สมชาย วงศ์สวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พ.ย. 2551
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 26
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&075.&&&&&075 วัน)
รองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ
พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
ผู้ว่าการแทน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สมัยก่อนหน้า นายสมัคร สุนทรเวช
สมัยถัดไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&075.&&&&&075 วัน)
นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ผู้ว่าการแทน พลตำรวจเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ
สมัยก่อนหน้า นายสมัคร สุนทรเวช
สมัยถัดไป พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน พ.ศ. 2551 – 16 กันยายน พ.ศ. 2551
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&014.&&&&&014 วัน)
สมัยก่อนหน้า นายสมัคร สุนทรเวช
สมัยถัดไป นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&0203.&&&&&0203 วัน)
นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช
สมัยก่อนหน้า นายวิจิตร ศรีสอ้าน
สมัยถัดไป นายศรีเมือง เจริญศิริ
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&0215.&&&&&0215 วัน)
นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช
สมัยก่อนหน้า โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
สมัยถัดไป พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (ลาออกเมื่อ 7 ต.ค. พ.ศ. 2551)
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
โอฬาร ไชยประวัติ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(&&&&&&&&&&&&&&00.&&&&&00 ปี, &&&&&&&&&&&&&063.&&&&&063 วัน)
ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 (64 ปี)
นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
พรรคการเมือง พลังประชาชน
คู่สมรส นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย [1][2] เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตผู้พิพากษา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยึดพื้นที่ไว้ตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช

เนื้อหา

ประวัติ

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายเจิม-นางดับ วงศ์สวัสดิ์ สมรสกับ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีดนายกรัฐมนตรี[3] มีบุตร 3 คนคือ นายยศธนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน) น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (เชียร์) และ น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่)

การศึกษา

สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์[4] สำเร็จนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อมาปี 2516 เข้าศึกษาต่อเนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 และในปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

การงาน

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วสอบบรรจุเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง พ.ศ. 2518 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป้นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2520 แล้วจึงย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2526 จากนั้นย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา พ.ศ. 2529 ต่อมาได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2530 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2531 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2533 เลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พ.ศ. 2536 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 พ.ศ. 2540

ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม 11 พ.ย. 2542 หลังจากนั้นจึงย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน 8 มีนาคม 2549 และได้ลาออกจากราชการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2542- 2549

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทำพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก

ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี[6]

17 กันยายน 2551 ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[7] โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย[8][9]

การปฏิบัติงาน

  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ความมั่นคง

  • แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
  • จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง

เศรษฐกิจ

  • แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศ
  • เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
  • สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว

สิทธิมนุษยชน

  • เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน

ฉายานาม

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 อ.ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงข่าวถึงสถานการณ์ทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พร้อมทั้ง ตั้งฉายารัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ว่าเป็น รัฐบาล "ชายกระโปรง"[10]

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช จากพรรคพลังประชาชน นายมณเฑียร สงฆ์ประชา จากพรรคชาติไทย และนายสุนทร วิลาวัลย์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน) ตามประกาศ คปค. เช่นกัน

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน) ตามประกาศ คปค.[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ :

อ้างอิง

  1. ^ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
  2. ^ "สภาฯ เท298เสียงเลือก'สมชาย'เป็นนายกฯ", กรุงเทพธุรกิจ, 2008-09-17. สืบค้นวันที่ 2008-09-17
  3. ^ Ahuja, Ambika. "Cooking show stint derails Thai prime minister", Associated Press/Google, 2008-09-09. สืบค้นวันที่ 2008-09-10
  4. ^ วาจาสิทธิ์พ่อท่านคล้าย "สมชาย"นั่งนายกฯ สยามรัฐ 17 กันยายน 2551
  5. ^ tvnz.co.nz/view, FACTBOX - Somchai Wongsawat
  6. ^ "Thai party names nominee for PM", BBC News, 2008-09-15. สืบค้นวันที่ 2008-09-15
  7. ^ Somchai elected new prime minister
  8. ^ edition.cnn.com, Thai lawmakers elect Thaksin's in-law as PM
  9. ^ google.com, Thaksin's brother-in-law elected Thai PM
  10. ^ Sanook.com, ธีรยุทธขาประจำมาแล้ว ตั้งรัฐบาล 'ชายกระโปรง' เรียกข้อมูลวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551
  11. ^ ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

แหล่งข้อมูลอื่น


สมัยก่อนหน้า สมชาย วงศ์สวัสดิ์ สมัยถัดไป
สมัคร สุนทรเวช 2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 58)
(18 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
2rightarrow.png อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สมัคร สุนทรเวช 2leftarrow.png Emblem of the Ministry of Defence of Thailand.svg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
2rightarrow.png พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
2leftarrow.png Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 57)
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 24 กันยายน พ.ศ. 2551)
2rightarrow.png พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
โอฬาร ไชยประวัติ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
วิจิตร ศรีสอ้าน 2leftarrow.png Emblem of Ministry of Education.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 24 กันยายน พ.ศ. 2551)
2rightarrow.png ศรีเมือง เจริญศิริ
สมัคร สุนทรเวช 2leftarrow.png PPP Logo.png
หัวหน้าพรรคพลังประชาชน
(30 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
2rightarrow.png ถูกยุบพรรค
(พรรคเพื่อไทย สืบต่อ)


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น