ประเทศกาตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐกาตาร์
دولة قطر (อาหรับ)
เพลงชาติAs Salam al Amiri
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
โดฮา
25°18′N 51°31′E / 25.3°N 51.517°E / 25.3; 51.517
ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
การปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์
 -  เจ้าผู้ครองรัฐ เชคฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี
 -  นายกรัฐมนตรี เชคฮะมัด บิน ญะซิม บิน ญะบัร อัษษานี
ได้รับเอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 3 กันยายน พ.ศ. 2514 
พื้นที่
 -  รวม 11,437 ตร.กม. (158)
4,416 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 (ประเมิน) 863,051 (154)
 -  ความหนาแน่น 75 คน/ตร.กม. (94)
194 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
 -  รวม 37.852 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (62)
 -  ต่อหัว 31,397 ดอลลาร์สหรัฐ (11)
ดพม. (2546) 0.849 (สูง) (40)
สกุลเงิน ริยาลกาตาร์ (QAR)
เขตเวลา (UTC+3)
 -  (DST)  (UTC+3)
โดเมนบนสุด .qa
รหัสโทรศัพท์ 974

กาตาร์ (อาหรับ: قطر‎‎, [ˈqɑtˁɑr]) หรือชื่อทางการคือ รัฐกาตาร์ (อาหรับ: دولة قطر‎) เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirate) ในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับ ดังนั้นมันจึงเป็นประเทศมุสลิมในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเพียงประเทศเดียวที่มีสภาพเป็นเกาะ มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซีย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

Zubara Fort.jpg
Doha Sheraton.jpg
West Bay Buildings.jpg

กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน

ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธรัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่

[แก้] การเมือง

ระบบการเมืองของกาตาร์เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีประมุขของกาตาร์เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2003 กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 Emir Hamad bin Khalifa Al Thani ประกาศกฎหมายเลือกตั้งครั้งแรกจะใช้สถานที่ในปีค.ศ. 2013[1][2]

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตการปกครองของกาตาร์

ประเทศกาตาร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เทศบาล (municipalities - baladiyah) ได้แก่

  1. อัดเดาฮะห์ (Ad Dawhah)
  2. อัลกุวะรียะห์ (Al Ghuwariyah)
  3. อัลจุมะลียะห์ (Al Jumaliyah)
  4. อัลเคาร์ (Al Khawr)
  5. อัลวะกระห์ (Al Wakrah)
  6. อาร์รอยยัน (Ar Rayyan)
  7. จะริยะนัลบัตนะห์ (Jariyan al Batnah)
  8. อัชชะมาล (Ash Shamal)
  9. อุมม์ซาลาล (Umm Salal)
  10. มุไซอิด (Mesaieed)

[แก้] ภูมิศาสตร์

ทะเลทรายกาตาร์

กาตาร์ภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดิอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 24 °และ 27 ° N, และลองจิจูด 50 °และ 52 °E จุดที่สูงที่สุดในกาตาร์เป็น Qurayn Abu al Bawl สูง 103 เมตร (338 ฟุต)[3] ใน Jebel Dukhan ทางทิศตะวันตก

[แก้] ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศกาตาร์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 22
(72)
23
(73)
27
(81)
32
(90)
38
(100)
41
(106)
41
(106)
41
(106)
38
(100)
35
(95)
29
(84)
24
(75)
32.6
(90.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13
(55)
13
(55)
17
(63)
21
(70)
25
(77)
27
(81)
29
(84)
29
(84)
26
(79)
23
(73)
19
(66)
15
(59)
21.4
(70.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 12.7
(0.5)
17.8
(0.701)
15.2
(0.598)
7.6
(0.299)
2.5
(0.098)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
2.5
(0.098)
12.7
(0.5)
71
(2.795)
แหล่งที่มา: weather.com[4]

[แก้] เศรษฐกิจ

โดฮา เมืองหลวงของกาตาร์
  • อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 9 บาท
  • GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004)
  • รายได้ต่อหัว 30,410 ดอลลาร์สหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ
  • ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003)
  • ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003)
  • ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003)
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรประมง
  • สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
  • สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้

[แก้] การคมนาคม

เรือเฟอร์รี่ในกาตาร์

การคมนาคมหลักในกาตาร์คือถนน เนื่องจากราคาที่ถูกมากจากปิโตรเลียม ประเทศที่มีระบบถนนที่ทันสมัย​​ด้วยการอัพเกรดมากมายเป็นผลในการตอบสนองต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศ กับทางหลวงหลายกระบวนการอัพเกรดและทางด่วนใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง เครือข่ายรถบัสขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อโดฮากับเมืองอื่น ๆ ในประเทศ และยังเป็นการคมนาคมหลักในกาตาร์อีกด้วย

ขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ลงสัญญารับจ้างสร้างทางรถไฟกับประเทศเยอรมนีแล้ว

ท่าอากศยานหลักของกาตาร์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มีผู้โดยสารเกือบ 15,000,000 คน ในค.ศ. 2007

[แก้] สิ่งก่อสร้าง

เขตเวสต์เบย์
สิ่งก่อสร้างในโดฮา

มีสิ่งก่อสร้างมากมายในกรุงโดฮา สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในในโดฮา คือ แอสไพร์ทาวเวอร์ สูง 300 เมตร

[แก้] ประชากร

ปี ประชากร
1908 22,000[5]
1939 28,000[5]
1960 70,000[6]
1986 369,079
1997 522,023[7]
2000 744,483
2001 769,152
2002 793,341
2003 817,052
2004 840,290
2005 863,051
2006 885,359
2007 1,207,229
2008 1,524,789[8]
2009 1,309,000[9]
2010 1,696,563
2011 1,692,262

ปัจจุบัน กาตาร์มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เชื้อชาติต่างๆ ในประเทศกาตาร์มีดังนี้: กาตาร์ 20%, อาหรับ 20%, อินเดีย 20%, ฟิลิปปินส์ 10%, เนปาล 13%, ปากีสถาน 7%, ศรีลังกา 5% และอื่นๆ 5%[10]

[แก้] วัฒนธรรม

วัฒนธรรมกาตาร์ คล้ายกับวัฒนธรรมอาหรับประเทศอื่น ชนเผ่าอาหรับจากซาอุดีอาระเบียอพยพไปกาตาร์และสถานที่อื่น ๆ ในอ่าว ดังนั้นวัฒนธรรมในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละประเทศ กาตาร์ใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานของรัฐบาลอย่างชัดเจน และส่วนใหญ่ของพลเมืองเป็นผู้ติดตาม Hanbali Madhhab

Hanbali (อาหรับ: حنبلى) เป็นหนึ่งในสี่โรงเรียน (Madhhabs) ของกฎหมายเฟคห์หรือศาสนาภายในมุสลิมสุหนี่ ชาวมุสลิมสุหนี่เชื่อว่าทั้งสี่โรงเรียนมี "คำแนะนำที่ถูกต้อง" และความแตกต่างระหว่างพวกเขาไม่ได้อยู่ในพื้นฐานของความเชื่อ แต่ในการใช้ดุลยพินิจปลีกย่อยและนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุผลที่เป็นอิสระของอิหม่ามและนักวิชาการผู้ที่ตามพวกเขา เพราะวิธีการของตนจากการตีความและการสกัดจากแหล่งปฐมภูมิ (usul) แตกต่างกัน พวกเขามาถึงการตัดสินที่แตกต่างกันในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง

[แก้] ศาสนา

ศาสนาในกาตาร์[11]
ศาสนา %
อิสลาม
  
77.5%
คริสต์
  
8.5%
อื่นๆ
  
14%
ไม่ระบุ
  
10%

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "Qatar elections to be held in 2013 - Emir" BBC News. 2011-11-01. Archived from the original on 2012-01-06. http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-15537725. Retrieved 2012-01-07.
  2. ^ Agarwal, Hina (2011-11-09). "Qatar to hold elections in 2013". Arabian Gazette. Archived from the original on 2012-01-06. http://arabiangazette.com/qatar-hold-elections-2013/. Retrieved 2012-01-07.
  3. ^ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/qa.html
  4. ^ "Monthly Averages for Doha, Qatar". weather.com. The Weather Channel. http://www.weather.com/outlook/travel/businesstraveler/wxclimatology/monthly/graph/QAXX0003?from=36hr_bottomnav_business. เรียกข้อมูลเมื่อ 26 October 2009. 
  5. ^ 5.0 5.1 John Lockerbie (6 June 1998). "The population of Qatar". Catnaps.org. http://www.catnaps.org/islamic/population.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 28 March 2010. 
  6. ^ "Qatar – Country overview, Location and size, Population, Industry, Mining, Manufacturing, Services, Tourism". Nationsencyclopedia.com. http://www.nationsencyclopedia.com/economies/Asia-and-the-Pacific/Qatar.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 28 March 2010. 
  7. ^ "CGIS Home Page – Main Section". Gisqatar.org.qa. 31 December 1998. http://www.gisqatar.org.qa/alkhabar/Spring99/census.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 28 March 2010. 
  8. ^ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/qa.html
  9. ^ Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009) (PDF). World Population Prospects, Table A.1. 2008 revision. United Nations. 
  10. ^ http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/5437.htm
  11. ^ http://pewforum.org/Muslim/Mapping-the-Global-Muslim-Population%286%29.aspx

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

คุณสามารถหาข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ ประเทศกาตาร์ ได้โดยค้นหาจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย:
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น