สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
-
บทความนี้เกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สำหรับพระศรีศิลป์พระองค์อื่น ดูที่ พระศรีศิลป์
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
|
---|---|
พระบรมนามาภิไธย | พระศรีศิลป์ |
พระอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์สุโขทัย |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2154 |
ระยะครองราชย์ | 17 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | พระศรีเสาวภาคย์ |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระเชษฐาธิราช |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
สวรรคต | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเอกาทศรถ[1] |
พระราชมารดา | ไม่ปรากฏพระนาม |
พระราชโอรส/ธิดา | สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระพันปีศรีศิลป์ พระอาทิตยวงศ์ |
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย
หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์องค์ก่อนแล้ว พระศรีศิลป์หรือพระพิมลธรรม หรือพระเจ้าทรงธรรมก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ
เนื้อหา |
[แก้] พระราชประวัติ
[แก้] ฉบับพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เดิมบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดระฆัง มีความรอบรู้ทางด้านพระไตรปิฎกมาก จนได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพิมลธรรมอนันตปรีชา มีผู้ที่นิยมท่านมาก รวมทั้ง จหมื่นศรีสรรักษ์ยังได้ฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด้วย
ในแผ่นดินของพระศรีเสาวภาคย์ จหมื่นศรีสรรักษ์และบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้ซ่องสุมกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงบุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงและจับพระศรีเสาวภาคย์นำไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพิมลธรรมอนันตปรีชาให้ลาสิกขาบท ขึ้นเสวยราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีขาล จุลศักราช 973 (พ.ศ. 2154) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และทรงแต่งตั้งจหมื่นศรีสรรักษ์เป็นพระมหาอุปราช
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ พระเชษฐากุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และ พระอาทิตยวงศ์ ส่วนจดหมายเหตุวันวลิตระบุว่า พระองค์ มีพระราชโอรส 9 พระองค์ พระราชธิดา 8 พระองค์
ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก ทรงมีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราชจนกว่าจะได้ครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราย์ได้ 17 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้
[แก้] พระราชประวัติฉบับ...
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระนามเดิมว่า พระอินทราชา ทรงเป็นโอรสของพระเอกาทศรถ พระเจ้าทรงธรรมคงเป็นโอรสที่เกิดจากพระสนม การที่พระเจ้าทรงธรรมขึ้นมาครองราชย์ได้เพราะเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชโอรสอันเกิดจากพระมเหสีและได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช ซึ่งมีสิทธิจะได้ครองราชสมบัติต่อนั้น ถูกข้อหาขบถต่อพระราชบิดาจึงต้องเสวยยาพิษและสิ้นพระชนม์ไปก่อน ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระอินทราชาได้เสด็จออกผนวชอยู่จนถึงรัชสมัยพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อพระศรีเสาวภาคย์เสด็จสวรรคตแล้ว พระศรีศิลป์และบรรดาเจ้านายขุนนาง ได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวช และขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2154 พระชนมายุได้ 29 พรรษา ทรงพระนาม พระเจ้าทรงธรรม
[แก้] พระราชกรณียกิจ
[แก้] ด้านพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน
[แก้] ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
พระองค์ทรงมีสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า และในปี พ.ศ. 2115 พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข
[แก้] ด้านราชการสงคราม
เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตกในทะเลอันดามัน พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ. 2165 ต่อมา กัมพูชาและเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
[แก้] อ้างอิง
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
[แก้] ดูเพิ่ม
สมัยก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระศรีเสาวภาคย์ (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2153) |
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2154 - พ.ศ. 2171) |
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (ราชวงศ์สุโขทัย) ( พ.ศ. 2171 - พ.ศ. 2173) |
|