สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
Maha Dhammarajadhiraj.jpg
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1
ราชวงศ์ ราชวงศ์สุโขทัย
ครองราชย์ พ.ศ. 2112 - พ.ศ. 2133
ระยะครองราชย์ 21 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระมหินทราธิราช
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ พ.ศ. 2059
สวรรคต พ.ศ. 2133
พระมเหสี พระวิสุทธิกษัตรีย์
พระราชโอรส/ธิดา พระสุพรรณกัลยา
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระเอกาทศรถพระอินทรเทวี
    

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญที่ 1 ตำแหน่งเดิม ขุนพิเรนทรเทพ กรมพระตำรวจฝ่ายขวา ทรงสืบเชื้อสายข้างพระราชบิดามาจากราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ส่วนพระราชมารดานั้นกล่าวกันว่าเป็นราชนิกูลในราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

เมื่อครั้งขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ซึ่งตามพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวไว้ว่า ได้สมคบกันก่อการทรยศโดยลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระไชยราชาธิราชและ พระยอดฟ้าโอรสของตนเอง ซึ่งในช่วงนั้นพระสุริโยทัยเกรงว่าท้าวศรีสุดาจันทร์จะลอบปลงพระชนม์พระสวามีของตนจึงให้อุปสมบทเป็นพระ ต่อจากนั้นขุนวรวงศาธิราชได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ เมื่อความแจ้งไปถึงขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งขณะนั้นรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองพิษณุโลก พระองค์จึงเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลกเพื่อชิงพระราชบัลลังก์คืนจากขุนวรวงศาธิราช ถวายราชสมบัติแด่ พระเฑียรราชา ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช

หลังจากพระเฑียรราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระองค์ได้ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นราชนิกูลข้างพระราชมารดาแต่เดิมขึ้นเป็นเจ้า ทรงนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ให้ไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก รั้งตำแหน่งเจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในหัวเมืองเหนือทั้งหมด และพระราชทานให้ พระวิสุทธิกษัตรีย์ (พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระศรีสุริโยทัย) เป็นอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี หรือพระสุพรรณกัลยา ซึ่งต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เมื่อปี พ.ศ. 2112 เมื่อพระชนมพรรษาได้ 17 พรรษา เพื่อขอสมเด็จพระนเรศวรมาช่วยงานของพระองค์ องค์ที่สองคือ พระองค์ดำ หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 2098 พระเจ้าบุเรงนองได้ขอไปอยู่ที่กรุงหงสาวดี ตั้งแต่พระชนมายุได้ 9 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 15 พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ขอตัวมาช่วยงานของพระองค์ และทรงตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช ไปครองเมืองพิษณุโลก ดูแลหัวเมืองเหนือทั้งปวง องค์ที่สามคือ พระองค์ขาว หรือสมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2100

จากนั้นพม่ากรุงหงสาวดีเห็นว่าเป็นช่วงผลัดแผ่นดินจึงบุกโจมตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทราบจึงทรงนำทัพออกต้านศึก และในขณะที่พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับ พระเจ้าแปรอยู่ ช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิก็เสียที ทำให้พระเจ้าแปรไล่ชน แต่สมเด็จพระสุริโยทัยได้นำช้างมาขวาง ทำให้พระศรีสุริโยทัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็ส่งเรือรบไปยิงค่ายพม่า ทำให้พม่าต้องถอยทัพกลับหงสาวดี เมื่อกลับถึงเมืองพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กลับยึดติดกับการตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้จึงทรงติดสุราอย่างหนักจนออกว่าราชการไม่ได้ต้องให้บุเรงนองผู้เป็นพระญาติเป็นผู้สำเร็จราชการแทน

จากนั้นพวกมอญก็ได้ลวงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไปลอบปลงพระชนม์แล้วยึดหงสาวดีไปได้ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้นำกำลังเข้ายึดหงสาวดีกลับคืนมา และก็นำกองทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาหมายจะตีอยุธยา เรียกว่าสงครามช้างเผือก ตอนแรกทรงส่งสาส์นมาขอช้างเผือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ส่งพระราชสาส์นตอบกลับไปว่า "ถ้าประสงค์จะได้ช้างเผือกก็ให้เสด็จมาเอาโดยพระองค์เองเถิด" ทำให้พระเจ้าบุเรงนองถือเอาสาส์นนี้เป็นเหตุยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยจัดกำลังประมาณ 500,000 คนพร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก โดยยกเข้ามาทางเมืองตาก ด้วยกำลังมากกว่า ทำให้ทัพหงสาวดีสามารถยึดหัวเมืองเหนือไว้ได้เกือบทั้งหมดจนมาถึงเมืองพิษณุโลก

[แก้] ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ทำการป้องกันเมืองอย่างดี พระเจ้าบุเรงนองจึงขอเจรจา พระมหาธรรมราชาธิราชจึงส่งพระสงฆ์จำนวน 4 รูป แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งในเมืองยังขาดเสบียง และเกิดโรคระบาด ทำให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงเปิดทางให้พระเจ้าบุเรงนองด้วยเกรงว่าหากขืนสู้ รบต่อไปด้วยกำลังคนที่น้อยกว่าอาจทำให้เมืองเมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงเหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่นๆก็เป็นได้ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระธรรมราชาเป็นพระศรีสรรเพชญ์ ครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของหงสาวดี กับขอสมเด็จพระนเรศวรไปองค์ประกันอยู่ที่หงสาวดี

ในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วยโดยพระเจ้าบุเรงนองให้พระมหาธรรมราชาเป็นกองหลังดูแลคลังเสบียงจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อเดือนเก้า พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งในวันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ. 2112 ได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา เป็นต้น

[แก้] พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของพม่าอยู่ถึง 15 ปี จนถึง พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวร องค์รัชทายาทก็ได้ทรงประกาศอิสรภาพ ในห้วงระยะเวลา 10 ปี แรกในรัชสมัยของพระองค์ เขมรได้ส่งกำลังมาโจมตีหัวเมืองทางตะวันออกและรุกเข้ามาถึงชานพระนคร แต่ฝ่ายไทยก็สามารถต่อสู้ขับไล่เขมรกลับไปได้ พระองค์ทรงเห็นเป็นโอกาสในการป้องกันพระนคร จึงได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงและป้อมต่าง ๆ รอบพระนครให้แข็งแรงขึ้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2123 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคูพระนครทางด้านทิศตะวันออก หรือคูขี่อหน้า ซึ่งแต่เดิมแคบข้าศึกสามารถเข้ามาสู่พระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างให้ไปจรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ ทรงสร้างป้อมมหาชัย ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน และสร้างพระราชวังจันทร์เกษม (วังหน้า) สำหรับใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ไว้คอยสกัดกั้นทัพข้าศึกที่เข้าโจมตีพระนครทางด้านทิศตะวันออก

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมัยถัดไป
สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
2leftarrow.png พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรอยุธยา

(2112 - 2133 (เสียกรุงครั้งที่ 1))
2rightarrow.png สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ราชวงศ์สุโขทัย


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น