|
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ |
หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี
พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า
"พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" และได้ย้ายราชธานีจาก
กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม
และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร"
พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา
พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อครั้ง
สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี
ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้
รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์
ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม
ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้
เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ
ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ
รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย
นั่นคือศึกที่เรียกว่า"สงครามเก้าทัพ"
ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี
กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด
หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ
ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน
รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่
รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ
ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ
ในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ
มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมืองเป็นกษัตริย์องค์ที่2
อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า
"วังหน้า"
สำหรับพระราชวังหน้านั้นปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์นั่นเอง
รวมทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวงก็เคยเป็นอาณาบริเวณของ
วังหน้ามาก่อน
เวลามีการก่อสร้างต่างๆบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปในดินจึงมักพบ
โบราณวัตถุหลายอย่าง โดยเฉพาะปืนใหญ่แบบโบราณ มีการขุดได้บริเวณนี้
หลายกระบอก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) พระราชโอรสองค์
โตได้ครองราชสมบัติสืบมาเป็นรัชกาลที่2
พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์
และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน
ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก
ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ
วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี
จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวักประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า
"วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร"
ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู
หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง
ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ
นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว
รัชกาลที่2ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย
พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ
รามเกียรติ์
นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว
ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย
ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด
กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย
ทั่วๆไปเรียกว่า "สุนทรภู่"
ในด้านการต่างประเทศ
พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก
ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394)
ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน
ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น
สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ
เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น
เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุง้า แดง
ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน
ในการกู้ชาติสยาม
รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว
ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็
ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า
มาเผยแพร่ได้
ความจริงในสมัยรัชกาลที่ 3
ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ
สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง
จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า
ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา
ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ
องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น
อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง
ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส
ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย
เฉพาะดาราศาสตร์ ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้
เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า
แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก
ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น
ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา
ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณธสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย
ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี
วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ
ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ
สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ
ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้
จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด
ความขัดแย้งกับชาติตวันตก
ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน
ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้
ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง
จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย
นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม
สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี
คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย
การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย
สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่
ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ
3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี
รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก
ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ
ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก
ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น
เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411
ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู
พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ
ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ
การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น
เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก
สองสัปดาห์ต่อมา
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ของรัชกาลที่ 4
ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว
ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน
ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ
กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่
นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์
ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคม ก็มิได้ลดละ แต่
โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี
ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่
พระองค์มีพระบรมราชโองการ อยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์
เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา
ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น
ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำคัญในประเทศสยาม
พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ
ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง
ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช
และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช
การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม
เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น
ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ
ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น
การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรป เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ
ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่
ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง
บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง
กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว
ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้
ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง
ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุ
โรปแล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้ง ใหญ่
โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี
ความทันสมัยอย่างตะวันตก
ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ
มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน
ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของประเทศ
เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ
อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม
ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย
ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็
ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน
ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว
ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้
มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่ง
หนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน
นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย
จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก
ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5
เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450
เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ
โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น
ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด
แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ
แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ
หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน
ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง
กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง
เจ้ามหาวชิราวุธ
โอรสของรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์
ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ
นโยบายปฏิรูปแบบตะวันตกส่งผลต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล
การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกในปี พ.ศ. 2456 คือคนไทยต้องมี นามสกุลใช้
ในอดีตคนไทยใช้เพียงชื่อตัวไม่มีนามสกุล ซึ่งพระองค์มี
พระราชดำริว่าไม่ทันสมัยอย่างชาวตะวันตก พระองค์จึงทรงพระราช
ทานนามสกุลให้แก่ขุนนาและคหบดีกว่าร้อยสกุล รวมถึงการถวาย
พระนามต้นแห่งกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีว่า รามา ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้
พระองค์ยังทรงยกเลิกธรรมเนียมให้ผู้หญิงไทยไว้ผมสั้นทรง
ดอกกระมอย่างโบราณ และหันมาไว้ผมยาวแบบฝรั่ง และให้นุ่งผ้าถุง
แทนโจงกระเบน ทรงจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ มีการตั้ง
จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สงครามโลกครั้งที่ 1
เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วง
ท้ายของสงครามพระองค์ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิยุโรป ด้วย
นั่นทำให้ประเทศสยามได้รับการต้อนรับให้เข้าร่วมสันนิบาติชาติ
ภายหลังสงคราม และภายหลังจากทหารอาสาชาวไทยกลับจาก สงคราม
พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกบนพื้นแดงมาเป็น
ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันแทน
ในรัชสมัยนี้มีการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์และขุนนางใกล้ชิด
ให้เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปรึกษาใกล้ชิดกับพระองค์ในการบริหาร ประเทศ
และมีการตั้ง กองเสือป่า ขึ้นมาโดยมีพระองค์เองเป็นผู้ บัญชาการ
กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นมีลักษณะซ้ำซ้อนกับกองทัพ และหลาย
ครั้งเสือป่าของพระองค์มีเรื่องมีราวกับทหารในกองทัพ ปมขัดแย้งเริ่ม
เกิดขึ้นในหมู่ทหารจำนวนหนึ่ง กระทั่งประทุเป็นการก่อกบฎใน ร.ศ. 130
ที่เรียกว่า กบฏนายสิบ
รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการละครมาก ในราชสำนักสมัยนั้นมีการ
เล่นละครกันอยู่เป็นประจำ และไม่ว่าจะเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด
ก็มักจะนำคณะละครของพระองค์โดยเสด็จไปด้วยเสมอ
อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โปรดการ
สร้างถาวรวัตถุ ได้ทรงสร้างพระตำหนักและพระราชวังไว้ตามจังหวัด
ต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ พระตำหนักดุสินธานี ที่กรุงเทพฯ พระราช
วังสนามจันทร์ ที่นครปฐม พระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน
ที่เพชรบุรี เป็นต้น ผลจากการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินใน
ท้องพระคลังที่สะสมมาสมัยรัชกาลที่ 5 ร่อยหรอลง จนเกิดปัญหาการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปลายรัชกาล รัชกาลที่ 6
ทรงอภิเษกสมรสเมื่อพระชนม์มายุมากแล้ว พระ
ราชธิดาพระองค์เดียวประสูติก่อนวันเสด็จสวรรคตของพระองค์เพียง
แค่วันเดียวในปี พ.ศ. 2468 พระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าประชาธิปก
ทรงขึ้นคอรงราชย์ต่อ
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะทรง
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอีตันของอังกฤษ แต่ดูเหมือนรัชกาลที่ 7
จะโปรดการทหารมากกว่า พระองค์ทรงเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและ
การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ รัชกาลที่ 7 ทรงมีความห่วงใยพสก
นิกรอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ สยามได้นำระบบไปรษณีย์และ โรเลขมาใช้
เริ่มมีการสร้างสนามบินขึ้นที่ทุ่งดอนเมือง
น่าเสียดายที่ช่วงเวลานั้นไม่เปิดโอกาสให้พระองค์ได้ทรงทำ
ตามแนวคิดในการบริหารประเทศของพระองค์ เพราะทรงครองราชย์
ในสมัยที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ข้าวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศราคาตกต่ำอย่างมาก ภาวะเงิน
เฟ้อที่ระบาทดไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อรัฐบาลของพระองค์อย่างหลีก
เลี่ยงไม่ได้ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากการใช้จ่าย
อย่างฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนหน้า แม้จะมีการปรับลดคาเงินบาทลง
และนำเงินบาทในผูกอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่ก็
ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ วิกฤติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้พระองค์ทรง
เลือกที่จะตัดงบประมาณของราชสำนักลง ลดเงินเดือนข้าราชการ
และมีการดุลข้าราชการจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ข้าราชการ
จำนวนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการ
ศึกษามาจากประเทศตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป
ในเวลานั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอำนาจใหม่ซึ่ง เรียกว่า
ประชาธิปไตย ได้เริ่มขึ้น โดยเริ่มจากปัญญาชนรุ่นใหม่ซึ่ง
เป็นสามัญชนที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป โดยเฉพาะจากอังกฤษ และฝรั่งเศส
ในขณะที่พวกราชวงศ์มักนิยมไปศึกษาที่รัสเซียซึ่งยังปก
ครองในระบบสมบูรณษญาสิทธิราช
คนหนุ่มเหล่านั้นได้เห็นระบอบการปกครองแบบใหม่ และชื่น
ชมในสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชน ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรง
ตระหนักดีว่าประชาธิปไตยควรเริ่มใช้เมื่อประชาชนมีความพร้อมก่อน
และพระองค์ทรงเห็นว่าในเวลานั้นคนไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบบ ใหม่
พระองค์เคยมีพระราชปรารภว่า คนไทยควรมีจิตสำนึกทางการ เมืองเสียก่อน
จึงค่อยนำระบบประชาธิปไตยมาใช้
ข่าวลือเรื่องการรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่ว ในวันฉลองครบรอบ 150
ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2475 อีกสอง เดือนต่อมาในวันที่ 24
มิถุนายน ก็มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และเป็น
การสิ้นสุการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
การรัฐประหารเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลซึ่งใช้ชื่อว่า คณะ ราษฎร์
อันประกอบด้วยทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แกนนำของกลุ่ม
คณะราษฎร์ล้วนเป็นคนหนุ่มที่สำเร็จการศึกษามาจากยุโรป โดย
เฉพาะกลุ่มที่เคยไปศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แกนนำฝ่ายพลเรือน คือ
นายปรีดี พนมยงค์ นักกฎหมายหนุ่มจากฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายทหารมี
พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตสังคะ) นายทหารปืนใหญ่จาก
ฝรั่งเศสเช่นกันเป็นผู้นำ คณะผู้ก่อการได้เชิญ พลเอกพระยา พหลพล
พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายทหารปืนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษามา
จากปรัสเซียมาเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร เนื่องจากเป็นนายทหาร
ชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพขณะนั้น
เช้าวันที่ 24 มิถุนายน ทหารในฝ่ายคณะราษฎร์ได้นำรถถัง
และกำลังทหารจำนวนหนึ่งบุกยึดสถานที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ไว้ได้ หมด
รวมทั้งทำการควบคุมตัวเจ้านายราชวงศ์ชั้นสูงเอาไว้เป็นตัว ประกันด้วย
ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กำลังเสด็จแปรพระราช
ฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล
แม้ฝ่ายคณะราษฎร์จะมีกำลังน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลมาก แต่
เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด รัชกาลที่ 7
ทรงยินดีสละพระราชอำนาจของพระองค์
ยอมรับการเป็นกษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใน ระบอบประชาธิปไตย
|
|