ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ธานินทร์ กรัยวิเชียร | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 14 | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ( 1 ปี, 12 วัน) |
|
รองนายกรัฐมนตรี | พลเอก บุญชัย บำรุง อัมพร จันทรวิจิตร |
ผู้ว่าการแทน | พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ |
สมัยก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
สมัยถัดไป | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
องคมนตรี | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2520 |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 เมษายน พ.ศ. 2470 (85 ปี) กรุงเทพฯ ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (แอนเดอเซ่น) (ถึงแก่อนิจกรรม) |
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร (5 เมษายน พ.ศ. 2470 — ) องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของไทย
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ นายแห กับนางผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม แอนเดอเซ่น) มีบุตร 5 คน คือ นางรูบีน่า กรัยวิเชียร สุวรรณพงศ์ นายมหินทร์ กรัยวิเชียร นายเขมทัต กรัยวิเชียร นายนิติกร กรัยวิเชียร และ ทันตแพทย์หญิงรีเบ้กก้า พิทซ์
[แก้] การศึกษา
ธานินทร์ กรัยวิเชียร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ อังกฤษ
[แก้] ประวัติการทำงาน
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- ศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา
- นายกรัฐมนตรี ใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
- องคมนตรี (ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2520)
- กรรมการตุลาการ (พ.ศ. 2521 - 2528)
- กรรมการร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์
- รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการบริหารสภากาชาดไทย
- กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ
[แก้] บทบาททางการเมือง
ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย[1] ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือการต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น จนประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศต้องเปลี่ยนการปกครองไปเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ประเทศไทยยังดำรงเอกราชไว้ได้ งานหลักอีกด้านหนึ่งคือการรณรงค์ต่อต้านคอรัปชั่น โดยรัฐบาลของนายธานินทร์ได้รับการยกย่องว่าเป็นรัฐบาลที่มือสะอาดที่สุดชุดหนึ่ง ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายธานินทร์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (ป.จ.) - พ.ศ. 2537 [2]
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
[แก้] อ้างอิง
- ^ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายธานินทร์ กรัยวิเชียร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 124ก ฉบับพิเศษ วันที่ 10 ตุลาคม 2519
- ^ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล)
สมัยก่อนหน้า | ธานินทร์ กรัยวิเชียร | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 39) (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520) |
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นายกรัฐมนตรีไทย
- นายกรัฐมนตรีไทยที่ถูกรัฐประหาร
- องคมนตรี
- นักการเมืองไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์