พระมหาธรรมราชาที่ 3
พระมหาธรรมราชาที่ 3 |
|
---|---|
พระบรมนามาภิไธย | พระยาไสลือไท |
พระปรมาภิไธย | พระมหาธรรมราชาที่ 3 |
พระอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์พระร่วง |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1943-พ.ศ. 1962 |
ระยะครองราชย์ | 19 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | พระมหาธรรมราชาที่ 2 |
รัชกาลถัดไป | พระมหาธรรมราชาที่ 4 |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
สวรรคต | พ.ศ. 1962 |
พระราชบิดา | พระมหาธรรมราชาที่ 2 |
พระมหาธรรมราชาที่ 3 หรือ พระยาไสสือไท เป็นพระโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 2 กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 2 สวรรคตราว พ.ศ. 1942 พระยาไสสือไทจึงขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า “พระมหาธรรมราชาที่ 3” โดยทรงเป็นกษัตริย์สุโขทัยในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
เนื้อหา |
[แก้] การเสียเอกราชให้กรุงศรีอยุธยา
การที่กรุงสุโขทัยต้องเสียเอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลนี้ นั้น ความจริงไม่ควรถือว่าพระเจ้าไสยลือไทอ่อนแอเพราะถ้าจะเริ่มต้นกันด้วยสาเหตุ เราก็จะพบว่าสาเหตุปัจจุบันของสงครามระหว่างสองกรุงนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่พระเจ้าลิไทสวรรคคต หาใช่เพราะพระเจ้าไสยลือไททรงขาดพระปรีชาสามารถแต่ประการใดไม่
ครั้งมาพิจารณากันในด้านการดำเนินสงคราม ก็จะเห็นว่า ความจริงพระเจ้าไสยลือไททรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งยิ่ง กล่าวคือ ทรงรับมือข้าศึกซึ่งมีแสนยานุภาพเข้มแข็งอยู่ได้ถึงสามปีเศษ สงครามจึงยุติลง ถ้าพระเจ้าไสยลือไททรงอ่อนแอจริงแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่า สงครามจะต้องสิ้นสุดลงภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
[แก้] เหตุการณ์ในรัชสมัย
อาจกล่าวได้ว่าภายหลังที่ทางอาณาจักรอโยธยาตัดกำลังหัวเมืองต่าง ๆ ของสุโขทัยลงแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองของอาณาจักรสุโขทัยก็ทรุดลงและยากที่จะแก้ไขให้มั่นคงขึ้นได้ เนื่องจากอาณาจักรอโยธยาสามารถขยายตัวออกไปได้อย่างกว้างขวางแต่ถึงกระนั้น พระมหาธรรมราชาที่ 3 ก็ได้ทรงกู้เสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัย โดยได้ทรงยกองทัพออกไปปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ให้อยู่ในอำนาจแม้จะไม่ได้มากเท่ากับครั้งพระยาลิไทก็ตาม แต่พระองค์ก็ได้ทำสงครามหลายครั้ง รวมทั้งเคยยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1945 ด้วย ซึ่งแม้จะไม่ได้ผลทางชัยชนะเลยก็ตาม แต่เป็นการแสดงถึงความพยายามในการสร้างอาณาจักรให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นกว่าการเป็นรัฐกันชนขนาดเล็กที่อาจถูกผนวกไปอยู่กับดินแดนของอาณาจักรใดอาณาจักหนึ่งได้
[แก้] พระราชวงศ์กับเหตุการณ์ภายหลัง
พระยาไสสือไท ทรงมีพระราชโอรสสองพระองค์ คือ
- พระยาบาลเมือง หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
- พระยาราม
หลังจากที่พระยาไสสือไทเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 1962 ก็เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติสมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) กษัตริย์อยุธยาต้องยกทัพมาปราบจลาจลโดยยกทัพไปถึงพระบาง (นครสวรรค์) พระยาบาลเมือง และพระยาราม ต้องออกมากราบบังคมต่อสมเด็จพระนครินทราชาธิราชจึงโปรดให้สถาปนาพระยาบาลครองเมืองพิษณุโลก ทรงพระนามว่าพระศรีสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช และพญารามโปรดให้ครองเมืองสุโขทัย
[แก้] ดูเพิ่ม
สมัยก่อนหน้า | พระมหาธรรมราชาที่ 3 | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ลือไท) ราชวงศ์พระร่วง |
พระมหากษัตริย์ไทย อาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1962) |
พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ราชวงศ์พระร่วง |
|