ทักษิณ ชินวัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(&&&&&&&&&&&&&&05.&&&&&05 ปี, &&&&&&&&&&&&0222.&&&&&0222 วัน)
ผู้ว่าการแทน พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน [1]
(ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
สมัยก่อนหน้า ชวน หลีกภัย
สมัยถัดไป สุรยุทธ์ จุลานนท์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&0315.&&&&&0315 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&078.&&&&&078 วัน)
นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&085.&&&&&085 วัน)
นายกรัฐมนตรี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&0117.&&&&&0117 วัน)
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
สมัยก่อนหน้า เกษม วัฒนชัย
สมัยถัดไป สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&0108.&&&&&0108 วัน)
นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
สมัยก่อนหน้า ประสงค์ สุ่นสิริ
สมัยถัดไป กระแส ชนะวงศ์
ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (62 ปี)
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมือง พรรคพลังธรรม (พ.ศ. 2537)
พรรคไทยรักไทย (พ.ศ. 2541)
คู่สมรส คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (พ.ศ. 2523-2551)
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (อักษรละติน: Thaksin Shinawatra; ชื่อจีน: 丘達新 Qiū Dáxīn; เกิด: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492) [2] นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544พ.ศ. 2549 พ้นจากตำแหน่งหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย และถูกจัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกที่ต้องใช้ชีวิตในคุกหรืออยู่ระหว่างการหลบหนีคดีความอาญา[3] ติดอันดับหนึ่งในห้าของอดีตผู้นำของโลกที่ปฏิบัติตัวไม่ดีหลังพ้นตำแหน่ง [4] ปัจจุบันอยู่ระหว่างหลบหนีโทษจำคุก [5]

เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[6] อดีตข้าราชการตำรวจ อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแห่งประเทศกัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน และอดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา มีสัญชาติไทยโดยการเกิด เคยถือสัญชาตินิการากัว[7][8] ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร[9]

พ.ศ. 2537 พันตำรวจโท ทักษิณ เข้าสู่วงการเมือง สังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ต่อมาจึงก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ใน พ.ศ. 2541 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก สำหรับงานการเมือง พันตำรวจโท ทักษิณ ใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม[10] และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี[11][12] ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ คือ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค[13] ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง[14] พันตำรวจโท ทักษิณ เริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งถนน การขนส่งมวลชน และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549[15][16] รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่าง พ.ศ. 2544 และ 2549[17] พันตำรวจโท ทักษิณ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้พันตำรวจโท ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์[18][19]

อย่างไรก็ดี รัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน การฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน ดำเนินการไม่เป็นอย่างการทูต และควบคุมสื่อ[20] ส่วนพันตำรวจโท ทักษิณเอง ก็มีข้อกล่าวหาว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทย ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ[21][22] องค์การนิรโทษกรรมสากลวิพากษ์วิจารณ์พันตำรวจโท ทักษิณ จากประวัติเชิงสิทธิมนุษยชน พันตำรวจโท ทักษิณยังถูกกล่าวหาว่า ปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่ง[23]

การประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะทหารซึ่งภายหลังเรียกตนเองว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ขณะที่พันตำรวจโท ทักษิณอยู่ต่างประเทศ ศาลที่คณะทหารแต่งตั้งนั้น ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตัดสิทธิ์ทางการเมือง พันตำรวจโท ทักษิณ และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นเวลาห้าปี[24] คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช.แต่งตั้งขึ้นนั้น อายัดทรัพย์สินของพันตำรวจโท ทักษิณ และครอบครัวในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติ ขณะอยู่ในตำแหน่ง[25][26] พันตำรวจโท ทักษิณและภรรยา ประกาศทรัพย์สินรวม 15,100 ล้านบาท เมื่อเขาเข้าดำรงตำแหน่งใน พ.ศ. 2544 แม้เขาจะโอนทรัพย์สินจำนวนมาก ไปยังบุตรและคนสนิท ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งก็ตาม[27]

พันตำรวจโท ทักษิณ เคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนที่เขาสนับสนุน ชนะการเลือกตั้งหลังรัฐประหาร แต่หลังจากเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 พันตำรวจโท ทักษิณไม่ได้เดินทางกลับไทย เพื่อฟังคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรแต่ถูกปฏิเสธ พันตำรวจโท ทักษิณจึงต้องเดินทางจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม ศาลคดีการเมืองตัดสินจำคุกเขาเป็นเวลา 2 ปี จากคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก[28] พันตำรวจโท ทักษิณเป็นผู้สนับสนุน และถูกมองว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินทุน อยู่เบื้องหลังกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) [29][30] ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลขณะนั้น เพิกถอนหนังสือเดินทางของพันตำรวจโท ทักษิณ โดยอ้างว่ามีบทบาทในกลุ่ม นปช.ระหว่างเหตุการณ์ไม่สงบช่วงสงกรานต์[31][32][33] ศาลคดีการเมืองวินิจฉัยให้ทรัพย์ของพันตำรวจโท ทักษิณ และคนใกล้ชิด มูลค่าราว 46,000 ล้านบาท จากที่ คตส.อายัดไว้ 76,000 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เนื้อหา

ประวัติ

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวน 10 คนของเลิศ และยินดี ชินวัตร ธิดาในเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์ มีศักดิ์เป็นหลานทวดในเจ้าไชยสงครามสมพมิตร ณ เชียงใหม่ (ราชปนัดดาในพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2) สมัยอยู่ร้านกาแฟ ในเวลาว่าง พันตำรวจโท ทักษิณมักช่วยบิดาโม่กาแฟ และขายโอเลี้ยง เมื่อครั้งบิดาทำสวนส้ม พันตำรวจโท ทักษิณมักช่วยมารดาตัดส้ม แพ็คลงเข่งอย่างสม่ำเสมอจนชำนาญ นอกจากนั้น พันตำรวจโท ทักษิณยังรับหน้าที่ขายกล้วยไม้ จากสวนของบิดาด้วย[34] เมื่ออายุได้ 16 ปี ได้ช่วยบิดาดำเนินการโรงภาพยนตร์ของครอบครัว[35]

ในปี พ.ศ. 2518 พันตำรวจโท ทักษิณเริ่มงานการเมืองเป็นครั้งแรก โดยดำรงตำแหน่งเลขานุการของปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[36]

พันตำรวจโท ทักษิณ สมรสกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หลังลาออกจากราชการตำรวจ ในปี พ.ศ. 2523[37] และมีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่

  1. พานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)
  2. พินทองทา ชินวัตร (เอม) สมรสกับณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[38]
  3. แพทองธาร ชินวัตร (อิ๊ง)

พันตำรวจโท ทักษิณ มีชื่อเล่นว่า น้อย[39]ส่วนชื่อ แม้ว เป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่น โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ตั้งให้[40]

การศึกษา

พันตำรวจโท ทักษิณ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และระดับอุดมศึกษา ที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2512) และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 (พ.ศ. 2516) โดยสอบได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น[41] ต่อมา พันตำรวจโท ทักษิณศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยได้รับทุนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในสาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2518 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต เมื่อ พ.ศ. 2521[42] และเป็นดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในสาขาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2537[43] เขายังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ แห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550[44]

การรับราชการและธุรกิจ

พันตำรวจโท ทักษิณ เริ่มทำงานโดยเป็นหัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2523 พันตำรวจโท ทักษิณ เริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวหลายอย่าง ควบคู่ไปกับการรับราชการตำรวจ เช่น ค้าขายผ้าไหม กิจการโรงภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่กลับประสบความล้มเหลว เป็นหนี้สินกว่า 50 ล้านบาท ในระหว่างนั้นจึงได้ลาออกจากราชการ[45]

พันตำรวจโท ทักษิณ เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยมักเป็นการนำภาพยนตร์ที่เคยได้รับความนิยมกลับมาสร้างใหม่ แต่ส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้[46][47] เช่น ไทรโศก (2524; สร้างครั้งแรกโดย วิจิตร คุณาวุฒิ พ.ศ. 2510) รักครั้งแรก (2524; สร้างครั้งแรกโดย ล้อต๊อก พ.ศ. 2517) โนรี (2525; สร้างครั้งแรกโดย พันคำ พ.ศ. 2510) รจนายอดรัก (2526; สร้างครั้งแรกโดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง พ.ศ. 2515) [48]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 พันตำรวจโท ทักษิณก่อตั้งบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด (เดิมชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI)) นำไปสู่การชำระหนี้สินในช่วงแรกของการทำธุรกิจ และประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ บริษัทนี้ดำเนินธุรกิจวิทยุติดตามตัว ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แก่สำนักงานต่างๆ จนกระทั่งขยายกิจการ ไปสู่การให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต เครือข่ายการสื่อสาร และการโทรคมนาคมครบวงจร เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเพิ่มชื่อเป็นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชันส์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2533 ต่อมาบริษัทฯ ลงนามในสัญญาสัมปทานร่วมกับกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาเป็นกระทรวงไอซีที) เพื่อดำเนินกิจการโครงการดาวเทียมสื่อสารเป็นครั้งแรกของไทย ภายใต้ชื่อไทยคม เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2534[49] หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเป็นบริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสาร ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[50]

เข้าสู่การเมือง

ในปี พ.ศ. 2537 พันตำรวจโท ทักษิณลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น และเข้าสู่ภาคการเมือง โดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ชักนำ โดยโอนหุ้นให้คุณหญิงพจมาน พานทองแท้ พินทองทา แพทองธาร และคนรับใช้ คนสนิทถือแทน[51]

จากนั้นไม่นาน ก็เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัย รัฐบาลชวน หลีกภัย และในปีต่อมา เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนพลตรีจำลอง และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 พันตำรวจโท ทักษิณก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค จนในที่สุดก็ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544[52]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พันตำรวจโท ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 23 โดยดำรงตำแหน่งสองสมัยติดต่อกัน ระหว่างปี พ.ศ. 2544พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549

ความเคลื่อนไหวหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลาประมาณ 21.00 น. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าคณะ กระทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเตรียมเสนอชื่อสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งพันตำรวจโท ทักษิณ ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลา 22.00 น.สดทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ แต่ในขณะที่การประกาศยังไม่จบ พลเอก สนธิ สั่งตัดภาพและเข้าสู่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงถือเป็นการยึดอำนาจได้สำเร็จ ในเวลา 23:00 น.

การรัฐประหารครั้งนี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมือง ที่ดำเนินมายาวนาน นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วง และทำกิจกรรมทางการเมือง เกินกว่า 5 คน ยับยั้งและปิดกั้นสื่อทุกประเภท ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และควบคุมตัวบุคคลสำคัญในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณหลายคน อาทิพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี, นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

ลาออกจากพรรคไทยรักไทย

หลังการรัฐประหารไม่นาน พันตำรวจโท ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ส่งจดหมายถึงพรรคไทยรักไทย เพื่อขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และทางพรรคก็มีมติให้จาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปก่อน

นับแต่ราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา พันตำรวจโท ทักษิณมอบหมายให้นพดล ปัทมะ เป็นทนายความส่วนตัว เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนทางกฎหมายในประเทศไทย นอกจากนี้ นพดลยังจัดแถลงข่าวเพื่อตอบโต้ผู้กล่าวหา และโจมตีพันตำรวจโท ทักษิณอยู่เป็นระยะ

เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549

วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550 นพดลนำจดหมายที่พันตำรวจโท ทักษิณเขียนด้วยลายมือ เนื้อหาเป็นการตอบโต้สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่แถลงข่าวสรุปสถานการณ์เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม กล่าวหากลุ่มอำนาจเก่า ผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมือง โดยพันตำรวจโท ทักษิณเขียนปฏิเสธว่า ตนไม่เคยคิดจะทำเรื่องเลวร้ายเช่นนั้น[53]

ข้อกล่าวหาเรื่องล็อบบียิสต์

ในเวลาใกล้เคียงกัน มีข้อกล่าวหาจากพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า พันตำรวจโท ทักษิณว่าจ้างบริษัทล็อบบียิสต์ เพื่อชี้ช่องทางและให้คำแนะนำ เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพันตำรวจโท ทักษิณในวอชิงตัน ดี.ซี. และต่างประเทศ (Provide guidance and cousel with regard to Thaksin’s interest in Washington DC and abroad) [54] [55] [56] [57] แต่พันตำรวจโท ทักษิณปฏิเสธรายงานดังกล่าว

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวพร้อมนำเอกสารมาแสดงว่า พันตำรวจโท ทักษิณว่าจ้างบริษัทล็อบบียิสต์แห่งที่สอง เพื่อให้ช่วยงานด้านการเมือง โดยบริษัทดังกล่าวเป็นของเจมส์ เอ. เบเกอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่มีความใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช แต่นพดลในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของพันตำรวจโท ทักษิณ แถลงข่าวตอบโต้กอร์ปศักดิ์ว่า พันตำรวจโท ทักษิณว่าจ้างบริษัทดังกล่าว ให้ดูแลเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ และติดตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ไม่ได้จ้างทำงานเป็นล็อบบี้ยิสต์แต่อย่างใด [58] [59]

การเดินทางกลับประเทศไทย

การกลับประเทศไทยของพันตำรวจโท ทักษิณ

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 09.40 น. พันตำรวจโท ทักษิณเดินทางมาถึงประเทศไทย ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมกับก้มลงกราบพื้น ที่หน้าห้องรับรองพิเศษ และโบกมือทักทายประชาชนที่มารอให้การต้อนรับ ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม[60]

จากนั้น พันตำรวจโท ทักษิณเดินทางไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อรายงานตัวในคดีทุจริตที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ต่อด้วยการรายงานตัวต่ออัยการสูงสุด ในคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซีแอสเซท จำกัด (มหาชน) ในเครือชินคอร์ป[61]

ความเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ

ระหว่างที่กำลังมีการดำเนินคดีที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก พันตำรวจโท ทักษิณและภริยา เดินทางไปต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากนั้นศาลอ่านคำวินิจฉัยว่า พันตำรวจโท ทักษิณมีความผิดในคดีดังกล่าว พันตำรวจโท ทักษิณจึงไม่เดินทางกลับมายังประเทศไทย และในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พันตำรวจโท ทักษิณตัดสินใจจดทะเบียนหย่ากับคุณหญิงพจมาน ด้วยเหตุผลทางการเมือง ที่สถานกงสุลใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง หลังจากสมรสและใช้ชีวิตคู่มานานถึง 32 ปี[62] นับแต่นั้นเป็นต้นมา พันตำรวจโท ทักษิณมีการเคลื่อนไหวผ่านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ผ่านการปราศรัยด้วยวิธีโทรศัพท์ทางไกลเข้าสู่ที่ชุมนุม (โฟนอิน) และการส่งสัญญาณภาพและเสียงมายังที่ชุมนุม (วิดีโอลิงก์) พร้อมทั้งอดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ก็ให้การสนับสนุน

ในปลายปี พ.ศ. 2552 พันตำรวจโท ทักษิณได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรกัมพูชา[63] ทางรัฐบาลไทยจึงยื่นหนังสือต่อรัฐบาลกัมพูชา ให้ส่งตัวพันตำรวจโท ทักษิณกลับไทย ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน แต่รัฐบาลกัมพูชาปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไม่รวมถึงกรณีที่เป็นนักโทษทางการเมือง[64][65][66] รัฐบาลไทยจึงต่อต้านด้วยการเรียกตัวเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ[67] ซึ่งส่งผลให้กัมพูชาเรียกเอกอัครราชทูตของตนกลับประเทศเช่นกัน พันตำรวจโท ทักษิณและครอบครัว เดินทางไปถึงกรุงพนมเปญของกัมพูชา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เพื่อรับตำแหน่งดังกล่าว[68] และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา

การดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี

หลังจากไปใช้ชีวิตที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 พันตำรวจโท ทักษิณเข้าซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี โดยถือหุ้นทั้งหมด 75 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ พันตำรวจโท ทักษิณขอให้แฟนฟุตบอลของทีม เรียกตนอย่างง่ายๆ ว่า แฟรงค์ ชินาตรา (Frank Shinatra) [69]

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเป็นประธานสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ถูกตัดสินว่ากระทำความผิด ไม่ว่าจะประเทศใดในโลกก็ตาม ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยมีการดำเนินคดีกับพันตำรวจโท ทักษิณอยู่[70] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 พันตำรวจโท ทักษิณจึงขายสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี ให้กับ Abu Dhabi United Group ในราคา 141 ล้านเหรียญสหรัฐ และขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งในภายหลัง[71]

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ

ทักษิณขึ้นปกนิตยสารไทม์
  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ด้านพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งได้รับเป็นคนแรก จากคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร (พ.ศ. 2534) [72]
  • ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในบุคคล 50 คน ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก ของ นิตยสารไทม์ (พ.ศ. 2538)
  • รางวัล 1992 Asean Business Man of the Year โดย Asean Institute ประเทศ อินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535)
  • 1 ใน 3 คนไทยดีเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ จากสถานทูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2538)
  • บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคม เพื่อสังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536 จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537)
  • 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times (พ.ศ. 2537)
  • รางวัล Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center, มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2539)
  • รางวัล Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (5 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
  • Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ. 2537)
  • รับพระราชทาน ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2537)
  • ทุน Lee Kuan Yew Exchange Fellowship จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ในเอเชีย ที่ได้รับทุน (พ.ศ. 2537)
  • 1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535)
  • รางวัล โลซินเซีย แอปพลิเคชัน อวอร์ด จากองค์การภาพยนตร์ โมชั่น พิคเจอร์แอปพลิเคชัน (พ.ศ. 2546)
  • รางวัล International Forgiveness Award 2004 ซึ่งมอบให้แก่บุคคลที่มีความพยายามมุ่งไปสู่สันติภาพ และสร้างความเป็นเอกภาพ ซึ่งมีบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้มาแล้ว ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2, พระคาร์ดินัล Vinko Puljic และนาย Sergio Vieira De Mello ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)

คดีความ

คดีขายหุ้นกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ของพันตำรวจโท ทักษิณ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งพันตำรวจโท ทักษิณชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่กลับมีบุคคลบางกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายที่ว่าด้วยการขายหุ้นในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกรณีดังกล่าว รวมทั้งการไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาคกัน เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญที่ทำให้กระแสการขับพันตำรวจโท ทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขยายตัวออกไปในวงกว้าง

คดีที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พันตำรวจโท ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ตัดสินใจไม่ไปรายงานตัวต่อศาลคดีการเมือง ในคดีที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก โดยทั้งสองเดินทางไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่มีบุตรธิดาทั้งสามรออยู่แล้ว โดยก่อนหน้านั้น ทั้งสองขออนุญาตออกนอกประเทศต่อศาลคดีการเมือง เพื่อไปร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ตามคำเชิญของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ทั้งสองกลับเดินทางต่อไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อขอลี้ภัยทางการเมือง โดยไม่เดินทางกลับมารายงานตัวต่อศาลคดีการเมือง[73][74]

ด้วยเหตุนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงออกหมายจับ พันตำรวจโท ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ในความผิดฐานประพฤติมิชอบ ในการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท และตั้งสินบนนำจับทันที[73] [75][76][77] โดยคดีของ พันตำรวจโท ทักษิณ มีอายุความ 15 ปี ถึงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ส่วนคดีของคุณหญิงพจมาน มีอายุความ 10 ปี ถึงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561[76]

คดียึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 13.30 น. องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เริ่มอ่านคำพิพากษาในคดีที่อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ของพันตำรวจโท ทักษิณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตกเป็นของแผ่นดิน โดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า พันตำรวจโท ทักษิณเป็นเจ้าของหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ที่แท้จริง และใช้อำนาจหน้าที่ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ให้แก่ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น, บริษัท แอดวานซ์อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยตรง อันมีผลทำให้มูลค่าหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น สูงขึ้น รวมทั้งได้เงินปันผลจำนวนดังกล่าว จึงมีคำพิพากษาให้ยึดเฉพาะเงินค่าขายหุ้น ส่วนที่เพิ่มขึ้นหลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเงินปันผล จำนวนทั้งสิ้น 46,373,687,454.64 บาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งพันตำรวจโท ทักษิณ ไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าว และอาจยื่นเรื่องเพื่ออุทธรณ์ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต่อไป แต่ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ในขณะที่มีการนับคะแนนของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เวลาประมาณ 17:00 นาฬิกา พันตำรวจโท ทักษิณ ให้สัมภาษณ์สดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ว่าไม่ต้องการได้เงินจำนวน 46,373,687,454.64 บาทคืนแต่อย่างใด เพียงแต่ขอให้มีการพิจารณาคดีต่างๆ ที่มีก่อนการรัฐประหารใหม่ให้ถูกต้องเท่านั้น

วัฒนธรรมและภาพลักษณ์ทางการเมือง

เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2544 ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 1,353 ตัวอย่าง ในหัวข้อ "ภาพลักษณ์นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในสายตาประชาชน" ผลปรากฏว่าประชาชนมั่นใจพันตำรวจโท ทักษิณ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น
ความสามารถในการเป็นผู้นำประเทศ 90.2 7.2 2.6
ความสามารถในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 67.6 28.2 4.3
ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง 33.3 48.3 18.4
ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากโครงการต่างๆ 35.1 38.1 26.8
ความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 38.0 48.0 14.0
ความสามารถในการบริหารประเทศ 85.1 9.2 5.6
ความจริงจังในการทำงานเพื่อประชาชน 79.7 12.6 7.7
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 77.6 10.3 12.0

[78]

แต่หลังจากที่มีการรัฐประหารแล้ว เอแบคโพลเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,864 ตัวอย่าง ในหัวข้อ "อารมณ์และความรู้สึกเบื้องต้นของสาธารณชน ต่อพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบกับพันตำรวจโท ทักษิณ และภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" ผลปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ ระบุภาพลักษณ์พลเอก สุรยุทธ์ ดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด เช่นร้อยละ 65.1 ระบุความเป็นที่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 63.2 ระบุด้านคุณธรรม เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 60.2 ให้ความเชื่อมั่นต่อ พล.อ.สุรยุทธ์[79]

ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เอแบคโพลเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ และผลวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง "ฐานสนับสนุนนักการเมือง กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบระหว่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร" กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,286 ครัวเรือน ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 22 - 24 ตุลาคม พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.4 ขออยู่ตรงกลาง ยังไม่สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่ ร้อยละ 25.0 สนับสนุน พันตำรวจโท ทักษิณ ขณะที่ร้อยละ 21.6 สนับสนุนนายอภิสิทธิ์[80]

กลุ่มผู้สนับสนุน

กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นับตั้งแต่มีการจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองเป็นต้นมา พันตำรวจโท ทักษิณก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วย ผู้นิยมพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม และนักวิชาการที่มีแนวคิดแตกต่างกับรัฐบาล โดยพันตำรวจโท ทักษิณก็ตอบโต้ ด้วยการตั้งฉายาให้กลุ่มนักวิชาการ และผู้ที่วิจารณ์อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่นกลุ่มรู้ทันทักษิณ หรือธีรยุทธ บุญมี ว่าเป็น “ขาประจำ”

ต่อมา ปลายปี พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ทักษิณมอบหมายให้ธนา เบญจาธิกุล ทนายความส่วนตัว ยื่นฟ้องสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท รวมถึงในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจในทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศ ก็ยื่นฟ้องสนธิในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย แต่หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พันตำรวจโท ทักษิณ จึงมอบหมายให้ธนาดำเนินการถอนฟ้อง เพื่อรับสนองกระแสพระราชดำรัส พร้อมกันนี้ ศาลก็ได้ยกคำร้องของตำรวจไปทั้งหมด[81][82]

ค่ำวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, กล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช., สนธิ ลิ้มทองกุล และพวก นำประชาชนที่มาร่วมชมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรที่สวนลุมพินี กว่า 3,000 คน เดินเท้ามายังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้พันตำรวจโท ทักษิณลาออกจากตำแหน่ง อีกทั้งมีบางส่วนที่บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย และเนื่องจากรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งจะมีเด็กและเยาวชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงมีการสลายการชุมนุมในคืนวันนั้น[83]

จากกรณีการขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ทำให้บุคคลบางกลุ่มที่ต่อต้านพันตำรวจโท ทักษิณ และที่เห็นว่าพันตำรวจโท ทักษิณหลีกเลี่ยงภาษี ร่วมกันแสดงท่าทีขับไล่พันตำรวจโท ทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเข้าร่วมชุมนุมประท้วง ที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณจัดขึ้นนานมาแล้ว จนเมื่อเกิดการขายหุ้นดังกล่าว ตามที่สนธิ ลิ้มทองกุลคาดการณ์ไว้แล้ว ส่งผลให้มีผู้ร่วมชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ทักษิณประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยกล่าวถึงเหตุผลในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. คืนวันเดียวกันว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย กดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง[84]

วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทยจัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดยพันตำรวจโท ทักษิณ ในฐานะหัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัยในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัยประมาณสองแสนคน จนเต็มท้องสนามหลวง [85][86]

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยแกนนำทั้งห้า นำประชาชนจำนวนหนึ่งปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันทุกวิถีทาง ให้พันตำรวจโท ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่พันตำรวจโท ทักษิณก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่งรักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้[87]

วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพรรคฝ่ายค้านสามพรรค คือพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศว่าจะไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง และมีการกล่าวหาว่า พรรคไทยรักไทยจ้างให้พรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อมิให้ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2542 โดยผลการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยรักไทยยังได้รับคะแนนเสียงข้างมาก

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 เวลา 20.30 น. พันตำรวจโท ทักษิณ ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า แม้พรรคไทยรักไทยจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งก็ตาม แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก แต่จำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อรอการสรรหาคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีที่เหมาะสม

วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน เป็นโมฆะ และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ทักษิณ เดินทางด้วยเครื่องบินประจำตำแหน่ง ไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลากลางคืน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการยึดอำนาจการปกครอง จากรัฐบาลรักษาการ โดยอ้างเหตุว่า รัฐบาลรักษาการบริหารราชการแผ่นดินโดยมิชอบธรรม และสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ในขณะที่พันตำรวจโท ทักษิณยังปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ และการเลือกตั้งในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถูกยกเลิก

การขับไล่พันตำรวจโท ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

การขับไล่พันตำรวจโท ทักษิณ ให้ลาออกจากตำแหน่ง เริ่มต้นขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2548 จากการนำของสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ต่อมาเปลี่ยนสภาพเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งขยายตัวออกไปยังบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพในเวลาต่อมา[88] [89] [90] การขับไล่พันตำรวจโท ทักษิณ สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังจากการก่อรัฐประหาร

กรณีศาลท้าวมหาพรหม

ในช่วงเช้าของวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ธนกร ภักดีผล ผู้เคยมีประวัติอาการทางจิตและภาวะซึมเศร้า เข้าทำลายรูปปั้นท้าวมหาพรหม ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งภายหลังถูกชาวบ้านทุบตีจนเสียชีวิต[91] จากเหตุการณ์ดังกล่าว สนธิ ลิ้มทองกุล หยิบยกมากล่าวอ้างในการชุมนุมในวันรุ่งขึ้นว่า พันตำรวจโท ทักษิณบงการให้เกิดการทำลายเทวรูปดังกล่าว และแทนที่เทวรูปพระพรหมด้วย "อำนาจมืด" ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเขา[92] สนธิยังกล่าวอ้างต่อไปว่า พันตำรวจโท ทักษิณว่าจ้างให้ธนกรกระทำการดังกล่าว ผ่านทางชาแมนมนต์ดำเขมร[93] โดยสนธิอ้างว่า เนื่องจากพันตำรวจโท ทักษิณ "เป็นผู้หลงใหลอยู่ในความเชื่อที่ผิด" และกระทำการดังกล่าวเพื่อ "เป็นการปัดเป่าลางร้าย"[94] สายันต์ ภักดีผล บิดาผู้เสียชีวิต กล่าวว่าสนธิเป็น "คนโกหกคำโตที่สุดที่เคยเจอมา"[93] ส่วนพันตำรวจโท ทักษิณมองว่า การกล่าวอ้างของนายสนธิ "บ้า" และจนถึงปัจจุบัน นายสนธิก็ยังปฏิเสธจะให้ "ข้อมูลเชิงลึก" แก่สาธารณชนในเรื่องดังกล่าว

การวิจารณ์จากสื่อต่างประเทศ

นิตยสาร Foreign Policy ในเครือวอชิงตันโพสต์ จัดอันดับให้พันตำรวจโท ทักษิณ เป็นหนึ่งในห้าอดีตผู้นำของโลก ที่ไม่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี หลังจากพ้นตำแหน่ง (อีกสี่อันดับ เป็นผู้นำของเยอรมนี สเปน ไนจีเรีย และฟิลิปปินส์) โดยอ้างถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง หลังถูกรัฐประหารด้วยข้อกล่าวหาทุจริต และละเมิดสิทธิมนุษยชน[4] ส่วนนิตยสารฟอบส์ จัดอันดับให้พันตำรวจโท ทักษิณ เป็นหนึ่งในบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลก ที่ใช้ชีวิตในคุกหรืออยู่ระหว่างหลบหนีคดี โดยที่พันตำรวจโท ทักษิณ ถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่พันตำรวจโท ทักษิณปฏิเสธข้อกล่าวหานี้[3]

หน้าที่การงาน และบทบาททางสังคม

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  • ค.ศ. 2001 -Royal Order of Sahametrei lint.jpgThe Royal Order of Sahametrei ชั้นสูงสุด
  • ค.ศ. 2002 - Ahmad Al Fateh ชั้นสูงสุด ลำดับที่ 2
  • ค.ศ. 2002 - The Most Blessed Order Of Setia Negara Brunei ชั้นหนึ่ง (P.S.N.B)
  • ค.ศ. 2003 -Order of the Polar Star - Ribbon bar.svg The Royal Order of the Polar Star ขั้นสูงสุด
  • ค.ศ. 2004 -NLD Order of Orange-Nassau - Knight Grand Cross BAR.png Order of Orange-Nassau ขั้นสูงสุด

บรรพบุรุษ

อ้างอิง

  1. ^ ประกาศให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ^ ทักษิณเข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว
  3. ^ 3.0 3.1 Billionaire Convicts And Inmates
  4. ^ 4.0 4.1 Bad Exes
  5. ^ น.ช.ทักษิณ หนีสุดขอบฟ้า ผวาคุกหนักหลังแพ้ซ้ำซาก
  6. ^ สรุปงบการเงินรายปี52
  7. ^ "Thaksin has Nicaraguan passport", 16 April 2009
  8. ^ "Nicaraguan party queries Thaksin move", 23 April 2009
  9. ^ "Montenegro gives Thaksin a passport", Bangkok Post, May 13, 2009
  10. ^ Inside Thailand Review. Appendix: Government Annual Report 2003. สืบค้นเมื่อ 05-03-2010
  11. ^ "Microsoft Word – TEM Oct05 Full version_Nov 7,2005 with ABB.doc" (PDF). http://siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/Economic-Monitor/2005nov-econ-full-report.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 19 February 2010. 
  12. ^ Elegant, Simon. "Should Thaksin Stay?", Time, 13 March 2006
  13. ^ NaRanong, Viroj, Na Ranong, Anchana, Universal Health Care Coverage: Impacts of the 30-Baht Health Care Scheme on the Rural Poor in Thailand, TDRI Quarterly Review, September 2006
  14. ^ Spillius, Alex. "Red light district reels as Thais embrace family values", Daily Telegraph, 8 September 2001. สืบค้นวันที่ 25 May 2010
  15. ^ The Nation, Public debt end-Sept falls to 41.28% of GDP, 17 November 2006
  16. ^ World Bank, Thailand Economic Monitor, October 2003
  17. ^ Transparency International, [Corruption Perceptions Index http://www.transparency.org/policy_research/surveys_indices/cpi/2005]
  18. ^ "Unprecedented 72% turnout for latest poll" The Nation. February 10, 2005.
  19. ^ Aurel Croissant and Daniel J. Pojar, Jr., Quo Vadis Thailand? Thai Politics after the 2005 Parliamentary Election, Strategic Insights, Volume IV, Issue 6 (June 2005)
  20. ^ BBC News, A fit and proper Premiership?
  21. ^ The Star, Dreaded day dawns – despite lies and dark forces, 2 April 2006
  22. ^ The Nation, Vandal's dad distraught, 23 March 2006
  23. ^ The Hindu, [1] Thaksin swiftly working on Govt. formation
  24. ^ BBC News, Thai party's disbandment solves little, 1 June 2007
  25. ^ The Nation, Thaksin's assets frozen, 12 June 2007
  26. ^ The Nation, Slighted Sawat resigns from AEC, 2 October 2006
  27. ^ China Daily,Reports: Thailand's former PM Thaksin divorces, 15 November 2008
  28. ^ New York Times, Thai Court Convicts Ex-Premier for Conflict in Land Deal, 21 October 2008
  29. ^ BBC, Thaksin on protests in Thailand, 13 April 2009
  30. ^ "Thaksin pitches 'all-out' fight", Bangkok Post, 30 March 2009
  31. ^ "Thaksin's passport revoked, retains citizenship", Bangkok Post, 15 April 2009
  32. ^ The Nation, Thai FM revoked Thaksin's diplomatic passport
  33. ^ MCOT, Bt10 million BMA property damage from protest; religious rites to be held, 16 April 2009
  34. ^ ตาดูดาวเท้าติดดิน ตอนที่ 4 มรดกจากพ่อ
  35. ^ BBC News, Billionaire hopes to score Liverpool deal, 18 May 2004
  36. ^ เล่าเรื่องผู้นำ ตอนที่ 8 ทักษิณ ชินวัตร
  37. ^ Pasuk Phongpaichit & Chris Baker, "The Only Good Populist is a Rich Populist: Thaksin Shinawatra and Thailand's Democracy, October 2002
  38. ^ เก็บตกภาพงานแต่ง เอม พินทองทา - ณัฐพงศ์
  39. ^ ส่วนตัว-ส่วนรวม โดย ไพรสันติ์ พรหมน้อย
  40. ^ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร
  41. ^ ตาดูดาว เท้าติดดิน ตอนที่ 11 เสาร์ที่ 28 มค. 49 ชีวิตนักเรียนนายร้อยตำรวจ
  42. ^ PH.D Doctor
  43. ^ ปริญญาเอกดุษฎีฯ
  44. ^ Deposed Thai Prime Minister Teaches At Takushoku University
  45. ^ Pasuk Phongpaichit & Chris Baker, "The Only Good Populist is a Rich Populist: Thaksin Shinawatra and Thailand's Democracy, October 2002
  46. ^ "Thaksin Shinawatra-a biography", Bangkok Post, unknown
  47. ^ "Thai govt pins border hopes on soaps", The Nation, May 25, 2002
  48. ^ ภราดร ศักดา. เปิดม่านคนดังหลังวัง ตำนานเก่าเล่าเรื่องดารายุคภาพยนตร์ไทยเฟื่อง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก, พ.ศ. 2551. 264 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-13-8887-5
  49. ^ ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
  50. ^ List of subsidiaries from the AIS website
  51. ^ ย้อนรอยกรณีโอนหุ้นไม่เสียภาษี ?
  52. ^ สุนทรพจน์ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 9 กพ.2544
  53. ^ เปิดจดหมายทักษิณ ชินวัตร ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องระเบิดกรุงทพ
  54. ^ Lobbying Registration
  55. ^ Lobbying Registration
  56. ^ Lobbying Registration
  57. ^ korbsak.com
  58. ^ เอกสารต้นฉบับ
  59. ^ ข่าว [http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0103080250 แฉเป้า"แม้ว"จ้างล็อบบี้ยิสต์ ปลุกรบ.ต่างชาติ กดดันให้เปิดทางกลับ"ไทย" ] หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
  60. ^ http://www.nationmultimedia.com/specials/nationphoto/showphoto.php?pid=2120
  61. ^ ผู้จัดการ, “เศรษฐีแม้ว” ถึงไทยแล้ว-ลิ่วล้อแห่รับถึงบันไดเครื่องบิน, 28 กุมภาพันธ์ 2551
  62. ^ ทักษิณหย่าพจมาน จบชีวิตรัก 32 ปี
  63. ^ "ทักษิณ"จวกรบ."เด็ก-โอเวอร์"เรียกทูตพนมเปญกลับ บอกลาคนไทยขอไปรับใช้เขมร โฆษกกัมพูชาอ้าแขนรับ, มติชนออนไลน์, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  64. ^ เขมรตอบหนังสือ ยืนยันปฏิเสธ ส่งทักษิณมาไทย, ไทยรัฐออนไลน์, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  65. ^ ฮุนเซนโอ๋ทักษิณ กษัตริย์ตั้ง ส่งตัวกลับไม่ได้, ไทยรัฐออนไลน์, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  66. ^ กมฺพุชาบฎิเสธชาผฺลูวการมินเธฺวิบตฺยาบันกฺนุงกรณีถาก̍ซีน, วิทยุเอเชียเสรี, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (เขมร)
  67. ^ ไทยตอบโต้เขมร เรียกทูตกลับ สัมพันธ์ตึงเครียด, ไทยรัฐออนไลน์, 5 พฤศจิกายน 2552
  68. ^ ทักษิณถึงเขมร สื่อเทศยัน รับตำแหน่ง, ไทยรัฐออนไลน์, 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  69. ^ งานเปิดตัวประธานสโมสร ManCity - Frank Shinawatra 1
  70. ^ "League ready to subject Thaksin to second fit and proper test", The Guardian, 2008-12-08
  71. ^ http://www.forbes.com/sport/2008/09/01/thaksin-sells-club-face-sports-cx_pm_0901autofacescan01.html
  72. ^ http://aaf.rtarf.mi.th/oldcadethonor.php
  73. ^ 73.0 73.1 "Thaksin Flees to London — Again", The Time, 2008-12-08
  74. ^ "“แม้ว” ซุกอังกฤษหนีคดี! เหิมด่าศาลสองมาตรฐาน เพ้อขอตายที่เมืองไทย", ผู้จัดการออนไลน์, 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  75. ^ "โรงพักใจถึงติดประกาศจับ “แม้ว-อ้อ” หน้าโถส้วม!", ผู้จัดการออนไลน์, 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  76. ^ 76.0 76.1 "ออกหมายจับ!"ทักษิณ-พจมาน"", โพสต์ ทูเดย์, 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  77. ^ "ขึ้นบัญชีหมายจับ “ทักษิณ-พจมาน”", ไทยรัฐ, 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  78. ^ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ : หัวข้อ “ภาพลักษณ์นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ในสายตาประชาชน”
  79. ^ เอแบคโพลล์ชี้ภาพลักษณ์รัฐบาล "สุรยุทธ์" ดีกว่า "ทักษิณ"
  80. ^ โพลระบุนิยมทักษิณนำอภิสิทธิ์-ก่ำกึ่งจิ๋วพบฮุนเซน
  81. ^ นายกฯลุยฟ้องสนธิ-ชัยอนันต์-เจิมศักดิ์ปูดปฏิญญาฟินแลนด์
  82. ^ ลิ่วล้อ “ทักษิณ” งานเข้า ฟ้อง “สนธิ” หมิ่นอีกคดี
  83. ^ "ทักษิณ"เดือดกราดเอ็งเป็นใคร! ม็อบลุยทำเนียบกลางดึก โดนตร.จับกราวรูด 40ราย
  84. ^ ด่วน!!! “ทักษิณ”ยุบสภา-เลือกตั้งใหม่
  85. ^ ประมวลภาพบรรยากาศ “ทักษิณ” ปราศรัยที่ท้องสนามหลวง
  86. ^ แฉม็อบจัดตั้ง ทรท.ยั่วยุม็อบอหิงสาไล่ทักษิณ
  87. ^ ล้อม"ทำเนียบ" นับแสนโชว์พลังไล่"ทักษิณ"
  88. ^ The Nation,"'Finland plot' on dangerous ground", 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (อังกฤษ)
  89. ^ The Nation, "Burning Issue: Finland, monarchy: a dangerous mix", 25 พฤษภาคม, พ.ศ. 2549 (อังกฤษ)
  90. ^ The Bangkok Post, "Manager sued for articles on 'Finland plot'", 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (อังกฤษ)
  91. ^ The Nation. Man beaten to death after desecrating the Erawan Shrine. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
  92. ^ Foo Yee Ping. Dreaded day dawns – despite lies and dark forces. TheStar. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
  93. ^ 93.0 93.1 The Nation. Vandal's dad distraught. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
  94. ^ The Nation. Things to improve from now: Chidchai. สืบค้นเมื่อ 27-12-2552.
  95. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๑, ตอน ๒๑ ข เล่มที่ ๑, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๑๘ ลำดับ ๑
  96. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๑, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๖ ลำดับ ๒
  97. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๓, ตอน ๒๒ ข เล่มที่ ๐๐๑, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙, หน้า ๑ ลำดับ ๒๓
  98. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒๓ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑ ลำดับ ๒
  99. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า [สำนักนายกรัฐมนตรี, เล่ม ๑๑๙, ตอน ๗ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๑

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
สมัยก่อนหน้า ทักษิณ ชินวัตร สมัยถัดไป
ชวน หลีกภัย 2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(คณะรัฐมนตรีคณะที่ 54
55)
(9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254411 มีนาคม พ.ศ. 2548
11 มีนาคม พ.ศ. 254819 กันยายน พ.ศ. 2549)
2rightarrow.png พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
เกษม วัฒนชัย 2leftarrow.png Emblem of Ministry of Education.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(14 มิถุนายน พ.ศ. 25449 ตุลาคม พ.ศ. 2544)
2rightarrow.png สุวิทย์ คุณกิตติ
ประสงค์ สุ่นศิริ 2leftarrow.png กระทรวงการต่างประเทศ.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538)
2rightarrow.png กระแส ชนะวงศ์
ก่อตั้งพรรค 2leftarrow.png TRTP Logo.png
หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
(14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549)
2rightarrow.png จาตุรนต์ ฉายแสง
(รักษาการ)


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น