก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เด็กหญิงชาวพระนครบิดามารดามักส่งเข้ามาอยู่ในวัง โดยอยู่ในตำหนักเจ้านายหรือญาติ เพื่อเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี มารยาท การครองตน ต่อมาได้เริ่มพัฒนาระบบการศึกษาแบบใหม่มากขึ้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฏ (รัชกาลที่ 4) ผนวชที่วัดบวรนิเวศ โปรดให้คณะสอนศาสนาคริสต์   มิชชันรี มาถวายความรู้   เช่นบาดหลวงปัลเลอร์กัว สอนภาษาละติน แหม่มเฮาส์ หมอบรัดเลย์สอนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะหมอบรัดเลย์ได้เข้ามาสอนหนังสือให้เด็กไทย จีน  แจกยาและรักษาผู้ป่วยไข้ ได้ยำวิธีการปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษมาเมืองไทย และต่อมาได้ทำเครื่องพิมพ์มาพิมพ์หนังสือ ได้จัดพิมพ์หนังสือประถม ก. กา ออกจำหน่าย และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ได้มีการรวบรวมความรู้ต่างๆ ทั้งวรรณคดี โบราณคดี และตำรายา จารึกไว้ตามผนังวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) จนมีผู้กล่าวว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งรัชกาลที่3

สภาพสังคม

                มีโครงสร้างคล้ายอยุธยาและธนบุรี แบ่งเป็น

                   - เจ้านายชั้นสูง(กษัตริย์) 
                   - ขุนนางและข้าราชการต่างๆ  
                   - ไพร่และสามัญชน  
                   - ทาส

การศาสนา

                สมัยรัชกาลที่ 1

                - โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง ปิดทองทั้งปกหน้าปกหลังและกรอบ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวงหรือฉบับทองหรือทองใหญ่

                - สร้างและปฏิสังขรณ์วัด เช่น วัดพระแก้ว ปฏิสังขรวัดโพธาราม และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส"

                - อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากวัดมหาธาตุสุโขทัยมาประดิษฐานที่วัดสุทัศน์วราราม และอัญเชิญพระพุทธสิหิงห์จากเชียงใหม่มาประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรค์

                สมัยรัชกาลที่ 2

                - ปฏิสังขรณ์วัดแจ้งแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม

                - แต่งตั้งสมณทูตไปสืบศาสนาที่ลังกา8 รูป เมื่อคณะพระสมณทูตกลับมา ได้นำต้นโพธิ์มา 6 ต้น

                - แก้ไขปรับปรุงบทสวดมนต์

                เนื่องจากมีอหิวาตกโรคระบาดในสมัยนี้ผู้คนล้มตายมาก จึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ มีการยิงปืนใหญ่ขับไล่ความอัปมงคล อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมสาริกธาตุออกแห่ นิมนต์พระภิกษุประพรมน้ำพระพุทธมนต์ไปตามทาง ชักชวนให้ประชาชนสวดมนต์ภาวนาอยู่ในบ้าน ศพผู้ตายให้จัดการเผา

                สมัยรัชกาลที่ 3

                - ให้ตรวจสอบพระไตรปิฎกทั้งจากลังกาและมอญ แล้วให้จารึกอย่างสวยงามได้รับยกย่องว่าเป็นพระไตรปิฎกที่สวยงามและถูกต้องมากที่สุด

                - ให้สำรวจความประพฤติของสงฆ์ให้อยู่ในพระวินัย

                - ตั้งธรรมยุตินิกาย โดยพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ ทรงสนใจศึกษาพระไตรปิฎก ทรงเห็นว่าพระสงฆ์สมัยนั้นไม่เคร่งครัดพระธรรมวินัย จึงต้องทำการสังคายนาใหม่ พระองค์ได้ทรงพบพระภิกษุรามัญรูปหนึ่งชื่อ ซาย เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากจึงทรงยึดถือเป็นแบบอย่างและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ข้อปฏิบัติของพระองค์จึงผิดไปจากพระสงฆ์รูปอื่นๆ การห่มผ้าก็เป็นแบบรามัญ พระองค์ได้ย้ายที่ประทับมาอยู่วัดสมอราย (ราชาธิวาส) ทรงให้นามคณะสงฆ์ของพระองค์ว่า คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ส่วนคณะสงฆ์เดิมเรียกว่า คณะสงฆ์มหานิกาย

 --------------------------------------------------------------------------------------

จงตอบคำถามต่อไปนี้

           1. นักเรียนคิดว่าพระคลังสินค้ามีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติหรือไม่อย่างไร

           2. เพราะเหตุใดรัชกาลที่3  จึงทรงได้รับสมญาว่า เจ้าสัว

           3. เพราะเหตุใดหญิงไทยจึงไม่นิยมเรียนวิชาสามัญ

           4. อาพาธพินาศหมายถึงอะไร


คำค้น : ประวัติศาสตร์
ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง
โพส : 10 พ.ค. 2554
เข้าชม : 3,637 ครั้ง
ผู้สร้าง : ON_LEE
โพส : 5 มิ.ย. 2555
เข้าชม : 2,254 ครั้ง
ผู้สร้าง : Noo_Wow
โพส : 18 พ.ย. 2552
เข้าชม : 64,272 ครั้ง
ผู้สร้าง : ทีมงานทรูปลูกปัญญา
โพส : 21 ส.ค. 2552
เข้าชม : 2,510 ครั้ง
ผู้สร้าง : ทีมงานทรูปลูกปัญญา
โพส : 5 ต.ค. 2552
เข้าชม : 7,026 ครั้ง
ผู้สร้าง : ทีมงานทรูปลูกปัญญา
โพส : 9 มี.ค. 2553
เข้าชม : 4,457 ครั้ง
ผู้สร้าง : TiCFoRDoPh
 
ชื่นชอบเนื้อหานี้
  ความคิดเห็น
-- ไม่มีความคิดเห็น --

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) ตอน สภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) ตอน สภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา ใบความรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) รายวิชา สังคมศึ ...

รูปของ salid โพสโดย : salid
วันที่ 4 เมษายน 2554
สัญลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย
โพส : 27 ก.พ. 2555
เข้าชม : 3,616 ครั้ง
โพสโดย : SUPAPORN
บ้านของฉันปราสาทภูมิโปน
โพส : 27 เม.ย. 2555
เข้าชม : 737 ครั้ง
โพสโดย : ปิยะพงษ์
เรียนรู้กับยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์
โพส : 6 ม.ค. 2554
เข้าชม : 3,230 ครั้ง
โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา
ประวัติศาสตร์อยุธยา
โพส : 7 ม.ค. 2554
เข้าชม : 3,246 ครั้ง
โพสโดย : ทีมงานทรูปลูกปัญญา
วิชา : วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
หมวด : ประวัติศาสตร์
เข้าชม : 27,109 ครั้ง
คะแนนความชื่นชอบ : 49 คะแนน       ระดับชั้น :
แบ่งปันให้เพื่อน
อีเมล์เพื่อน (แยกแต่ละอีเมล์ด้วย semi-colon ;)
ส่งโดย
ข้อความ
 
 
   
 ระดับปฐมวัย
 ระดับประถมและมัธยมศึกษา
 

 
©2008 Trueplookpanya.com All Rights Reserved. Check our Terms of service. To learn more about how we use your information, see our Privacy Policy.
Creative Commons License