ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
المملكة
العربية السعودية (อาหรับ)
| ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||
คำขวัญ: لا
إله إلا الله محمد رسول الله (อาหรับ) "ลา อิลาหะ อิลลัลลอหฺ มุฮัมมะดุร รอซูลุลลอหฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์) | ||||||
เพลงชาติ: "อาชะ
อัลมะลิก (กษัตริย์จงเจริญ) | ||||||
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) |
ริยาด 24°39′N 46°46′E / 24.65°N 46.767°E | |||||
ภาษาทางการ | ภาษาอาหรับ | |||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | |||||
- | พระมหากษัตริย์ | อับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอะซีซ อัสซะอูด | ||||
การสร้างชาติ | ||||||
- | ประกาศ | 8 มกราคม พ.ศ. 2469 | ||||
- | เป็นที่ยอมรับ | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 | ||||
- | รวมประเทศ | 23 กันยายน พ.ศ. 2475 | ||||
พื้นที่ | ||||||
- | รวม | 2,149,690 ตร.กม. (14) 829,996 ตร.ไมล์ |
||||
- | แหล่งน้ำ (%) | น้อยมาก | ||||
ประชากร | ||||||
- | 2007 (ประเมิน) | 27,601,038 (45) | ||||
- | ความหนาแน่น | 11 คน/ตร.กม. (205) 29 คน/ตร.ไมล์ | ||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2007 (ประมาณ) | |||||
- | รวม | 446 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (27) | ||||
- | ต่อหัว | 21,200 ดอลลาร์สหรัฐ (41) | ||||
ดพม. (2007) | 0.843 (สูง) (59) | |||||
สกุลเงิน | ริยาล
(SAR ) | |||||
เขตเวลา | AST (UTC+3) | |||||
- | (DST) | (ไม่มี) (UTC+3) | ||||
โดเมนบนสุด | .sa | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 966 | |||||
1 | ประชากรประมาณ 5,576,076 | |||||
2 | อันดับจากค่าในปี 2548 |
ซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Saudi Arabia; อาหรับ: السعودية) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Kingdom of Saudi Arabia; อาหรับ: المملكة العربية السعودية) เป็นประเทศบนคาบสมุทรอาหรับในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอิรัก จอร์แดน คูเวต โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน ส่วนพรมแดนทางทะเลนั้นติดอ่าวเปอร์เซียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และติดกับทะเลแดงทางทิศตะวันตก
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาหรับ เมื่อ มุฮัมมัด บินซะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ผู้นำลัทธิวะฮาบีย์ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลซะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุซะอูด) ในปี 1902 อิบนุซะอูดได้ยึดริยาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "เขตเป็นกลาง" ขึ้นด้วยกัน 2 แห่ง คือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรัก และซาอุดีอาระเบียกับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่
อิบนุซะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายซะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์ซะอูดได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศ็อล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศ็อล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย
ซาอุดีอาระเบียมิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับกับอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบียได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของโอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย
ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศ็อล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะฮัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของ กษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบีย ได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะฮัดได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน กษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์ฟะฮัดได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอฮ์ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ Saudi National Guard ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชาย Sultan รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของกษัตริย์ฟะฮัด ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง
ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟะฮัด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ
ในระหว่างปี 1990-1991 พระราชาธิบดีฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม
[แก้] การเมือง
ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบียใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่นๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ พระราชาธิบดีฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่างๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 เขตการปกครอง (mintaqah (มินฏอเกาะห์) (เอกพจน์) , mintaqat [มินฏอกอต] (พหูพจน์))
- อัลบาฮะหฺ (Al Bahah)
- อัลฮุดูด อัช ชะมาลียะหฺ (Al Hudud ash Shamaliyah)
- อัลเญาฟุ (Al Jawf)
- อัลมะดีนะฮ์ (Al Madinah)
- อัลกอซิม (Al Qasim)
- อัรริยาด (Ar Riyad)
- อัชชัรกิยะหฺ (Ash Sharqiyah, Eastern Province)
- อะซีร์ ('Asir)
- ฮาอิล (Ha'il)
- ญีซาน (Jizan)
- มักกะฮ์ (Makkah)
- นัจญ์รอน (Najran)
- ตะบูก (Tabuk)
[แก้] ภูมิศาสตร์
ประเทศซาอุดีอาระเบียตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดอิรักและจอร์แดน ทิศตะวันออกติด คูเวต กาตาร์ บาห์เรน ทิศตะวันตก อียิปต์ ทิศใต้ติดเยเมน ติดอ่าวอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย)มีพื้นที่ ประมาณ 2149690 ตร.กม.
[แก้] เศรษฐกิจ
ซาอุดีอาระเบีย มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 260 พันล้านบาร์เรลหรือประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองของโลก โดยที่รายรับของประเทศประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย จึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลกค่อนข้างมาก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบีย เผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมของซาอุดีอาระเบีย ยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ
[แก้] ประชากร
ประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นมีประชากรประมาณ 27 ล้านคน
[แก้] ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ ส่วนชุมชนชีอะห์ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศมีประมาณ 500,000 คน
[แก้] วัฒนธรรม
[แก้] อ้างอิง
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
|
|
|
|
|