สุจินดา คราประยูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุจินดา คราประยูร
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 19
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&048.&&&&&048 วัน)
รองนายกรัฐมนตรี มีชัย ฤชุพันธุ์
ณรงค์ วงศ์วรรณ
สมบุญ ระหงษ์
มนตรี พงษ์พานิช
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าการแทน มีชัย ฤชุพันธุ์
สมัยก่อนหน้า อานันท์ ปันยารชุน
สมัยถัดไป อานันท์ ปันยารชุน
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 7 เมษายน พ.ศ. 2535
สมัยก่อนหน้า พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
สมัยถัดไป พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 (78 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
คู่สมรส คุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)
ศาสนา พุทธ

พลเอกสุจินดา คราประยูร (6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 — ) อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

พลเอกสุจินดา คราประยูรเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 เวลาประมาณ 03.35 น. ที่ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายจวง กับนางสมพงษ์ คราประยูร(2452 - 2531 : 79 ปี) สมรสกับคุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)

[แก้] การศึกษา

พลเอกสุจินดา จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 จาก โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนวัดราชบพิธจนจบมัธยมปีที่ 6 แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวจึงไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร และเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์พอยต์รุ่นที่ 5 ตามลำดับ และได้จบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ รัฐแคนซัส

[แก้] รับราชการทหาร

พลเอก สุจินดา เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศ ว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหาร ปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการ ทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และวันที่ 29 เมษายน 2533 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุ

[แก้] งานการเมือง

พลเอก สุจินดา เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี[1] (ก่อนหน้านั้น พรรคร่วม 5 พรรคประกาศสนับสนุนนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมี ส.ส.มากที่สุด แต่โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาออกมาแถลงข่าวว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ ติดบัญชีดำ ถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด)[2]

[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งโดยกล่าวว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ทั้งที่เคยพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ พลเอก สุจินดา ได้แต่งตั้ง พลเอก อิสรพงศ์ หนุนภักดี เลขาธิการ รสช. ซึ่งพี่ชายภรรยาของตนให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร อดอาหารประท้วง และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้นำการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออก เนื่องจากเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ รสช. จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ หรือ พฤษภาทมิฬขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีไทยเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

[แก้] เบ็ดเตล็ด

พลเอกสุจินดา มีเชื้อสายจีน โดยมีแซ่โล้ว อันเป็นแซ่เดียวกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ด้วย [ต้องการอ้างอิง]

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ http://www.chartthai.or.th/old/history_th8.html
  2. ^ [1]จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สุจินดา คราประยูร สมัยถัดไป
อานันท์ ปันยารชุน 2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(7 เมษายน พ.ศ. 253510 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
2rightarrow.png อานันท์ ปันยารชุน


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น