สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 |
|
---|---|
พระบรมนามาภิไธย | นายเดื่อ |
พระปรมาภิไธย | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 |
พระอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์บ้านพลูหลวง |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 |
ระยะครองราชย์ | 5 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระเพทราชา |
รัชกาลถัดไป | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2204[1] ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา[2] |
สวรรคต | พ.ศ. 2251 กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา |
พระราชบิดา | พระเพทราชา |
พระราชมารดา | พระนางกุสาวดี |
พระราชโอรส/ธิดา | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม เจ้าฟ้าหญิงแก้ว[3] พระองค์เจ้าทับทิม[4] |
พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (ในคำให้การชาวกรุงเก่าใช้ว่าสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี) หรือพระนามที่เป็นที่รู้จักดีว่า สมเด็จพระเจ้าเสือ (ครองราชย์ พ.ศ. 2246-2251) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และ เป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
เนื้อหา |
[แก้] พระราชประวัติ
พระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เชื่อว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระสนมพระองค์หนึ่งโดยพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่[2] โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดได้ออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[1]
แต่ในเวลาต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้า-กรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่ามีเนื้อหาสอดคล้องกัน คือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์ ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา[1] ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า "...แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราขา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"[5] โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์ได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น[1]
พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ[5][6] ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ[7] เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก
มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช 1024 ปีชวดโทศก (พ.ศ 2205) สมเด็จพระนารายณ์ เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลับมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชินศรี ทำการสักการบูชาแล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน
จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสุรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสุรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา[8] แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[1]
วิเคราห์ตามเวลา การตีเมืองเชียงใหม่ของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นสมัยพระนารายในปี พ.ศ.2205 พระนางกุสาวดี ให้กำเนิดพระเจ้าเสือ พ.ศ.2213 และทรงครองราชจนถึง พ.ศ.2251 พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา จึงควรจะประสูติ พ.ศ.2204 หากรวมเวลาที่พระมารดาทรงพระครรแล้วทำให้เวลาไม่สอดคล้องกัน แต่พอสรุปได้ว่าพระองค์ไม่ใช่พระโอรสของพระนาราย
[แก้] ครองราชย์
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชา พระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
ราชาภิเษก พ.ศ. 2246 ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า “เสือ”[2] ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว[9]
ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ[9]
ส่วนเรื่องพันท้ายนรสิงห์ และเรื่องที่พระองค์ออกไปชกมวยที่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญนั้น เป็นเรื่องราวที่ถูกแต่งเติมขึ้นภายหลัง ปรากฎครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพนรัตน์ และขยายความโดยพิสดารเป็นตำนานพันท้ายนรสิงห์ที่เราคุ้นเคยกันดีในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งชำระในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และถูกทำให้คิดว่าเป็นเรื่องจริงจนถึงปัจจุบัน[10]
[แก้] พระราชกรณียกิจ
[แก้] ด้านศาสนา
- ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม
- ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
- ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
- พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขว้างใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร
สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสึกออกมาทำราชการเป็นจำนวนมาก
[แก้] ด้านคมนาคม
- ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์
- ทรงให้ขุดคลองโคกขามซึ่งคดเคี้ยวให้ตรง[10] และขุดลัดคลองอ้อมเกร็ด[10]
- ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น
สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา
[แก้] ราชตระกูล
พระราชตระกูลในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไม่ทราบ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
สมเด็จพระเพทราชา |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
ท้าวศรีสัจจา(พระนมเปรม) |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระแสนเมือง (พระเจ้าเชียงใหม่) |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
พระนางกุสาวดี |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
ไม่ทราบ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109
- ^ 2.0 2.1 2.2 ประวัติ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) Welcome to Phichit
- ^ ราชอาณาจักรสยาม
- ^ สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70
- ^ 5.0 5.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94
- ^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183
- ^ ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ, ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68
- ^ เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64
- ^ 9.0 9.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย. สกุลไทย ฉบับที่ 2436 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2544
- ^ 10.0 10.1 10.2 เรื่องเก่าเอามาเล่าอีก (1)
สมัยก่อนหน้า | สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเพทราชา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246) |
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251) |
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275) |
|
|